Previous Page  49 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 49 / 62 Next Page
Page Background

49

ปีที่ 41 ฉบับที่ 181 มีนาคม - เมษายน 2556

การใช้เทคโนโลยีในการจัด

การเรียนรู้สำ

�หรับเด็กปฐมวัย

อิทธิพงษ์ โลกุตรพล

ผู้ชำ

�นาญ สาขาปฐมวัย สสวท.

สื่อการเรียนกระตุ้นความคิด

ตั้งแต่สมัยดึกดำ

�บรรพ์มนุษย์เรารู้จักการใช้เทคโนโลยี เช่น

เครื่องมือในการล่าสัตว์ เครื่องมือในการทำ

�กสิกรรม การประดิษฐ์

สิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ และได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเรื่อยมาจนถึง

ปัจจุบันที่จะเห็นได้ว่าชีวิตของมนุษย์แวดล้อมด้วยเทคโนโลยีใน

รูปแบบต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ เป็นต้น แต่

ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าในช่วงเวลาปัจจุบันนี้เป็นช่วงเวลาหรือ

ยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในชีวิตของเรา

เนื่องจากสามารถอำ

�นวยความสะดวก ให้กับชีวิตเราทั้งในด้านการ

งาน การศึกษา และชีวิตส่วนตัว นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ยัง

ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมีหลากหลายรูป

แบบให้เลือกใช้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (notebook/

laptop) เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (tablet) หรือแม้แต่โทรศัพท์

ที่มีระบบปฏิบัติการ (smart phone) เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบ

ว่ายังคงมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึง การนำ

�เทคโนโลยีโดย

เฉพาะอย่างยิ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับ

เด็กเล็ก ๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด อย่างที่เป็นประเด็นร้อนใน

สังคมไทยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อนแจกจนกระทั่ง

มีการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งการถก

เถียงถึงความเหมาะสมเช่นนี้ ไม่ได้มีเฉพาะแต่ในประเทศไทยเรา

ประเทศเจ้าของเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างสหรัฐอเมริกาเองก็มีการ

ถกเถียงในทำ

�นองนี้เช่นเดียวกัน แต่บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าหาก

ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้สำ

�หรับเด็กปฐมวัยให้

เกิดประโยชน์สูงสุด ควรจะใช้อย่างไร

ก่อนที่จะใช้เทคโนโลยีในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ได้อย่างเหมาะสม มีสิ่งที่ต้องทำ

�ความเข้าใจในเบื้องต้นก่อน ได้แก่

1. การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

2. เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร

การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

ในประเทศไทย การศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาระดับพื้นฐาน

ที่ไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ แม้ว่าจะมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่

กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ก็ตาม (ล่าสุดคือหลักสูตรการศึกษา

ปฐมวัย พุทธศักราช 2546) แผนที่ครูใช้ก็ไม่ได้เรียกว่าแผนการ

สอน แต่เรียกว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และไม่ได้มีเนื้อหา

ที่เด็กจะต้องเรียนตามที่กำ

�หนดไว้อย่างการศึกษาในระดับอื่นที่มี

การกำ

�หนดให้เรียนในแต่ละชั้นปี จะมีก็แต่เพียงสาระการเรียนรู้

ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กที่แนะนำ

�ไว้ให้ใช้เป็นสื่อกลางในการจัด

ประสบการณ์ โดยครูสามารถเลือกมาจัดกิจกรรมได้ตามความ

เหมาะสมกับท้องถิ่น และสะดวกต่อการจัดเตรียมสื่อ สำ

�หรับวิธีการ

จัดการเรียนรู้นั้นครูจะใช้วิธีบูรณาการเนื้อหาต่าง ๆ ลงในกิจกรรม

หนึ่ง ๆ โดยไม่แยกเป็นรายวิชา ในขณะที่ทำ

�กิจกรรมในชั้นเรียน

ก็ไม่ได้มุ่งเน้นว่าครูสอนอะไรเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งเน้นว่าเด็กได้

เรียนรู้อะไร และได้พัฒนาทักษะใด ซึ่งจุดมุ่งหมายตลอดหลักสูตร

ก็คือเพื่อส่งเสริม พัฒนาการของเด็ก 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้าน

ร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างไร

โดยธรรมชาติแล้ว เด็กเล็ก ๆ มีความเป็นนักจัดการตัวยงที่จะ

คอยจัดการสิ่งของรอบตัว ผ่าน การเล่นหรือการทำ

�ซ้ำ

� ๆ (ในทาง

วิชาการมักจะใช้คำ

�ว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ) ด้วยวิธีการที่

หลากหลายกับสิ่งของที่อยู่รอบตัวเหล่านั้น เช่น ตุ๊กตา ไม้บล็อก

รถยนต์ของเล่น น้ำ

� ทราย ตลอดจน อวัยวะในร่างกายของตนเอง

เป็นต้น และจากการฝึกควบคุม การหยิบจับ การทำ

�ให้สิ่งของต่าง ๆ

เคลื่อนที่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง การเล่นนั่นเองที่ส่งผลให้เด็ก