

25
ปีที่ 46 ฉบับที่ 214 กันยายน - ตุลาคม 2561
วิธีการท�ำกิจกรรม
สถานการณ์
• ออกแบบและสร้างยานอวกาศเพื่อลงจอดบนดาวพลูโตซึ่งมีมนุษย์อวกาศ 2 คน โดยใช้อุปกรณ์ที่ก�ำหนดไว้ใน
การสร้างชิ้นงาน และใช้แก้วกระดาษเป็นยานอวกาศ
• การทดสอบชิ้นงานที่สร้างเสร็จ ท�ำโดยการปล่อยชิ้นงานจากระดับความสูง 1 เมตร โดยที่นักบินอวกาศที่แทน
ด้วยเม็ดช็อคโกแล็ตจะต้องไม่กระเด็นออกจากยานขณะท�ำการทดสอบ
ข้อก�ำหนด
สามารถใช้อุปกรณ์ที่ก�ำหนดให้ สร้างชิ้นงานให้มีลักษณะใดก็ได้ ใช้อุปกรณ์ครบทุกชิ้นหรือใช้บางชิ้นก็ได้
แต่ไม่สามารถขออุปกรณ์เพิ่มได้ และไม่ใส่วัสดุใดๆ ลงในแก้วหรือท�ำเป็นฝาปิด
วัสดุและอุปกรณ์
• แก้วกระดาษ 1 ใบ
• หลอดพลาสติกที่งอได้ 4 หลอด
• ส�ำลี 4 ก้อน
• กระดาษสีขนาด A4 1 แผ่น
• กระดาษแข็งขนาด 15 x 10 เซนติเมตร 2 แผ่น
• เม็ดช็อคโกแล็ต 2 เม็ด
• กรรไกร
• เทปใสติดกระดาษ
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (30 นาที)
1. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส�ำรวจอุปกรณ์ที่ได้รับแจก ออกแบบยานอวกาศที่ต้องการจะสร้าง และเขียนแบบลงบนกระดาษ
(ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที)
2. ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างชิ้นงาน (ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที) เมื่อท�ำเสร็จแล้วให้ทดลองปล่อยยานอวกาศ
ที่โต๊ะของตนเองก่อน โดยก�ำหนดระดับความสูง 1 เมตร เพื่อทดสอบว่ายานอวกาศจะลงจอดได้ส�ำเร็จหรือไม่
และนักบินอวกาศต้องไม่หลุดออกจากตัวยาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทดลองและแก้ไขผลงานของตนเองได้
จนกว่าจะท�ำส�ำเร็จ และให้วิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เมื่อทดสอบที่โต๊ะตนเองจนส�ำเร็จและมั่นใจแล้ว
ก็น�ำมาปล่อยให้ผู้จัดกิจกรรมได้ตรวจสอบ
3. ผู้จัดกิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปล่อยยานอวกาศจากระดับความสูง 1 เมตร จ�ำนวน 2 ครั้ง โดยยานต้องลงจอด
ส�ำเร็จทั้ง 2 ครั้ง ถ้าไม่ส�ำเร็จก็สามารถน�ำยานกลับไปปรับปรุงแก้ไขได้ ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุง
ชิ้นงานแล้วแต่ยังลงจอดไม่ส�ำเร็จ ผู้จัดกิจกรรมจะแนะน�ำให้ปรับปรุงชิ้นงานโดยไม่บอกจุดที่มีปัญหา แต่จะใช้
การตั้งค�ำถามเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พิจารณาสาเหตุที่ท�ำให้ชิ้นงานของตนเองลงจอดไม่ส�ำเร็จ และใช้ข้อมูลนี้
ในการปรับปรุงชิ้นงานต่อไป
แก้วกระดาษ
ส�ำลี
กระดาษสี
กรรไกร
เทปใส
ติดกระดาษ
เม็ดช็อคโกแล็ต
กระดาษแข็ง
หลอดพลาสติกที่งอได้