Previous Page  51 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 51 / 62 Next Page
Page Background

51

ปีที่ 41 ฉบับที่ 181 มีนาคม - เมษายน 2556

เสริมการคิด การสำ

�รวจสืบค้น นอกจากนี้ยังจะต้องสามารถดึงดูด

ความสนใจและการมีส่วนร่วมของเด็กในการทำ

�กิจกรรม ไม่ใช่

เป็นเพียงผู้นั่งดูสิ่งที่เกิดขึ้นในจอ และที่สำ

�คัญที่สุดคือส่งเสริมให้มี

การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนหรือตัวเด็กและกับครู ซึ่งจากงาน

วิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าโปรแกรมที่ออกแบบและผลิตออกมา

ในลักษณะดังกล่าวสามารถช่วยพัฒนาเด็กได้มากกว่าโปรแกรม

ที่เด็กได้แต่เพียงฝึกฝน หรือทำ

�แบบฝึกหัดเท่านั้น และนอกจาก

โปรแกรมที่ดีแล้ว ก็ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่จะทำ

�ให้การใช้เทคโนโลยี

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่

1. ตัวคอมพิวเตอร์เองที่จะต้องรองรับการใช้งานได้อย่าง

ครบครันทั้งในส่วนของการเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ หรือช่วย

ให้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบ

มัลติมีเดีย CD-ROM ระบบ LAN และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ที่ช่วย

ให้เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือสิ่งที่จะสืบค้นได้จริงและทันทีที่

ต้องการ ตลอดจนจำ

�นวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถรองรับการ

ใช้งานของเด็กได้อย่างเพียงพอ

2. การจัดให้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมที่ส่ง

เสริมการเรียนรู้ร่วมกับสื่อชนิดอื่น ๆ ภายในชั้นเรียน

3. การบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับหลักสูตรและการสอน

โดยจัดกิจกรรมให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความหมายต่อเด็กคือ

เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก และเด็กมีความสนใจ และความต้องการที่จะ

เรียนรู้ มิใช่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำ

�ให้เด็กสงบ หรือแยกส่วนออก

เป็นวิชาคอมพิวเตอร์

4. โปรแกรมที่เลือกมาใช้ต้องส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เปิด

โอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ

ดังกล่าวข้างต้น

5. ครูได้รับการอบรมให้เป็นผู้สามารถพัฒนาหลักสูตรและ

แผนการสอนที่สามารถบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับกิจกรรมที่

จัดให้กับเด็กได้ ประกอบกับการอบรมให้ครูเป็นผู้ที่สามารถใช้

เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้อย่าง

มีประสิทธิภาพ

หากทำ

�ได้ดังที่กล่าวมานี้ก็หมายความว่าโปรแกรมนั้นเหมาะ

สมที่จะนำ

�มาใช้ในการจัดการเรียนรู้สำ

�หรับเด็กได้อย่างมีประโยชน์

มากที่สุด และหากสังเกตจะพบว่าคอมพิวเตอร์ (และโปรแกรม)

ดูดี มีภาษีกว่าทีวีอยู่มาก เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์สามารถให้

ความช่วยเหลือ ส่งเสริม และให้ข้อแนะนำ

�ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

ให้กับเด็กเล็ก ๆ ในขณะที่เด็กกำ

�ลังทำ

�กิจกรรมได้ ในสหรัฐอเมริกา

มีการออกแบบและผลิตโปรแกรมขึ้นมาเพื่อช่วยให้เด็กสามารถ

มีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่จำ

�เป็น

ต้องมีทักษะพื้นฐานใด ๆ มาก่อน ทำ

�ให้เด็ก ๆ สนุกกับเรื่องราว

ที่เห็น แม้ว่าเด็กจะยังอ่านหนังสือไม่ออกก็ตาม และยังสามารถ

เปลี่ยนตอนจบของเรื่องได้แม้ว่าจะยังเขียนไม่ได้อีกด้วย เป็นต้น

นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกายังมีการใช้โปรแกรมส่งเสริมการเรียน

รู้ของเด็กทั้งในเรื่องการอ่าน การเขียน การสะกดคำ

� คณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์ ทักษะการใช้คีย์บอร์ด ศิลปะ รวมถึงเกมการศึกษา

ด้วย และมีงานวิจัยรองรับแล้วว่าการใช้เทคโนโลยีร่วมกับโปรแกรม

ที่เด็กสามารถมีปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการ

ของเด็กเล็ก ๆ ได้จริง

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในประเทศไทยยังมีโปรแกรมอย่างที่

กล่าวมาเหมือนที่ใช้กันในวงการการศึกษาปฐมวัยในสหรัฐอเมริกา

อยู่น้อยมาก และโปรแกรมส่วนใหญ่ก็มักเป็นเกมที่ไม่เหมาะกับเด็ก

เล็ก ๆ ส่วนโปรแกรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ได้บ้างก็ล้วนแต่นำ

�เข้าจาก

ต่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่ภาษาไทย และส่วนใหญ่จะเน้นให้เด็กทำ

�แบบ

ฝึกหัดทางภาษา คณิตศาสตร์ หรือฝึกทักษะบางอย่างที่เหมาะกับ

เด็กในระดับที่สูงกว่าระดับปฐมวัย โปรแกรมเหล่านี้จึงยังไม่เหมาะ

สมกับเด็กปฐมวัยไทยอย่างแท้จริง

ถึงตรงนี้หากพิจารณาจากเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้

ที่เน้นส่งเสริมพัฒนาการ 4ด้านตลอดจนการพัฒนาของสมอง

และวิธีการเรียนรู้ของเด็กระดับปฐมวัยดังที่ได้กล่าวมาผู้อ่านคง

ตอบได้แล้วว่าการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้สำ

�หรับเด็ก

ปฐมวัยจะช่วยพัฒนาเด็กได้หรือไม่ อย่างไร

บรรณานุกรม

Rhoton, J., & Shane, P. (2006).

Teaching Science in the 21st Century.

Arlington : NSTA press.

Judge, S., Puckett, K., & Cabuk, B. (2004). Digital Equity: New Findings

from the Early Childhood Longitudinal Study.

Journal of Research on

Technology in Education,

36

(4), 383-396.

Van Scoter, J., & Ellis, D. (2001).

Technology in Early Childhood Education:

Finding the Balance.

Northwest Regional Educational Laboratory.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

พุทธศักราช 2546.

โรงพิมพ์คุรุสภา.