

ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสมาคม American Academy of
Arts and Sciences ในปี ค.ศ. 1848 และเป็นศาสตราจารย์
กับผู้อ�
านวยการแห่งหอดูดาวที่ Vassar College ด้วย)
เพราะครอบครัว Cooper มีฐานะไม่ดีนัก ดังนั้น Vera จึง
ต้องหาทุนเรียนที่ Vassar College ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่สอนเฉพาะ
ผู้หญิง ห้องเรียนที่นั่นมีเธอเป็นนิสิตเพียงคนเดียว ดังนั้นการ
เรียนการสอนจึงเป็นไปในลักษณะตัวต่อตัวกับอาจารย์ ซึ่งนับ
เป็นเรื่องดี เพราะเธอได้รับความสนใจจากอาจารย์ 100% เต็ม
ในปี ค.ศ. 1948 Vera วัย 20 ปีส�
าเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี และได้เข้าพิธีสมรสกับ Robert Rubin ซึ่งเป็น
นักเคมีเชิงฟิสิกส์ ที่ก�
าลังเรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัย
Cornell ด้วยเหตุนี้ Vera Rubin จึงได้ติดตามสามีไปเรียนต่อ
ที่มหาวิทยาลัย Cornell และได้เรียนกับนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียง
ระดับโลก เช่น Philip Morrison, Richard Feynman และ
Hans Bethe เธอส�
าเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในปี ค.ศ.
1951 ด้วยวิทยานิพนธ์เรื่อง
ลักษณะการเคลื่อนที่ของกาแล็กซี
109 กาแล็กซี
เมื่อเธอน�
าผลงานวิจัยนี้ไปเสนอในที่ประชุมครั้ง
ที่ 84 ของ American Astronomical Society (AAS) ไม่มี
ใครให้ความสนใจมาก อาจเพราะข้อมูลของเธอยังไม่สมบูรณ์
เธอรู้สึกท้อแท้ แต่สามีก็ยังให้ก�
าลังใจสู้ต่อ โดยบอกเธอว่า การ
เรียนจบปริญญาโททางดาราศาสตร์มิได้หมายความว่า เธอได้
เป็นนักดาราศาสตร์แล้ว เธอจึงมุ่งมั่นจะเรียนปริญญาเอกต่อ
เมื่อครอบครัว Rubin ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่ Washington,
D.C. Vera Rubin ได้ตัดสินใจเรียนดาราศาสตร์ต่อในระดับ
ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย Georgetown ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พัก
ณ ที่นั่นเธอได้พบ George Gamow นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้
มีบทบาทในการน�
าเสนอทฤษฎี Big Bang ของเอกภพ และ
Gamow ได้แนะให้เธอศึกษาการกระจายตัวของกาแล็กซีใน
เอกภพว่า มีรูปแบบเช่นไร ขณะนั้นเธอมีลูก 2 คนแล้ว จึงต้อง
ขอให้บิดา มารดาของเธอมาช่วยดูแลลูก ยามที่เธอไปเรียน และ
เธอขอให้สามีขับรถไปส่งเธอเพื่อจะได้เข้าฟังการบรรยายทัน
เวลา จนเธอส�
าเร็จปริญญาเอกเมื่ออายุ 26 ปี แล้วได้เริ่มอาชีพ
อาจารย์ที่ Montgomery County Community College
ซึ่งเป็นงานที่เธอขอรับเงินเดือนเพียง 2 ใน 3 เพราะเธอจะได้
มีเวลาขับรถไปรับลูก ๆ ที่โรงเรียนทัน อีก 2 ปีต่อมาก็ได้งาน
เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Georgetown
จุดหักเหในชีวิตของ Vera Rubin เกิดในปี ค.ศ. 1963
เมื่อเธอได้ทุนวิจัยไปฝึกงานกับ Margaret Burbridge และ
Geoffrey Burbridge แห่งมหาวิทยาลัย California ที่
San Diego เป็นเวลา 1 ปี โดยต้องใช้กล้องขนาด 82 นิ้ว
ดูดาวที่ McDonald Observatory ที่ Texas เพื่อวัดความเร็ว
ในการหมุนรอบตัวเองของกาแล็กซีเป็นครั้งแรกในประวัติ
ดาราศาสตร์
เมื่อกลับจากเมือง San Diego Vera Rubin ได้ไปติดต่อ
ขอสมัครงานที่ Carnegie Institute of Washington ใน
ต�
าแหน่งอาจารย์ที่ภาควิชา Terrestrial Magnetism ในการ
สัมภาษณ์แทนที่หัวหน้าภาควิชาจะถามค�
าถามวิชาการ เขา
กลับยื่นแผ่นฟิล์มภาพสเปกตรัมของดาวฤกษ์ แล้วขอให้เธอ
วัดความเร็วของดาวเหล่านั้น ซึ่งเธอก็ท�
าได้ส�
าเร็จ จึงได้เข้า
ท�
างานกับ W. Kent Ford ผู้เป็นนักฟิสิกส์ที่เชี่ยวชาญการ
ออกแบบ image tube spectrograph ที่สามารถถ่ายภาพดาว
ด้วยวิธีเก็บแสงได้ดีกว่า และเร็วกว่า spectrograph ธรรมดา
มาก ความสามารถของ Ford ในการออกแบบเครื่องมือ และ
ความสามารถของ Rubin ในการวิเคราะห์ข้อมูล ท�
าให้คนทั้ง
สองมีผลงานตีพิมพ์ร่วมกันมากมาย
ถึงปี ค.ศ.1965 Rubin วัย 37 ปี ได้เป็นสตรีคนแรกที่
ได้รับอนุญาตให้ใช้กล้องดูดาวขนาด 200 นิ้ว (ซึ่งใหญ่ที่สุด
ในโลกขณะนั้น) ที่ภูเขา Palomar ใน California โดยเธอ
ได้เสนอโครงการวิจัยจะวัดความเร็วของดาวฤกษ์ที่ต�
าแหน่ง
ต่าง ๆ ในกาแล็กซี Andromeda M31 ซึ่งเป็นกาแล็กซีที่อยู่
ใกล้โลกที่สุด (2.2 ล้านปีแสง) และสุกใสที่สุด
เกียรติประวัติที่ได้เป็นสตรีคนแรกที่ท�
างานที่หอดูดาว
เป็นเรื่องไม่ธรรมดาส�
าหรับคนทั่วไป เพราะหอดูดาว Palo-
mar มีแต่ผู้ชาย จึงท�
าให้สถานที่นั้นเสมือนเป็น “วัด” แม้แต่
ห้องน�้
าก็มีป
ายปักไว้หน้าห้องว่า “MEN” จน Vera Rubin
ต้องหาห้องน�้
าเล็ก ๆ ใช้ แต่เธอก็ไม่ได้ระบุที่ป
ายว่า ส�
าหรับ
“WOMEN” ขณะท�
างานที่นั่น เธอเป็นคนควบคุมทิศของกล้อง
ระยะเวลาที่ส�
ารวจและต้องระบุว่าเธอต้องการใช้อุปกรณ์ใด
บ้างในการบันทึกภาพ
ในการวิจัยเรื่องนี้ ความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานที่นัก
ดาราศาสตร์ทั่วไปต้องใช้ในการอธิบายคือ ทฤษฎีแรงโน้ม
ถ่วง ของ Newton ซึ่งแถลงว่า สสารทุกชนิดดึงดูดกัน
นิตยสาร สสวท.
30