

ข้อสอบข้อนี้วัดความรู้ด้าน
กระบวนการ และวัดสมรรถนะด้าน
การประเมินและออกแบบกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
นักเรียนจะต้องคิดออกแบบวิธีการ
ส�
ำรวจตรวจสอบข้อมูลซึ่งมีตัวแปร
ต้นถึงสองตัว (ความหนาของชั้นทราย
และความชื้นของทราย) โดยต้องรู้ว่า
ตัวแปรใดเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
หรือตัวแปรควบคุม และจะมีวิธีการ
ส�
ำรวจข้อมูลจากการคลิกปุ่มหรือ
เลื่อนแถบเลื่อนอย่างเป็นระบบเพื่อ
หาค�
ำตอบได้อย่างไร
จะเห็นว่า การประเมินด้วย
ข้อสอบแบบมีปฏิสัมพันธ์ได้นี้ นอกจาก
นักเรียนต้องมีความสามารถด้านการ
คิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาแล้ว ยัง
ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการ
คลิก ลาก วางและพิมพ์ หรือทักษะการ
ส�
ำรวจข้อมูลจากสถานการณ์จ�
ำลองที่
เป็นการทดลองเสมือน ครูจึงควรฝึกให้
นักเรียนเกิดทักษะและมีความคุ้นเคย
กับการท�
ำข้อสอบรูปแบบนี้ให้มากขึ้น
ส�
ำหรับ
สัดส่วนของข้อสอบ
วิทยาศาสตร์
นั้นจะประเมินความรู้ด้าน
เนื้อหา และความรู้ด้านกระบวนการ
ร่วมกับการได้มาของความรู้ ในสัดส่วน
3:2 โดยวัดสมรรถนะการอธิบาย
ปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์
ประมาณ 50% การประเมินและ
ออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความ
รู้ทางวิทยาศาสตร์ ประมาณ 30%
และการแปลความหมายข้อมูลและ
ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์
ประมาณ 20%
โครงการ PISA หวังว่า ข้อมูลที่น�
ำเสนอนี้ จะช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเรื่องการ
ประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของ PISA มากขึ้น ส่วนการประเมินด้านอื่น ๆ ของ
PISA จะเป็นอย่างไร และมีอะไรที่น่าสนใจอีกใน PISA 2015 นั้น ท่านผู้อ่านจะ
ติดตามได้ในโอกาสต่อไป
*** สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างข้อสอบ และเอกสารเผยแพร่ของโครงการ PISA
ได้ที่
http://pisathailand.ipst.ac.th/ปีที่ 42 ฉบับที่ 186 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557
43