Previous Page  30 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 30 / 62 Next Page
Page Background

30

นิตยสาร สสวท.

หลายคนอาจมีข้อโต้แย้งว่า ผลวิจัยจากต่างประเทศนำ

�มาใช้กับคนไทยไม่

ได้ เพราะบริบทหลายอย่าง แตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลวิจัย

ทางด้านสังคมศาสตร์ แต่การรีบด่วนปฏิเสธผลการวิจัยต่าง ๆ โดยไม่พิจารณา

ให้ละเอียดรอบคอบ อาจทำ

�ให้ต้องพลาดโอกาสสำ

�คัญในการได้ข้อมูลที่เป็น

ประโยชน์ เพราะผลวิจัยจากต่างประเทศ หลายงานวิจัย หากพิจารณาให้

ดีแล้ว บางส่วน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เป็นสากล อีกทั้ง เมื่อพิจารณา

ถึงสังคมโลกยุคใหม่ ที่นับวันจะมีความเป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้นเรื่อย ๆ

งานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์จึงเริ่มมีความคล้ายกันในเชิงบริบทมากขึ้น

เรื่อย ๆ การพินิจพิเคราะห์ให้ดีถึงผลการวิจัยจากต่างประเทศแต่ละชิ้น ว่ามี

ส่วนเหมือนหรือส่วนต่างอย่างไร นอกจากจะช่วยให้สามารถนำ

�ข้อมูลที่เป็น

ประโยชน์มาปรับใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาทางด้านต่าง ๆ แล้ว ยังช่วย

ให้ไม่ต้องมีการทำ

�การศึกษาวิจัยขึ้นมาเองทั้งหมด ซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน

และใช้ทรัพยากรปริมาณมาก

อย่างไรก็ตาม ผลจากการวิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ และผลจาก

การวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ดังที่ได้กล่าวข้างต้น เป็นงานวิจัยที่

ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสภาพสังคมของโลกสมัยใหม่ ที่วัฒนธรรมตะวันตกมี

ความโดดเด่นและแทรกซึมไปทั่วโลก สังคมที่ครอบครัวมีลูกน้อย ผู้คนอาศัย

อยู่ในเมืองมากขึ้น และเด็ก ๆ เติบโตขึ้นมาท่ามกลาง อินเทอร์เน็ต สมาร์ต

โฟน แท็บเล็ต เครือข่ายสังคมออนไลน์ วัฒนธรรมบริโภคนิยม และรายการ

โทรทัศน์แบบเรียลลิตี้ ซึ่งถ้าหากพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า เป็นสภาพสังคมที่

ไม่ต่างจากสภาพในบ้านเรามากเท่าใดนัก ดังนั้นผลวิจัยที่อ้างถึงข้างต้น จึง

ไม่อาจมองข้ามได้ และต้องมีการพินิจพิเคราะห์ นำ

�ส่วนที่เป็นประโยชน์มา

ปรับใช้กับการพัฒนาเด็ก ๆ ในสังคมบ้านเรา

จากการศึกษาเกี่ยวกับเด็ก Gen Me Me

(Twenge, 2007) นั้น พบว่าการเติบโตมาในลักษณะ

ที่ครอบครัวมีลูกคนเดียวหรือสองคน แวดล้อมไป

ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย และวัฒนธรรม

บริโภคนิยม พฤติกรรมที่สังเกตได้ชัดในเด็กรุ่นนี้ ที่

แตกต่างจากคนรุ่นก่อน ๆ คือ

− การเป็นคนที่คิดว่าตนเองสมควรได้รับสิ่งที่ดี

ที่สุด และหากได้รับคำ

�วิพากษ์วิจารณ์ หรือประสบกับ

ความผิดหวัง หรือความล้มเหลว จะมีปฏิกิริยารุนแรง

เช่น เสียใจรุนแรง หรือ มีอาการโกรธแค้นยาวนาน

− การมีลักษณะของคนที่มุ่งมั่นแต่เอาชนะ

ไม่เอาใจใส่ความรู้สึกของผู้อื่น เอาเปรียบผู้อื่นเพื่อ

ชัยชนะของตนเอง

− การมีใจหมกมุ่นกับจินตนาการความสำ

�เร็จ

ความงามหรือสติปัญญา การต้องการเป็นที่ชื่นชม

ยอมรับและหลงใหลอยู่ตลอดเวลา

− การตกอยู่ในสภาวะถูกกดดันจากเพื่อน

(peer-pressure) เนื่องจากการใช้เครือข่ายสังคม

ออนไลน์ ที่มีการอัปเดตสถานะเกือบตลอดเวลา

ทำ

�ให้การดำ

�เนินชีวิตจึงมีแนวโน้มจะทำ

�อะไรให้ตาม

ทันเพื่อน มากกว่าการค้นพบตัวเอง

− การมีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนและคนใน

รุ่นอื่น ๆ น้อยลง ทำ

�ให้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของ

ชุมชนที่ตนเองอยู่น้อย เนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่กับ

เพื่อนหรือคนในวัยใกล้กันในโลกออนไลน์

− มีปัญหากับการใช้คำ

�หรือประโยคในการ

สื่อสารให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และมีปัญหา

กับการเรียบเรียงความคิดเป็นเหตุเป็นผลยาว ๆ ซึ่ง

เป็นผลมาจากการสื่อสารบนโลกออนไลน์ มีการใช้

คำ

�หรือประโยคที่ไม่คำ

�นึงถึงความถูกทางหลักภาษา

และข้อความที่ใช้เป็นข้อความสั้น ๆ

ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กที่มีความ

สามารถสูงในรุ่น Gen Me Me จึงต้องมีการคำ

�นึงถึง

พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อการปรับปรุงแนวทาง

ในการดูแล ส่งเสริม และการพัฒนาพวกเขา เพราะ

ไม่เช่นนั้นแล้ว การพยายามต่าง ๆ ที่จะพัฒนาเด็ก

เก่งเหล่านี้ อาจเป็นการลงทุนลงแรงไปแล้ว ได้ผลไม่

เป็นไปตามคาดหวัง หรือแม้กระทั่ง ความหวังดี อาจ