Previous Page  4 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 4 / 62 Next Page
Page Background

4

นิตยสาร สสวท.

การศึกษา

มีจุดมุ่งหมายหลักก็คือ การถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่น

หนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง และเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชน

รุ่นถัดไป เพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถนำ

�ความรู้ที่มีอยู่

ในยุคนั้น ๆ มาประยุกต์ใช้ในการดำ

�เนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และเพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นกำ

�ลังสำ

�คัญในการสืบเสาะหาความ

รู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

ด้วยเหตุนี้การดำ

�เนินชีวิตของมนุษย์เมื่อหนึ่งพันปีที่แล้ว จึงแตกต่าง

จากปัจจุบันเป็นอย่างมาก มีการสร้างบ้านเรือนที่แข็งแรงขึ้น ทำ

�ให้

ชีวิตความเป็นอยู่มีความปลอดภัยมากขึ้น มีการสร้างรถและเครื่อง

บินเพื่อใช้เป็นพาหนะในการเคลื่อนที่ ทำ

�ให้การเดินทางไปยังสถาน

ที่ต่าง ๆ มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น ในขณะที่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ยัง

คงมีพฤติกรรมการดำ

�เนินชีวิตที่ไม่แตกต่างจากบรรพบุรุษมากนัก นก

กระจิบและนกกระจอกยังคงใช้กิ่งไม้และเศษหญ้าทำ

�รัง ไม่ว่าจะผ่าน

มากี่หมื่นกี่พันปีก็ตาม เสือยังคงไล่ล่าสัตว์อื่น เพื่อเป็นอาหารด้วยการ

วิ่ง จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีสัญชาตญาณบางประการด้อยกว่า

สัตว์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น การดมกลิ่น การได้ยิน การมองเห็น การรับ

รู้ทิศทาง และการรับรู้อุณหภูมิ แต่มนุษย์ก็มีสิ่งที่เหนือกว่าสัตว์ชนิด

อื่น ๆ นั่นคือ ความสามารถในการเรียนรู้ การพัฒนาองค์ความรู้และ

การถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานในรุ่นต่อ ๆ ไป

มนุษย์ได้มีการศึกษาทางด้านศาสตร์การสอนและทฤษฎีการ

เรียนรู้มาอย่างยาวนาน แต่เพิ่งจะมีการศึกษาอย่างจริงจังและเป็น

ระบบในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น กอปรกับการเรียนรู้ของมนุษย์

นั้น มีความสลับซับซ้อนและมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องจำ

�นวนมาก ทำ

�ให้

องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนั้นยังมีไม่มาก และนักการ

ศึกษาเองก็ยังไม่สามารถหาทฤษฎีที่ดีที่สุดที่สามารถอธิบายการเรียน

รู้ของมนุษย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

�และครอบคลุมทุกตัวแปรที่เป็น

ไปได้ ดังนั้นผมจึงอยากให้ท่านผู้อ่านมีสติอยู่เสมอว่า

การเรียนการ

สอนที่ยึดติดกับทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฏีใดทฤษฎีหนึ่งมากจนเกิน

ไปอาจจะไม่ส่งผลดีเทียบเท่ากับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้

หลาย ๆ ทฤษฎีเข้าด้วยกัน

นอกจากนี้แล้วผมอยากให้ท่านผู้อ่าน

คิดอยู่เสมอว่า

การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นขึ้นกับสภาพแวดล้อมรอบ

ตัวและลักษณะของเนื้อหาวิชาที่กำ

�ลังศึกษาด้วย

ดังนั้นเพื่อให้การ

ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จำ

�เป็นที่

จะต้องใช้ประสบการณ์ของท่านผู้อ่านมาร่วมในการคิดและตัดสินใจ

เพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่ท่านผู้อ่านเผชิญอยู่ ในวงการทางการ

ศึกษาจะมีคำ

�ศัพท์คำ

�หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นี้คือ

ความรู้

ความสามารถในการสอนเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่ง (Pedagogical

Content Knowledge: PCK)

แนวคิดนี้ก็คือ ความสามารถในการ

สอนเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งนั้น จัดว่าเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลที่

ต้องใช้ความรู้ทั้งทางด้านเนื้อหา ด้านศาสตร์การสอน ประสบการณ์

ในการสอน ความรู้เกี่ยวกับตัวนักเรียนและสิ่งแวดล้อมมาประกอบ

รูป 2 โมเดลการทำ

�งานของสมองแบบคู่หน่วยความจำ

การทำ

�งานของสมองตามโมเดลแบบคู่หน่วยความจำ

�นี้ จะ

ประกอบไปด้วยสามส่วนหลัก โดยส่วนแรกคือ

หน่วยรับข้อมูลจาก

ประสาทสัมผัส (Sensory Register)

จะทำ

�หน้าที่รับข้อมูลจาก

ภายนอกในรูปแบบของการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรส

และการสัมผัส แล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผล โดยหน่วยประมวลผล

จะมีหน่วยความจำ

�สองแบบที่มีหน้าที่และคุณสมบัติที่แตกต่างกันคือ

หน่วยความจำ

�ระยะสั้นหรือหน่วยความจำ

�สำ

�หรับการประมวลผล

(Short-Term/Working Memory)

ในส่วนนี้จะทำ

�หน้าที่ประมวล

ผลข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยรับข้อมูลจากประสาทสัมผัส โดยใช้ข้อมูล

จากหน่วยความจำ

�หน่วยที่สองในการตีความ ซึ่งหน่วยความจำ

�หน่วย

ที่สองนี้คือ

หน่วยความจำ

�ระยะยาว (Long-Term Memory)

จะ

มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่ระบบสมองได้ทำ

�การพิจารณาแล้วว่าเป็นข้อมูลที่

มีความสำ

�คัญควรค่าแก่การจดจำ

�เพื่อนำ

�มาใช้ในอนาคต

เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น คนที่เข้าใจเนื้อหาเรื่องคลื่นเป็นอย่างดีก็

อาจจะไม่สามารถสอนเรื่องคลื่นให้กับนักเรียนหรือบุคคลอื่นได้ หาก

เขาไม่ทราบว่าจะต้องสอนหรืออธิบายอย่างไร และคนที่เข้าใจทฤษฎี

การเรียนรู้เป็นอย่างดีก็ไม่สามารถที่จะสอนเรื่องคลื่นให้กับนักเรียน

ได้ หากเขาไม่มีความรู้ความเข้าใจในตัวทฤษฎีที่เกี่ยวกับเรื่องคลื่น

อย่างเพียงพอ

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ผมจะนำ

�เสนอในบทความนี้มาจากแนวความ

คิดของกลุ่มนักจิตวิทยาที่ทำ

�การศึกษาเกี่ยวกับการทำ

�งานของระบบ

สมองที่เรียกว่า

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผล

ข้อมูล (Information Processing Theory)

โดยนักจิตวิทยา

กลุ่มนี้ได้มีการนำ

�เสนอโมเดลที่อธิบายการทำ

�งานของระบบสมอง

มนุษย์อยู่หลากหลายโมเดล

แต่โมเดลที่ได้รับการยอมรับมากก็คือ

โมเดลการทำ

�งานของ

สมองแบบคู่หน่วยความจำ

� (A Dual Store Model of Memory)

ที่นำ

�เสนอโดย ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) และ ริชาร์ด

ซิฟฟริน (Richard Shiffrin) โมเดลนี้สามารถแสดงได้ดังรูป 2