

3
ปีที่ 41 ฉบับที่ 182 พฤษภาคม - มิถุนายน 2556
ระบบการทำ
�งาน
ของสมองกับ
การเรียนการสอน
วิชาฟิสิกส์
(ตอนที่ 1)
รอบรู้วิทย์
กวิน เชื่อมกลาง
นักวิชาการ สาขาฟิสิกส์ สสวท. / e-mail :
kchau@ipst.ac.thสวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักการเรียนรู้ทุกท่าน บทความที่ผมจะนำ
�
เสนอต่อจากนี้เป็นการรวบรวมและนำ
�เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ
ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย กระชับและชัดเจน เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถนำ
�
ความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการ
ดำ
�เนินชีวิตประจำ
�วัน การเรียนและการสอนในวิชาต่าง ๆ ดังนั้นกลุ่ม
เป้าหมายของผู้อ่านบทความนี้ จึงไม่จำ
�กัดเพียงแค่กลุ่มเพื่อนครูที่
ต้องการความรู้ เพื่อนำ
�ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แต่
ยังรวมถึงกลุ่มนักเรียนนิสิตนักศึกษาที่ต้องการพัฒนาวิธีการเรียน
รู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในบทความนี้ ผมจะเริ่มจากการกล่าวถึงที่มาและความสำ
�คัญ
ของการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากนั้นผม
จะนำ
�เสนอโมเดลการทำ
�งานของสมองแบบคู่หน่วยความจำ
� เพื่อ
อธิบายระบบการทำ
�งานของสมองมนุษย์แบบคร่าว ๆ และในส่วน
ท้ายสุดของบทความ ผมจะอธิบายถึงลักษณะการทำ
�งานของระบบ
สมองในส่วนหน่วยรับข้อมูลจากประสาทสัมผัส
a
b
c
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากความ
อยากรู้อยากเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติของมนุษย์ โดย
มีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อให้มนุษย์สามารถดำ
�เนินชีวิตและบริหาร
จัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาวิทยา
ศาสตร์นำ
�มาซึ่งการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้การ
ดำ
�เนินชีวิตของมนุษย์มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เช่น การ
พยายามรับส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่ไกลออกไป ไม่ว่าจะ
เป็นการพัฒนาระบบรับส่งข้อความผ่านสัญญาณไฟฟ้าในรูปแบบ
โทรเลข โดย เซอร์ชาลส์ วีตสโตน (Sir Charles Wheatstone) และ
เซอร์วิลเลียม ฟอเทอร์กิลล์ คุก (Sir William Fothergill Cooke)
การสร้างโทรศัพท์เพื่อรับส่งสัญญาณเสียง โดย อเล็กซ์ซานเดอร์
เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) การรับส่งสัญญาณ
ไฟฟ้าในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ค้นพบโดย ไฮน์ริช เฮิรตซ์
(Heinrich Rudolf Hertz) ซึ่งนำ
�ไปสู่การพัฒนาการรับส่งสัญญาณ
แบบไร้สาย เช่น วิทยุและโทรศัพท์เคลื่อนที่ การพยายามรับส่งข้อมูล
ผ่านระบบเน็ตเวิร์คจากคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอส
แองเจลิส (University of California at Los Angeles: UCLA)
สู่คอมพิวเตอร์อีก 3 เครื่อง ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford
Research Institute: SRI) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานตา
บาร์บารา (University of California, Santa Barbara: UCSB)
และมหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah) โดยคณะทำ
�งานของ
อาจารย์ลีโอนาร์ด ไคลน์ร็อค (Leonard Kleinrock) จนพัฒนาเป็น
ระบบอินเทอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน
รูป 1 การส่งและรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของเฮิรตซ์