

โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ
(Programme for International Student Assessment
หรือ PISA)
ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทาง
เศรษฐกิจ (OECD) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการศึกษา
ของประเทศต่าง ๆ ว่าได้เตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนใน
การใช้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ดีเพียง
ใดในอนาคต
PISA ประเมินผลนักเรียนกลุ่มอายุ 15 ปี ซึ่งถือว่าเป็น
วัยจบการศึกษาภาคบังคับ เน้นการประเมินความสามารถ
ในการใช้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง หรือที่
เรียกว่า
“การรู้เรื่อง” (Literacy) ในสามด้าน ได้แก่ การรู้
เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์
(Mathematical Literacy) และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
(Scientific Literacy)
การประเมินจะด�
ำเนินการอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 ปี ใน
แต่ละครั้งจะประเมินครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน แต่ให้น�้
ำหนักด้าน
ใดด้านหนึ่งเป็นหลัก และอีก 2 ด้านเป็นรอง โดยปัจจุบันเข้า
สู่การประเมินผล
PISA 2015
ซึ่งประเทศไทยจะจัดสอบใน
เดือน
สิงหาคม พ.ศ. 2558
ในครั้งนี้เน้นการประเมินด้าน
วิทยาศาสตร์
และให้นักเรียนใช้
คอมพิวเตอร์
ในการท�
ำแบบ
ทดสอบ
การประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ตามแนวทาง
PISA เป็นอย่างไร
การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ คือ ความสามารถของบุคคลที่จะ
เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้ากับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
และแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไตร่ตรอง
กรอบการประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของ PISA 2015 มีดังนี้
การประเมินการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
ของ PISA 2015
ดร.นันทวัน นันทวนิช
ผู้ช�
ำนาญ สาขาวิจัย สสวท. / e-mail :
nnant@ipst.ac.thสมรรถนะ
§
การอธิบายปรากฏการณ์ใน
เชิงวิทยาศาสตร์
§
การประเมินและออกแบบ
กระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
§
การแปลความหมายข้อมูล
และประจักษ์พยานในเชิง
วิทยาศาสตร์
นักเรียนต้อง
แสดงออกถึง
สมรรถนะต่าง ๆ
บริบท
สถานการณ์ในชีวิตที่
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
- ระดับบุคคล
- ระดับท้องถิ่น
- ระดับประเทศ
- ระดับโลก
ส่งผลต่อ
ความรู้
§
ความรู้ด้านเนื้อหา
§
ความรู้ด้านกระบวนการ
§
ความรู้เกี่ยวกับการได้มาของ
ความรู้
เจตคติ
§
ความสนใจในวิทยาศาสตร์
§
การเห็นคุณค่าของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ
หาความรู้
§
ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม
นิตยสาร สสวท.
40