

39
ที่ดีนี่เอง อย่างไรก็ตามความคิดของเอดิสันไม่ได้เป็นการลอก
เลียนแบบทั้งหมด แต่เป็นการพัฒนาต่อยอดความคิดของผู้อื่น
เพื่อน�
ำมาซึ่งสิ่งประดิษฐ์เพื่อการใช้งานและการค้า
มีงานวิจัยหลายชิ้นพยายามศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ที่
ท�
ำให้คนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ หรือ
ได้ค�
ำตอบของการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น บทความงานวิจัยชื่อ
The cognitive neuroscience of creativity (Arne, 2004)
ได้สรุปสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ดังภาพ
ภาพแสดงสถานการณ์ของการเกิดความคิดสร้างสรรค์
(ที่มา: Arne Dietrich, Psychonomic Bulletin & Review, 2004)
Dietrich ได้อธิบายว่าความคิดสร้างสรรค์ของคนเราอาจ
เกิดได้ใน 4 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ของการเรียนรู้และ
ความพยายาม (cognitive-deliberate) ซึ่งตัวอย่างนี้สามารถ
เห็นได้จากการพยายามและการเรียนรู้ของทอมัส เอดิสัน
ในการลองผิดลองถูกหลายครั้งโดยไม่ย่อท้อ สถานการณ์ที่
สอง เป็นเรื่องของการเรียนรู้และความบังเอิญ (cognitive-
spontaneous) ซึ่งตัวอย่างของสถานการณ์นี้คือ นิวตัน (Isaac
Newton) ที่เป็นคนชอบการเรียนรู้และด้วยความบังเอิญของ
การเจอลูกแอปเปิ้ลหล่นท�
ำให้เขาคิดหาเหตุผลอันน�
ำมาซึ่งกฎ
แรงโน้มถ่วงของโลก สถานการณ์ที่สาม เป็นเรื่องของอารมณ์
และความพยายาม (emotion-deliberate) ซึ่งตัวอย่าง
สถานการณ์นี้คือการเกิดความรู้ใหม่ของอาร์คิมีดีส ที่พยายาม
ครุ่นคิดหาวิธีวัดน�้
ำหนักของทองค�
ำอย่างไม่ย่อท้อ กระทั่งได้มา
ผ่อนคลายอารมณ์ด้วยการลงอ่างน�้
ำแล้วได้คิดว่าการแทนที่
น�้
ำของวัตถุนั่นเอง และสถานการณ์ที่สี่คืออารมณ์และความ
บังเอิญ (emotion-spontaneous) ซึ่งตัวอย่างสถานการณ์
นี้มักเกิดขึ้นกับนักศิลปะหรือนักดนตรีเป็นหลัก
นอกจากนั้น Steven Johnson ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ
Where good ideas come from: the natural history
of innovation (Johnson, 2010)ซึ่งได้อธิบายถึงสถานการณ์
และสภาพแวดล้อมที่ท�
ำให้คนเราเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้เป็น
อย่างดีโดยเนื้อความส่วนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า การเกิดความคิด
สร้างสรรค์ของคนเรามักมาจากการต่อยอดความคิดจากการ
ได้แลกเปลี่ยนความคิดจากผู้คนที่ต่างพื้นฐานความรู้กัน ท�
ำให้
เกิดความคิดใหม่ ๆ และยังได้กล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ของ
นักวิทยาศาสตร์ว่า การมุ่งมั่นทดลองให้ห้องปฏิบัติการไม่ใช่
หนทางของการเกิดความคิดใหม่ ๆ ของนักวิทยาศาสตร์ แต่
เกิดขึ้นจากการได้ไปร่วมประชุมวิชาการและน�
ำเสนอผลงาน
เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างหาก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการ
ได้พบปะผู้คนและได้แลกเปลี่ยนแนวคิดกัน เป็นสถานการณ์ที่
ส�
ำคัญของการเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และด้วยเหตุผล
นี้เองที่ท�
ำให้ Johnson พบว่าร้านกาแฟเป็นสถานที่ที่ก่อให้
เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะคนส่วนมากมักมาพบปะและพูด
คุยกันในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย น�
ำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
เพื่อการพัฒนาต่อยอดความคิดเดิมนั่นเอง
บรรณานุกรม
Dietrich, Arne. (2004). The cognitive neuroscience of
creativity.
Psychonomic Bulletin & Review
,
11
, 1011-1026.
Framework for 21st Century Learning. Retrieved January
2, 2013, from
http://www.p21.orgJohnson, Steven. (2010).
Where good ideas come from
:
the natural history of innovation
. New York: Riverhead
Books.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545).
การคิดเชิงสร้างสรรค์
.
กรุงเทพมหานคร: ซักเซสมีเดีย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กระทรวง
ศึกษาธิการ. (2554).
หนังสือเสริมการเรียนรู้กลุ่มสาระการ
เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยี
.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
ส�
ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551).
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การ
งานอาชีพและเทคโนโลยี
. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชน
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�
ำกัด.
ปีที่ 42 ฉบับที่ 186 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557