

32
นิตยสาร สสวท.
• การที่เด็กสื่อสารโดยใช้ข้อความสั้น ๆ ผ่านเครือข่าย
สังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Line หรือ Instagram มีส่วนใน
การลดทักษะการเรียบเรียงความคิดเป็นเหตุเป็นผล (Bauerlein,
2008) ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ทักษะดังกล่าว ได้รับการพัฒนา
ให้มีการเพิ่มกิจกรรมที่ให้เด็ก ๆ ได้เขียนเรียงความที่มีการโต้แย้ง
เกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพื่อฝึกฝนการเรียบเรียงความ
คิด การเชื่อมโยงกันของแนวคิด เหตุการณ์ และบุคคลต่าง ๆ
มากยิ่งขึ้น อีกทั้ง เพื่อเป็นการฝึกฝนการใช้คำ
�และประโยคให้ถูก
ต้องตามหลักภาษาด้วย
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่า จะมีการกล่าวถึงเด็ก Gen Me Me ใน
ส่วนที่ทำ
�ให้เกิดความกังวลของคนรุ่นผู้ใหญ่ในยุคนี้ เด็ก Gen Me
Me ที่กำ
�ลังเติบโตขึ้นมาท่ามกลางโลกยุคใหม่นี้ มีลักษณะดี ๆ
หลายอย่าง ที่น่าชื่นชม และควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
ให้พวกเขารักษาคุณลักษณะดี ๆ เหล่านี้ไว้ ยกตัวอย่างเช่น งาน
วิจัยบางงานวิจัยพบว่า (Stein, 2013) เด็กรุ่นใหม่เป็นคนที่ให้
ความเคารพในความแตกต่างของบุคคลมากกว่าคนรุ่นก่อน ๆ
สามารถทำ
�งานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการแบ่ง
ชั้นหรือลำ
�ดับขั้นในสังคมมากเหมือนคนรุ่นก่อน ๆ อีกทั้ง เป็น
กลุ่มคนที่มีการศึกษาดี ตั้งใจเรียน จริงจังกับการทำ
�งาน และ
มองโลกในแง่ดี
(ที่มา:
http://www.obec.go.th/node?page=1642)สรุป
การพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ ที่เติบโตขึ้นมาในโลกที่ต่างไปจาก
ยุคของคนรุ่นก่อน ๆ เมื่อได้มีการคำ
�นึงถึงปัจจัย และข้อมูล
ที่ทันสมัย ได้ตั้งคำ
�ถามเกี่ยวกับบริบทที่เปลี่ยนไป อาจจะ
ต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดูแล พัฒนา ส่งเสริม
เด็ก ๆ รุ่นใหม่เหล่านี้ เพราะถ้าจะกล่าวไปแล้ว เมื่อให้ความได้
เปรียบของเด็ก ๆ รุ่นนี้ เหนือคนรุ่นก่อน ๆ นั่นคือ การที่ได้
เติบโตมาท่ามกลางโลกที่พวกเขาสามารถเข้าถึงการศึกษา
ได้มากกว่าคนสมัยก่อน การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การไม่มี
ปัญหาความยากจนและความขัดแย้งต่าง ๆ ที่รุนแรงเท่ากับ
ในยุคก่อน ๆ เด็ก ๆ รุ่นใหม่นี้ มีศักยภาพที่จะก้าวมาเป็น
ผู้ใหญ่ที่สามารถแก้ปัญหาที่คนรุ่นก่อน ๆ ไม่สามารถแก้ไข
ได้ และทำ
�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี อย่างที่ไม่เคย
คิดมาก่อน และไม่แน่ว่า เมื่อพวกเขาได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่
ดี พวกเขาอาจเป็นรุ่นที่ดีที่สุด เท่าที่เคยมีมา
บรรณานุกรม
Bauerlein, M. (2008).
The Dumbest Generation: How the Digital Age
Stupefies Young Americans and Jeopardizes Our Future (Or, Don’t
Trust Anyone Under 30)
. London: Penguin Books.
Ng, E., Lyons, S. & Schweitzer, L. (2012).
Managing the New Workforce:
International Perspectives on the Millennial Generation
. Glos:
Edward Elgar.
Pink, D. (2009).
Drive: The Surprising Truth About What Motivates Us
.
New York: Riverhead.
Rosen, L. (2012).
iDisorder: Understanding Our Obsession With
Technology and Overcoming Its Hold on U
s. New York: Palgrave
Macmillan.
Stein, J. (2013, 20 May). The New Greatest Generation: Why Millennials
Will Save Us All.
TIME
, 181, 28-35.
Tough, P. (2012).
How Children Succeed: Grit, Curiosity, and the Hidden
Power of Character
. London: Random House.
Twenge, J. M. (2007).
Generation Me: Why Today’s Young Americans
are More Confident, Assertive, Entitled - and More Miserable Than
Ever Before
. New York: Free Press.
Twenge, J. M. & Campbell, W. K. (2009).
The Narcissism Epidemic:
Living in the Age of Entitlement
. New York: Atria.