

ภาพที่ 2 กาแล็กซี M31 (Andromeda Galaxy)
หมายเหตุ
ผู้สอนสามารถค้นหาชื่อกาแล็กซีประเภทต่าง ๆ
เพิ่มเติมได้จาก Google แล้วน�
ำมาเข้าโปรแกรม Stellarium
เพื่อยกตัวอย่างเพิ่มเติมนอกเหนือจากในหนังสือเรียน
ตัวอย่างที่ 2
เรื่อง การค�
ำนวณระยะห่างของดาวฤกษ์
จากค่ามุมแพรัลแลกซ์ และการหาค่ามุมแพรัลแลกซ์จาก
ระยะห่างของดาวฤกษ์
วิธีการ
1. ผู้สอนสามารถยกตัวอย่าง และ/หรือให้แบบฝึดหัด
แก่ผู้เรียนในเรื่องการหาระยะห่างของดาวฤกษ์โดยใช้ข้อมูล
ค่ามุมแพรัลแลกซ์ที่ได้จากการใช้โปรแกรม Stellarium ดังนี้
- เปิดโปรแกรม Stellarium
- เปิดเมนูการค้นหา
แล้วป้อนชื่อดาวฤกษ์
ที่ต้องการหามุมแพรัลแลกซ์ เช่น แอลฟาเซนเทารี ซึ่งโปรแกรม
จะแสดงค่ามุมแพรัลแลกซ์ออกมาเป็น 0.74212” ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 แอลฟาเซนเทารี
- จากภาพจะเห็นว่าโปรแกรม Stellarium นอกจาก
จะให้ค่ามุมแพรัลแลกซ์แล้วยังให้ข้อมูลระยะห่างมาด้วย
ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนน�
ำค่าระยะห่างเหล่านี้มาค�
ำนวณกลับหา
มุมแพรัลแลกซ์เอง
- ผู้สอนเฉลยค�
ำตอบแก่ผู้เรียนว่าตรงกับค่าที่ได้จาก
โปรแกรมหรือไม่
เฉลย
แอลฟาเซนเทารี มีค่ามุมแพรัลแลกซ์ออกมา
เป็น 0.74212 พิลิปดา จึงอยู่ห่างเท่ากับ 1/0.74212 พาร์เซก
หรือ 3.26/0.74212 ปีแสง หรือ ประมาณ 4.4 ปีแสง
2. ผู้สอนสามารถยกตัวอย่าง และ/หรือให้แบบฝึดหัด
แก่ผู้เรียนในเรื่องการหาค่ามุมแพรัลแลกซ์จากระยะห่างของ
ดาวฤกษ์โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการใช้โปรแกรม Stellarium
ได้เช่นกัน
ถ้าท่านสังเกตดูจะพบว่าจริง ๆ แล้วโปรแกรม Stellarium
นั้นเป็นเสมือนการจ�
ำลองอวกาศอันกว้างใหญ่ให้เข้ามาอยู่ในจอ
คอมพิวเตอร์ของเรา เพื่อช่วยให้เราสามารถสังเกตและศึกษา
ความลึกลับของห้วงอวกาศอันห่างไกลได้ง่ายขึ้น ในที่นี้ก็ได้มี
การยกตัวอย่างการน�
ำโปรแกรมนี้มาประยุกต์ใช้ในการเรียน
การสอน 2 ตัวอย่างด้วยกัน ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะ
ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นแนวทางแล้วว่าจะสามารถน�
ำโปรแกรม
Stellarium นี้มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอย่างไรรวม
ถึงต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เพื่อที่อนาคตอันใกล้นี้เราจะได้
เห็นประเทศไทยมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ทัดเทียมกับนานา
ประเทศทั่วโลก
บรรณานุกรม
พงศธร กิจเวช. (2556, 28 พฤษภาคม). การแก้ปัญหาภาษาไทยใน
โปรแกรม stellarium. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฏาคม 2556, จาก
http://www.ipst.ac.th/web/index.php/news-and-announcements/articles/item/985-stellarium
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวง
ศึกษาธิการ. (2555).
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน โลก
ดาราศาสตร์ และอวกาศ
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
นิตยสาร สสวท.
36