

นิตยสาร สสวท.
38
ปัจจุบันมีการกล่าวถึงความส�
ำคัญของความคิดสร้างสรรค์
กันอย่างแพร่หลายแม้กระทั่งในบทความของเครือข่ายองค์กร
ความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partner-
ship for 21th Century Skills) ก็มีการกล่าวอ้างถึงความ
คิดสร้างสรรค์ว่าเป็นหนึ่งในทักษะส�
ำคัญของการเรียนรู้และ
นวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ซึ่งประกอบ
ไปด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาน (critical thinking) การ
สื่อสาร (communication) ความร่วมมือ (collaboration)
และความคิดสร้างสรรค์ (creativity) ในยุคปัจจุบัน
(ที่มา:
www.p21.org)มีผู้ให้ความหมายของค�
ำว่าความคิดสร้างสรรค์ไว้หลาย
ความหมาย เช่น เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2545) ได้ให้ความ
หมายว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
(creative thinking) การขยายขอบเขตความคิดออกไปจาก
กรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อ
ค้นหาค�
ำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ในขณะที่ส�
ำนัก
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2551)
ได้ให้ความหมายว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถ
ทางสมองมนุษย์ที่คิดได้กว้างไกลหลายแง่มุม หลายทิศทาง
น�
ำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งของและแนวทางการแก้ปัญหาใหม่
โดยรวมแล้วความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องของการ
คิดเพื่อการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ หรือเพื่อการพัฒนาต่อยอดของ
เดิม นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของการคิดเพื่อแก้ปัญหาอีกด้วย
โดยความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความ
เป็นไปได้ (workable) ไม่ใช่แค่การเพ้อฝันเท่านั้นและต้องมี
ความเหมาะสม (appropriate) ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งแปลกใหม่
แต่ต้องมีองค์ประกอบของความมีเหตุมีผลและคุณค่าภายใต้ที่
ยอมรับกันทั่วไป ซึ่ง
ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์แบ่งได้
เป็น 4 ลักษณะ
ด้วยกัน (Torrance, 1979) ได้แก่
·
ความคิดริเริ่ม (originality)
เป็นลักษณะความคิด
ที่แปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม ประยุกต์ให้เกิดสิ่งใหม่
ขึ้นที่ไม่ซ�้
ำของเดิม
·
ความคิดคล่อง (fluency)
เป็นความสามารถใน
การคิดหาค�
ำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและมีปริมาณ
มากในเวลาอันจ�
ำกัด
·
ความคิดยืดหยุ่น (flexibility)
เป็นความสามารถใน
การคิดหาค�
ำตอบได้หลายประเภทและหลายทิศทางดัดแปลง
จากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้
·
ความคิดละเอียดลออ (elaboration)
เป็นความ
คิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การเกิดความคิดสร้างสรรค์อาจแบ่งเป็น 2 แนวทาง
หลัก
ได้แก่
แนวทางแรก
: เกิดจากจินตนาการแล้วคิดวิเคราะห์เพื่อ
ศึกษาความเป็นไปได้ จินตนาการของคนเรามีความส�
ำคัญ
มากเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งส่วนมากมักเริ่ม
จากปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ จึงท�
ำให้เราต้องคิด
หาสิ่งใหม่ ๆ แต่อย่างไรก็ตามจินตนาการและความฝันนั้น
อาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงเสมอไป จึงมีความจ�
ำเป็นที่จะ
ต้องพินิจพิเคราะห์ให้ดีแล้วทดลองหรือสร้างสรรค์มันออกมา
แนวทางที่สอง
: เกิดจากการต่อยอดความคิดจากสิ่งเดิมที่มี
อยู่ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจาก
ความคิดของคนเรามักเริ่มจากการมีประสบการณ์และความรู้
เดิม ท�
ำให้เราสามารถคิดต่อยอดหรือพัฒนาปรับปรุงสิ่งเดิมให้
ดีขึ้น ในบางครั้งเราอาจได้แนวคิดจากคนอื่นมาพัฒนาเป็นสิ่ง
ใหม่หรือเชื่อมโยงกับของเดิมที่เรามีอยู่ ซึ่งความคิดลักษณะนี้
เองที่ทอมัส เอดิสัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์นั้นได้น�
ำมาใช้
ในงานธุรกิจสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ จ�
ำนวนมากของเขานั่นเอง จน
บางครั้งมีผู้กล่าวว่าแท้ที่จริงแล้ว เอดิสัน คือผู้ลอกเลียนแบบ