

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อสุขอนามัย
และโรคระบาดส่งผลให้คนทั่วโลกกังวลเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้เชื้อโรค หรือพาหะน�
ำโรคบางชนิด
เจริญได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การที่โลกของเรามีการสื่อสาร
กันได้รวดเร็วท�
ำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปได้ง่ายและ
รวดเร็วมากขึ้น
ส�
ำหรับประเทศไทยปัญหาการเกิดโรคอุบัติซ�้
ำ (Re-
emerging infectious disease : REID) ที่ส�
ำคัญโรคหนึ่งที่
เป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับต้น ๆ คือ โรคไข้เลือดออก และ
มาลาเรีย ซึ่งมีพาหะน�
ำโรค คือ ยุง ส�
ำหรับยุงก็เป็นพาหะน�
ำ
โรคชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ด้วย โดยลูกน�้
ำยุงจะพัฒนากลายเป็นยุงที่โตเต็มวัยเร็วขึ้น
ออกหากินถี่ขึ้น ออกไข่เร็วขึ้น บินได้ไกลขึ้น ท�
ำให้โอกาสใน
การเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะเกิดได้เร็วและบ่อยครั้งขึ้น โดย
จะเห็นได้จากข่าวการแพร่ระบาดของโรคในประเทศไทยและ
ประเทศใกล้เคียง
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยุง
ยุงเป็นแมลงในวงศ์คิวลิซิดี (Culicidae) แมลงในวงศ์
นี้มีแถบคู่ที่ปีกและกลางล�
ำตัว มีรูปร่างยาว และขายาว ยุง
เป็นพาหะน�
ำโรคหลายชนิด เช่น ไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้
เหลือง ไข้สมองอักเสบ โรคเท้าช้าง โรคชิคุนกุนยา (โรคไข้
ปวดข้อยุงลาย)
ยุงมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์
(complete metamorphosis) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ (egg)
ลูกน�้
ำ (larva) ตัวโม่ง (pupa) และยุงตัวเต็มวัย (adult) ซึ่ง
ลักษณะการวางไข่ ลูกน�้
ำ ตัวโม่ง และยุง จะแตกต่างตามชนิด
ของยุง ซึ่งความแตกต่างนี้เองจึงน�
ำมาใช้ในการจ�
ำแนกชนิด
ของยุงเพื่อใช้ในการศึกษาและวิจัยต่อไป
การจ�
ำแนกชนิดยุง
การจ�
ำแนกชนิดของยุงมีส่วนช่วยในการสนับสนุนงานด้าน
ชีววิทยาในการควบคุมแมลงที่เป็นพาหะน�
ำโรค โดยจะเน้นที่
ยุงตัวเมีย เนื่องจากยุงตัวเมียจะกินเลือดและเป็นพาหะน�
ำโรค
โดยยุงตัวเมียจะกินเลือดก่อนวางไข่ทุกครั้งเพื่อน�
ำโปรตีนจาก
เลือดไปใช้ในการท�
ำให้ไข่เจริญเติบโตได้เต็มที่
ในการจ�
ำแนกชื่อของยุงสามารถท�
ำได้โดยตาเปล่า ซึ่ง
ต้องอาศัยความช�
ำนาญเฉพาะบุคคล หรือดูได้จากสัณฐาน
วิทยาของยุง เช่น ลักษณะหนวด ลักษณะของเกล็ด ซึ่งต้อง
อาศัยเครื่องมือช่วย เช่น กล้องจุลทรรศน์ แว่นขยาย โดยใช้
รูปวิธานเพื่อการจ�
ำแนก
ส�
ำหรับกลุ่ม (genus) ของยุงที่มีความส�
ำคัญทางการ
แพทย์มี 4 กลุ่มคือ
ภาพวงจรชีวิตของยุง
ยุพาพร ลาภหลาย
ผู้ช�
ำนาญ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก (โครงการ GLOBE) สสวท. / e-mail :
ytipj@ipst.ac.thการศึกษาลูกน�้
ำยุง
กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ไข่
ท่อหายใจ
ไข่เป็นแพ
ลูกน�้
ำ
ตัวโม่ง
ตัวเต็มวัย
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่อนไหว
นิตยสาร สสวท.
44