

31
ปีที่ 41 ฉบับที่ 184 กันยายน - ตุลาคม 2556
จะส่งผลเสียกับเด็กเหล่านี้ อย่างที่เราคาดไม่ถึง และ
อาจจะเป็นการยากเกินไปที่จะแก้ไข
ผู้เขียนมีข้อเสนอในการพัฒนาเด็กเก่ง Gen Me
Me จำ
�นวน 5 ข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอที่มีงาน
วิจัยสนับสนุน และบางส่วนมาจากการวิเคราะห์ของ
ผู้เขียนเอง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
− เพื่อเป็นการฝึกหัดให้ได้รู้จักที่จะเผชิญกับ
ความล้มเหลว ความพ่ายแพ้และผิดหวัง การดูแลเด็ก
ในรุ่นใหม่ อาจจะต้องเป็นการไม่พยายามปกป้องเด็ก
มากเกินไป มีการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ในรุ่นนี้ได้เผชิญ
กับความยากลำ
�บาก ได้แก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตัวพวก
เขาเอง โดยไม่ต้องมีการบีบคั้น หรือคาดหวังว่าจะ
ต้องประสบความสำ
�เร็จทุกอย่าง เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ
ได้เผชิญกับความล้มเหลว ความผิดหวัง ที่ตัวเองเป็น
คนทำ
� และให้พวกเขาพยายามก้าวข้ามผ่านไปได้ด้วย
ตัวพวกเขาเอง การได้ฝ่าฟันอุปสรรคที่ยากลำ
�บาก
ด้วยตัวพวกเขาเอง คือสิ่งที่จะหล่อหลอม “บุคลิก”
(character) ของพวกเขาเมื่อเติบโตขึ้น และจะเป็น
ส่วนสำ
�คัญต่อการประสบความสำ
�เร็จในชีวิต (Tough,
2012)
− เพื่อเป็นการลดอาการของการหลงใหลให้
คุณค่าสิ่งภายนอก เช่น ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ หรือ
เงินรางวัล การชื่นชมหรือการให้รางวัลกับเด็กในรุ่น
นี้ เมื่อพวกเขาประสบความสำ
�เร็จในการแข่งขัน หรือ
การทำ
�งานใด ๆ อาจจะไม่เป็นการชมหรือให้รางวัล
แบบไม่ง่ายเกินไป (Twenge, 2007) แต่เป็นการให้
รางวัลเมื่อพวกเขาได้ประสบความสำ
�เร็จที่ควรค่าที่
มาจากการมุมานะ พยายามจริง ๆ และการชื่นชม
เป็นการเน้นที่กระบวนการ มากกว่าที่ผลหรือรางวัล
เช่น ความเพียรและมุมานะ การมีสมาธิควบคุมตัวเอง
ให้ไม่หลงใหลไปกับสิ่งล่อใจต่าง ๆ อีกทั้งพยายามชี้
ให้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่พวกเขาได้ทำ
�หรือกำ
�ลังทำ
�
อยู่ ต่อตนเองหรือสังคม อันจะเป็นแรงผลักดันที่ดี ใน
การทำ
�งานให้มีความเจริญก้าวหน้าในอนาคต (Pink,
2009)
− เนื่องจากเด็กในรุ่นนี้ ใช้เวลาส่วนใหญ่ อยู่
หน้าจอ และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนผ่านหน้าจอหลาย
ชั่วโมงในแต่ละวัน ทำ
�ให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้คน
อื่น ๆ ในชุมชนน้อย ส่งผลให้มีความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นนอกจากในหมู่
เพื่อนในเครือข่ายของตนเองลดลง (Twenge, 2007) ดังนั้นเพื่อเป็นการ
เพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชุมชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ใหญ่ที่จะ
สามารถให้ข้อคิดและแนะนำ
�สิ่งดี ๆ ได้ การจัดกิจกรรมต้องเพิ่มเติมกิจกรรม
ที่ให้เด็กเหล่านี้ ได้มีโอกาสมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชุมชน ให้ได้ใช้เวลาในการ
ทำ
�สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ โดยไม่มีรางวัลตอบแทน มากยิ่งขึ้น
− จากผลการวิจัย พบว่าการที่เด็ก Gen Me Me มีปฏิสัมพันธ์กับ
เพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์อยู่เกือบตลอดเวลาทำ
�ให้พวกเขารู้สึกมี
ความกดดันจากเพื่อน ในการที่ต้องมีสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เหมือนเพื่อน ให้ทัน
เพื่อน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (Bauerlein, 2008)
(Rosen, 2012) (Pink, 2009) ดังนั้นการเรียนรู้ของเด็กรุ่นนี้ ต้องพยายาม
ลดการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความรู้สึกกดดันจากเพื่อน ๆ เช่น การ
สอบแข่งขัน หรือการแข่งแบบแพ้คัดออก แต่เพิ่มการจัดกิจกรรมที่พวกเขา
ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่มีความรู้สึกกดดันมากขึ้น เช่น การวาดภาพ
ระบายสี การแสดงละคร หรือการทำ
�โครงงานสิ่งประดิษฐ์เป็นกลุ่ม
(ที่มา:
http://swis-acs.acs.ac.th/html_edu/cgibin/acs/report/print_picture.php?id_pic=1878)
(ที่มา:
http://www.klongchakpong.rayong2.info/)