

50
นิตยสาร สสวท.
ได้เรียนรู้โลกรอบตัวและเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับตนเอง ซึ่งจะ
สังเกตเห็นได้ในเวลาที่เด็กแสดงพฤติกรรมบางอย่างซ้ำ
�ไปมาอย่าง
ไม่รู้เบื่อ ยกตัวอย่าง เช่น เวลาที่เด็กเล่นกับน้ำ
� หากสังเกตเราอาจ
จะเคยเห็นเด็กเล็ก ๆ สักคนหนึ่งถือภาชนะไปตักหรือรองน้ำ
�มาเท
ใส่ภาชนะอีกอย่างหนึ่ง หรือแม้แต่การราดน้ำ
�ลงบนพื้นอย่างไม่มี
ทีท่าว่าจะเหน็ดเหนื่อย จนผู้ใหญ่ต้องเข้าไปห้ามปรามหรือตำ
�หนิ
ว่าเด็กดื้อเด็กซนไม่เข้าเรื่องโดยไม่ทราบเลยว่าที่เด็กกำ
�ลังทำ
�อยู่นั้น
เด็กกำ
�ลังเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง เช่น
• ในขณะที่สังเกตการไหลของน้ำ
�จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
� หรือสังเกต
พื้นขณะก่อนเท กำ
�ลังเท และหลังเทน้ำ
�ลงไปว่าเหมือนหรือแตก
ต่างกันอย่างไร เด็กได้พัฒนาด้านสติปัญญาคือเรียนรู้สิ่งรอบตัว
• ในขณะกำ
�ลังควบคุมการเทน้ำ
�ออกจากภาชนะที่ถือไว้ในมือ
ได้ (หรือแม้แต่การเล่นแกล้งทำ
�ให้น้ำ
�หกก่อนเท) เด็กได้พัฒนาด้าน
ร่างกายคือกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงเพื่อพร้อมต่อการเขียนต่อไป
• ในขณะเล่น เด็กได้เป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ หรือสามารถ
ทำ
�ได้อย่างที่อยากรู้หรือต้องการทำ
� เด็กได้พัฒนาด้านอารมณ์ เช่น
ความภาคภูมิใจจากการทำ
�สิ่งใดสิ่งหนึ่งสำ
�เร็จ หรือสามารถควบคุม
สถานการณ์ หรือได้ผลตามความต้องการ ฯลฯ
หากเด็กได้ทำ
�กิจกรรมนี้กับเพื่อน หรือแม้แต่ทำ
�กับผู้ใหญ่ เด็ก
ก็จะได้พัฒนาในด้านสังคมเพิ่มขึ้นด้วย จะเห็นว่ากิจกรรมหรือ
การกระทำ
�เล็ก ๆ เพียงเท่านี้แต่กลับล้วนมีความหมายต่อตัวเด็ก
ทั้งสิ้น แล้วเพราะเหตุใดเด็กจึงมีวิธีการเรียนรู้เช่นนี้ บางคนอาจ
จะตอบว่าเพราะว่าเด็กยังมีประสบการณ์ไม่เท่ากับผู้ใหญ่ ซึ่งก็เป็น
เหตุผลที่ถูกต้องส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ครบทั้งหมด เหตุผลที่สำ
�คัญอีก
ประการหนึ่งก็คือในช่วงปฐมวัย (0-6 ขวบ) สมองของเด็กยังคง
มีการพัฒนาและเจริญเติบโต และจะพัฒนาได้ดีที่สุดหากเด็กได้
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ
�นวย จากสาเหตุดังกล่าวนี้เองที่เป็น
ที่มาของคำ
�พูดที่มีคนกล่าวไว้ว่า “ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงทองของ
การพัฒนาสมองของมนุษย์” และ “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสีย
แล้ว” นั่นเอง และด้วยสาเหตุที่สมองของเด็กปฐมวัยยังพัฒนา
ได้ไม่สมบูรณ์ เหมือนกับสมองของผู้ใหญ่นี้เองที่ทำ
�ให้เด็กคิดแตก
ต่างไปจากที่ผู้ใหญ่คิด ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่อง เหตุการณ์ หรือกับการ
แสดงออกทางพฤติกรรมอย่างเดียวกันดังตัวอย่างการเทน้ำ
�ข้างต้น
หากเป็นผู้ใหญ่ทำ
� อาจจะทำ
�ด้วยเหตุผล เช่น การรองน้ำ
�ใส่ขวด
ไว้ดื่ม หรือการเทน้ำ
�ลงพื้นเพื่อล้าง หรือชะสิ่งสกปรกออกจากพื้น
ในขณะที่เด็กทำ
�ไปเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำ
� และคิดว่าหากเทซ้ำ
�ต่อ
ไป ๆ จะได้ผลเหมือนเดิมหรือไม่ ครั้งที่หนึ่งกับครั้งต่อไปจะเหมือน
หรือต่างกันอย่างไร เป็นต้น
จากข้อมูลข้างต้นคงจะเห็นภาพกว้าง ๆ แล้วว่าการศึกษา
ปฐมวัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้เด็ก
มีความพร้อมในการศึกษาในระดับต่อไป เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เรียน
รู้ผ่านการเล่น และสิ่งที่เรียนรู้จะมีความหมายต่อตัวเด็กมากที่สุดก็
ด้วยการลงมือกระทำ
�สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว แล้วการใช้เทคโนโลยี
ในการจัดการเรียนรู้จะตอบสนองสิ่งดังกล่าวเหล่านี้ได้มากน้อย
เพียงใด ก็จะเป็นประเด็นที่จะนำ
�เสนอต่อไป
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำ
�หรับเด็กปฐมวัย
ในการที่จะนำ
�คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ในการ
จัดการเรียนรู้สำ
�หรับเด็กเล็ก ๆ สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการ
ศึกษาให้กับเด็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนควรตระหนักและคำ
�นึงถึง
ก็คือเทคโนโลยีนั้นตอบสนองหรือส่งเสริมสิ่งที่เด็กควรได้รับและ
ตรงกับธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่ หรือกล่าวให้ง่ายลง
ไปอีกก็คือเด็กได้ทำ
�อะไร และได้รับหรือเรียนรู้อะไรบ้าง เช่น การ
ให้เด็กดูการ์ตูนหรือแม้แต่รายการโทรทัศน์สำ
�หรับเด็กผ่านหน้าจอ
ทีวีที่สามารถให้เด็กดูได้เป็นบางช่วงเวลา แต่ยังไม่เหมาะสมพอที่
จะกล่าวได้ว่าเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพราะว่า
โทรทัศน์เป็นเพียงภาพ 2 มิติ ที่สามารถเคลื่อนไหวได้เท่านั้น สิ่งที่
เด็กได้ทำ
�มีเพียงการเป็นผู้ดูที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบ
ใด ๆ กลับไปสู่ทีวีได้เลย แต่ทีวีก็ยังพอมีประโยชน์อยู่บ้างเล็กน้อย
กับผู้ดูแลหรือคนเลี้ยงตรงที่ช่วยให้เด็กอยู่อย่างสงบ (ชั่วคราว) ได้
และการที่เด็กชอบดูทีวีมาก ก็สามารถตอบได้จากงานวิจัยที่พบว่า
ธรรมชาติของสมองของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะโน้มเอียงไปกับหรือ
ชอบภาพที่เคลื่อนไหวได้มากกว่าการดูรูปภาพนั่นเอง
ถึงตรงนี้คงจะมีคำ
�ถามต่อไปอีกว่าแล้วเทคโนโลยีที่มีอยู่แบบ
ใดที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้อย่างสูงสุด
บางคนอาจจะบอกว่าเด็กจะได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากการใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ แต่หากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเพียงการชมผ่าน
หน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากการดูทีวี เด็กเพียง
แต่เปลี่ยนจากการนั่งหน้าจอทีวีมาอยู่หน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์
เท่านั้นเอง ส่วนคำ
�ตอบของการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ก็ไม่ได้อยู่ที่ความล้ำ
�หน้าทางวิทยาการของตัวเครื่อง (hardware)
แต่กลับอยู่ที่โปรแกรม (software) หรือชุดโปรแกรมที่จะนำ
�มา
ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างหากที่จะต้องตอบสนองต่อทั้ง 2 ข้อ
ที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือโปรแกรมนั้น จะต้องส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้
สร้างสรรค์ผลงาน สามารถโต้ตอบ และตอบได้หลายคำ
�ตอบ ส่ง