Previous Page  33 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 33 / 62 Next Page
Page Background

33

ปีที่ 41 ฉบับที่ 181 มีนาคม - เมษายน 2556

ส่วนที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

ดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผล

สูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และประหยัดเวลาในการ

เรียน เราจะเรียกนวัตกรรมที่ใช้ในด้านนี้ว่า

นวัตกรรมทางการ

ศึกษา (educational innovation)

เมื่อลองสืบค้นความหมาย

ของนวัตกรรมทางการศึกษา พบว่าหมายถึง เครื่องมือ สื่อ

แนวคิด วิธีการ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่นำ

�มา

ใช้แก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้า

หมายของหลักสูตร ซึ่งความหมายไม่ต่างไปจากความหมายทั่วไป

ของนวัตกรรมมากนัก เพราะมีทั้งนวัตกรรมที่ต้องพัฒนาขึ้นมา

ใหม่ และนวัตกรรมที่สามารถดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้น แต่

ความแตกต่างอยู่ที่วัตถุประสงค์ของการนำ

�นวัตกรรมมาใช้ ดัง

นั้นเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะขอยกตัวอย่างประเภทนวัตกรรม

ทางการศึกษา โดยใช้ลักษณะของผู้ใช้ประโยชน์มาเป็นเกณฑ์ใน

การจำ

�แนก ดังนี้

1. ประเภทนวัตกรรมสำ

�หรับครู

เช่น คู่มือครู เอกสารประกอบ

การสอน ชุดการสอน สื่อประสม หนังสืออ้างอิง เครื่องมือ

วัดผลประเมินผล อุปกรณ์ โสตทัศนวัสดุ โครงการวิจัยใน

ชั้นเรียน วิธีสอน

2. ประเภทนวัตกรรมสำ

�หรับนักเรียน

เช่น บทเรียนสำ

�เร็จรูป

เอกสารประกอบการเรียน ชุดฝึกปฏิบัติ ใบงาน หนังสือเสริม

ประสบการณ์ ชุดเพลง ชุดเกม โครงงาน

สำ

�หรับนวัตกรรมทางด้านนี้ที่คนส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่บุคลากร

ทางการศึกษาจะรู้สึกคุ้นเคยมากที่สุด คงจะเป็นนวัตกรรมที่เกี่ยว

กับสื่อประสม (multimedia) เพราะสามารถนำ

�ไปเผยแพร่ได้

อย่างกว้างขวาง เช่น e-book คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แผ่นวีดิทัศน์

เชิงโต้ตอบ (interactive video) และยิ่งในปัจจุบัน รัฐบาลไทย

ได้ส่งเสริมนวัตกรรมเหล่านี้เป็นอย่างมาก โดยได้จัดตั้งโครงการ

ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการ One Tablet per Child

โครงการสร้างห้องการเรียนรู้ e-Book e-Learning โครงการ

e-Education พลิกโฉมโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต

นวัตกรรมทางการศึกษาดังกล่าวจึงเข้ามามีบทบาทในการศึกษา

ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนของประเทศไทยอย่างเป็นรูป

ธรรมมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่าง ๆ ไม่

ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน จึงต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้

เพื่อรองรับกับนโยบายของชาติและการเปลี่ยนแปลงของวิธีการ

จัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน

นวัตกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวกับวิชาโลก ดาราศาสตร์

และอวกาศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของ สสวท.

สาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท. ได้รับมอบหมาย

ให้รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตร โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วย

ส่งเสริมการเรียนรู้วิชาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ดัง

นั้น เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำ

�นวัตกรรมที่ สสวท. ได้จัดทำ

ขึ้นเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้

มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สสวท. ขอแนะนำ

�รายการสื่อมัลติมีเดีย

โดยมีรายการดังต่อไปนี้

3. Learning Object

3.1 เรื่อง กล้องโทรทรรศน์

3.2 เรื่อง ดาวฤกษ์

3.3 เรื่อง กาแล็กซี

3.4 เรื่อง ระบบสุริยะ

3.5 เรื่อง การหมุนเวียนของน้ำ

�ในมหาสมุทร

3.6 เรื่อง การหาจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

3.7 เรื่อง ทรงกลมฟ้า

3.8 เรื่อง เทคโนโลยีอวกาศ

3.9 เรื่อง ระบบดาวฤกษ์

3.10 เรื่อง คลื่นไหวสะเทือน

2. สื่อวีดิทัศน์

2.1 เรื่อง ทรงกลมฟ้า

2.2 เรื่อง วิวัฒนาการของดาวฤกษ์

2.3 เรื่อง ระยะห่างของดาวฤกษ์

2.4 เรื่อง การหมุนเวียนของระบบลมบนโลก

2.5 เรื่อง การแบ่งชั้นน้ำ

2.6 เรื่อง การหมุนเวียนของน้ำ

�ในมหาสมุทร

2.7 เรื่อง โครงสร้างโลก

2.8 เรื่อง แผนที่ธรณี

2.9 เรื่อง วงจรการพาความร้อนภายในโลก

2.10 เรื่อง ดินถล่ม

2.11 เรื่อง ลำ

�ดับชั้นหิน

1. เอกสารประกอบการอบรม

1.1 เอกสารสำ

�หรับผู้ให้ และผู้รับการอบรม

โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ หลักสูตรที่ 1* -

หลักสูตร 3

1.2 เอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอน

หลักสูตรโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ระดับ

มัธยมศึกษาตอนปลาย

1.3 เอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูน

ศักยภาพครูผู้สอนหลักสูตร โลก ดาราศาสตร์

และอวกาศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำ

�นวน

3 เล่ม คือ หลักสูตรดาราศาสตร์ หลักสูตร

บรรยากาศ และ หลักสูตรธรณีวิทยา

* หมายเหตุ หลักสูตรที่ 1 สาขามัธยมศึกษาตอนต้นเป็น

ผู้พัฒนา