Table of Contents Table of Contents
Previous Page  24 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 24 / 62 Next Page
Page Background

24

นิตยสาร สสวท

ความรู้เพิ่มเติม

ในวันที่ 14-25 สิงหาคม พ.ศ.2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union : IAU)

ได้จัดประชุมเกี่ยวกับการหาข้อสรุปเรื่องค�ำจ�ำกัดความของดาวเคราะห์ และได้ค�ำจัดกัดความใน RESOLUTION B5:

Definition of a Planet in the Solar System ดังนี้ ดาวเคราะห์เป็นวัตถุที่ 1. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2. มีมวลมากพอ

ที่ท�ำให้มีรูปร่างใกล้เคียงทรงกลมได้โดยแรงโน้มถ่วงของตัวเอง 3. ไม่มีวัตถุอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันอยู่ใกล้วงโครจร

ส่วนดาวเคราะห์แคระมีค�ำจ�ำกัดความดังนี้ คือ เป็นวัตถุที่ 1. โคจรรอบดวงอาทิตย์ 2. มีมวลมากพอที่ท�ำให้รูปร่าง

ใกล้เคียงทรงกลมได้โดยแรงโน้มถ่วงของตัวเอง 3. มีวัตถุอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันอยู่ใกล้วงโคจร 4. ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร

ของดาวเคราะห์ เนื่องจากดาวพลูโตไม่เป็นไปตามนิยามข้อ 3 ของดาวเคราะห์ และผลการลงมติในวันพฤหัสบดีที่

24 สิงหาคม พ.ศ.2549 ท�ำให้ดาวพลูโตถูกลดสถานะจากดาวเคราะห์เป็นดาวเคราะห์แคระ

“การลงจอดของยานอวกาศก็พลาดกันได้”

ภาพ 3

ยานอวกาศ Rosetta ที่มียานลูกชื่อ Philae ส่งลงไปจอดบน

ดาวหาง

ที่มา

https://cnes.fr/en/web/CNES-en/11223-gp-mission- rosetta-l-atterrisseur-philae-se-reveille-comme-prevu.php

อาจเริ่มต้นจากการตั้งค�ำถามและอภิปราย

ร่วมกันเกี่ยวกับการลงจอดของยานอวกาศว่า มนุษย์เคย

ส่งยานอวกาศและมนุษย์อวกาศไปส�ำรวจดาวดวงใดบ้าง

ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะตอบเกี่ยวกับการส�ำรวจดวงจันทร์

ของโครงการอะพอลโล โดยมีนีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์

คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ จากนั้นให้ความรู้เพิ่มเติม

เกี่ยวกับการส�ำรวจดาวหาง Churyumov-Gerasimenko

ของยานอวกาศ Rosetta ที่มียานลูกชื่อ Philae ซึ่งถูกส่ง

ลงไปจอดบนดาวหางดวงนี้ อย่างไรก็ตาม ในการลงจอด

ของ Philae ได้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ท�ำให้ยานกระเด้ง

บนพื้นดาวหาง 2 ครั้ง จึงจะลงจอดได้ เพราะบริเวณนั้น

ไม่ได้รับแสงอาทิตย์ ท�ำให้แผงโซลาร์เซลล์บนยานไม่สามารถ

สร้างพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ บนยานได้

เมื่อพลังงานส�ำรองที่มีอยู่บนยานหมด Philae จึงไม่สามารถ

ส่งข้อมูลต่างๆ กลับมาได้อีก อย่างไรก็ตาม ก่อนที่พลังงาน

จะหมดไป Philae ได้ส่งข้อมูลบางส่วนที่ยานส�ำรวจได้

มายังโลก ท�ำให้มนุษย์ได้ทราบข้อมูลของดาวหางมากขึ้น

ความผิดพลาดหรือล้มเหลวไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป

แต่เป็นแนวทางเริ่มต้นที่ท�ำให้เราน�ำมาวิเคราะห์ ปรับปรุง

และแก้ไขสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีขึ้น

จากนั้นมีการตั้งค�ำถามและร่วมกันอภิปราย

เกี่ยวกับการออกแบบให้ยานอวกาศลงจอดได้อย่าง

ปลอดภัย โดยพิจารณาสภาพอากาศที่บางเบาและ

แรงโน้มถ่วงที่น้อยกว่าโลก ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถ

ให้ค�ำตอบเกี่ยวกับการออกแบบยานได้ว่า ยานจะต้อง

มีขาตั้งที่แข็งแรงและกางออกได้สมดุล เพื่อลงจอดได้

อย่างมั่นคง มีฐานยานแบบสปริงเพื่อรับแรงกระแทก มีปีก

เพื่อให้เกิดแรงต้านหรือมีร่มชูชีพเพื่อชะลอความเร็ว

รวมทั้งมีเครื่องยนต์เพื่อบังคับทิศทางและชะลอความเร็ว

ขณะลงจอด ซึ่งวิทยากรสามารถให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ

เรื่องการเคลื่อนที่และเรื่องแรง