Previous Page  28 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 28 / 62 Next Page
Page Background

28

นิตยสาร สสวท.

เรื่องเด่นประจำ

�ฉบับ

สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือน

ผสมโลกจริง (Augmented Reality)

ชุดการจมและการลอย

รักษพล ธนานุวงศ์

นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น สสวท. / e-mail :

rthan@ipst.ac.th

ภาพที่ 1 ภาพแสดงหน้าจอของแอปพลิเคชัน Star Walk บน iPad

(ที่มา

:http://physics.weber.edu/schroeder/iPhoneStarApps/StarWalk.html)

ภาพที่ 2 ชุดสื่อเสริมการเรียนรู้ AR ที่สาขาวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น สสวท. พัฒนาขึ้น

ในด้านการศึกษา AR ได้เริ่มเข้ามีบทบาทบ้างแล้ว ตัวอย่างที่

เห็นเด่นชัดและเป็นที่รู้จักของคนส่วนใหญ่คือแอปพลิเคชัน Star

Walk ที่ใช้ใน iPhone หรือ iPad และแอปพลิเคชัน Google

Skymap ที่ใช้ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตที่มีระบบปฏิบัติการ

Android ซึ่งแอปพลิเคชันทั้งสอง ได้ผนวก AR เข้ากับเทคโนโลยี

Global Positioning SystemหรือGPSทำ

�ให้ผู้ใช้สามารถใช้กล้อง

ของสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตส่องขึ้นไปบนท้องฟ้ายามค่ำ

�คืน แล้ว

แอปพลิเคชัน Star Walk หรือ Skymap จะแสดงภาพเสมือน

และชื่อของกลุ่มดาวต่าง ๆ ซ้อนกับภาพจริง เพื่อช่วยในการเรียนรู้

ชื่อและตำ

�แหน่งของกลุ่มดาว

Augmented Reality หรือ AR เป็นเทคโนโลยีที่ผสมโลกของความจริง (real world) เข้ากับโลกเสมือน (virtual world) โดย

ใช้วิธีซ้อนภาพสามมิติที่อยู่ในโลกเสมือน ไปอยู่บนภาพที่เห็นจริง ๆ ในโลกของความเป็นจริง ผ่านกล้องดิจิทัล เว็บแคม หรือ

อุปกรณ์อื่น ๆ และให้ผลการแสดงภาพ ณ เวลาจริง (real time) ซึ่งในอนาคตอันใกล้ AR กำ

�ลังจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิต

ประจำ

�วันของสังคมที่จะเต็มไปด้วย สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์แบบพกพา

นอกจากนี้ ในด้านการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ยังมี

การนำ

� AR ไปใช้ในรูปแบบอื่น ๆ อีก เช่น ใช้แสดงภาพเสมือน

ของอวัยวะภายในของสิ่งมีชีวิตเทียบกับร่างกายในโลกจริง สร้าง

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในโลกจริงกับโครงสร้างของโมเลกุล

เสมือน เป็นต้น โดยผลจากการสำ

�รวจ[Hibberd, 2012] พบว่า

ครูและนักเรียนที่เคยใช้ AR มีความเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่า

สื่อเสริมการเรียนรู้ AR นี้มีข้อดีแตกต่างจากสื่อประเภทอื่น ๆ

ที่เด่นชัดคือ สามารถสร้างความสนใจแบบ “โอ้โห” (Wow!

factor) [HP, 2012],[Smarter Learning, 2011] ให้กับผู้เรียน

ในชั้นเรียน ทำ

�ให้เรื่องที่เรียนเป็นเรื่องสนุก น่าสนใจ และนำ

�ไป

สู่การเรียนรู้ที่ดีขึ้น

ในการนำ

� AR มาส่งเสริมการเรียนรู้ ทางสาขาวิทยาศาสตร์

มัธยมศึกษาตอนต้น สสวท. ได้พัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ AR ขึ้น

มา 5 ชุด ได้แก่ ชุดบันทึกโลก ชุดระบบสุริยะ ชุดการจมและการ

ลอย ชุดโครงสร้างอะตอม และ ชุดแผ่นดินไหว สำ

�หรับนำ

�มา

ประกอบการเรียนรู้ในห้องเรียนศตวรรษที่ 21 ซึ่งในที่นี้ จะขอ

ยกตัวอย่างสื่อเสริมการเรียนรู้ AR ชุดการจมและการลอย เพราะ

มีเนื้อหาน้อยและไม่ซับซ้อนมากนัก อีกทั้งเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้

เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน

สแกนโค้ดนี้เพื่อชม

ภาพเคลื่อนไหว