Previous Page  30 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 30 / 62 Next Page
Page Background

30

นิตยสาร สสวท.

ภาพที่ 5 ภาพแสดงเนื้อหาและรหัส (Marker) ที่ใช้สำ

�หรับแสดงภาพเสมือน 3 มิติ

ภาพที่ 6 และ ภาพที่ 7 แสดงตัวอย่างภาพเสมือน 3 มิติจากสื่อเสริมการเรียนรู้ AR

เรื่องการจมและการลอย

ภาพที่ 8 และ ภาพที่ 9 แสดงตัวอย่างภาพเสมือน 3 มิติจากสื่อเสริมการเรียนรู้ AR

เรื่องการจมและการลอย

วิธีการใช้สื่อ AR ชุดการจมและการลอยในชั้นเรียน

ท่ามกลางสื่อเสริมการเรียนรู้ที่มีให้เลือกจำ

�นวนมาก หาก

มีการนำ

�สื่อเสริมการเรียนรู้ไปใช้โดยไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบ

ถึงความสอดคล้องกับขั้นตอนในการจัดกระบวนการเรียนการ

สอน หรือ ความเหมาะสมกับความต้องการและวัยของผู้เรียน

สื่อเสริมต่าง ๆ เหล่านั้น อาจจะไม่สร้างให้เกิดผลการเรียนรู้ที่

แตกต่างจากการไม่ใช้สื่อ และอาจทำ

�ให้สูญเสียทรัพยากรและ

เวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ หรือในบางกรณี อาจส่งผลเสียกับ

การเรียนรู้ของผู้เรียนได้

ในกรณีของสื่อเสริมการเรียนรู้ AR นี้ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้าง

ต้นว่า เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ที่มีจุดเด่นสำ

�คัญที่แตกต่างจาก

สื่อเสริมการเรียนรู้ประเภทอื่น ๆ คือ สามารถสร้างความสนใจ

แบบ “โอ้โห” ให้กับผู้เรียน ดังนั้น แนวทางที่เหมาะสมสำ

�หรับ

การนำ

�สื่อเสริมการเรียนรู้ AR ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชา

วิทยาศาสตร์ คือ การนำ

�ไปสร้างความสนใจเพื่อนำ

�เข้าสู่บทเรียน

(Engage) ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการเรียนที่ผู้สอนต้องการให้

ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นในเนื้อหาที่จะ

เรียน นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถนำ

�สื่อการเรียนรู้ AR ไปใช้ใน

ขั้นตอนขยายความรู้ (Elaborate) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องการให้ผู้

เรียนได้พัฒนาความเข้าใจในเนื้อหาให้กว้างและลึกยิ่งขึ้น ได้เชื่อม

โยงเนื้อหาที่ได้เรียนกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำ

�วัน เพื่อ

การเรียนรู้ที่มีความหมาย

การแก้ปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อน (misconception)

โดยใช้สื่อเสริมการเรียนรู้ AR ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันแน่ชัดว่า

การใช้สื่อ AR จะสามารถแก้ปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้

ดี หรือ เด่นชัดกว่าการใช้สื่อเสริมการเรียนรู้หรือวิธีการอื่น ๆ

อย่างไร