

35
ปีที่ 41 ฉบับที่ 181 มีนาคม - เมษายน 2556
ดาวประกาย
(Star Polygons)
เมื่อกำ
�หนดจุดจำ
�นวน 7 จุด บนเส้นรอบวงของวงกลม ให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน กำ
�หนดจุด A ให้เป็นจุดเริ่มต้น ลากส่วนของ
เส้นตรงจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่นับหรือก้าวต่อไปเป็นจุดที่ 2 ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา แล้วลากส่วนของเส้นตรงต่อไปยังจุดที่ก้าว
ต่อไปเป็นจุดที่ 2 ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งลากส่วนของเส้นตรงกลับมาสิ้นสุดยังจุดเริ่มต้น จะพบว่าได้
ภาพแปลกตาน่าสนใจ ดังนี้
รอบรู้คณิต
รศ. ดร. ปรีชา เนาว์เย็นผล
ผู้เชี่ยวชาญ สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษา สสวท.
จะขอเรียกรูปในลักษณะเช่นนี้ว่า
ดาวประกาย
(star poly-
gons) จากข้างต้นได้รูป
ดาวประกาย 7 แฉก
น่าสนใจว่า ในการ
ลากส่วนของเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุด ถ้าลากส่วนของเส้นตรงไป
ยังจุดที่ก้าวต่อไปเป็นจำ
�นวนอย่างอื่นที่ไม่ใช่ 2 ก้าว เช่น ถ้าลาก
ส่วนของเส้นตรงจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่ก้าวต่อไปเป็นจุดที่ 3
ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา แล้วลากส่วนของเส้นตรงต่อไปยังจุด
ที่ก้าวต่อไปเป็นจุดที่ 3 ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา เช่นนี้เรื่อย
ไป จนกระทั่งลากส่วนของเส้นตรงกลับมาสิ้นสุดยังจุดเริ่มต้น
(ถ้าทำ
�ได้) จะได้ภาพดาวประกายที่มีลักษณะอย่างไร หรือ เมื่อ
เปลี่ยนแปลงจำ
�นวนจุดแบ่งบนเส้นรอบวงของวงกลมเป็นอย่าง
อื่นที่ไม่ใช่ 7 ส่วน แล้วดำ
�เนินการในทำ
�นองเดียวกัน จะได้ภาพ
ดาวประกายที่มีลักษณะอย่างไร และน่าศึกษาว่าการเกิดรูปดาว
ประกายลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขใดบ้าง
การสร้างรูปดาวประกายโดยทั่วไปอาจเริ่มจากการเขียน
วงกลม
กำ
�หนดจำ
�นวนจุดแบ่ง
ให้มีจำ
�นวนตั้งแต่ 3 จุดขึ้นไป
แต่ละจุดให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน
กำ
�หนดจำ
�นวนก้าว
ในการลาก
ส่วนของเส้นตรงจากจุดแรกไปยังจุดต่อ ๆ ไป แล้วลากส่วนของ
เส้นตรงเชื่อมโยงจุดจนกระทั่งกลับมาถึงจุดเริ่มต้น ในกรณีที่ยัง
มีจุดบนเส้นรอบวงเหลืออยู่ ให้เริ่มต้นลากส่วนของเส้นตรงใหม่
จากจุดที่ว่างอยู่ซึ่งอยู่ถัดไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา