Previous Page  25 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 25 / 62 Next Page
Page Background

กระบวนการเรียนรู้แบบ STEM

(Science Technology

Engineering Mathematics)

เป็นการผนวกความรู้ศาสตร์

ทางวิทยาศาสตร์(S) คณิตศาสตร์(M) และเทคโนโลยี(T) เพื่อ

เป็นพื้นฐานความรู้น�

ำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา(E)

เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงการท�

ำโครงงานในโรงเรียนหรือปัญหา

จริงที่เกิดกับตัวผู้เรียนหรือท้องถิ่นของผู้เรียนเอง การน�

ำความ

รู้มาใช้แก้ปัญหาจึงมีความหมายต่อผู้เรียนโดยตรง ท�

ำให้เกิด

การเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนกับการน�

ำมาประยุกต์

ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและในชีวิตจริง

เป้าหมายทักษะศตวรรษที่ 21(21

st

Century Skills)

นอกจากความรู้แกนกลางที่ได้เรียนในห้องเรียนแล้ว

นักเรียนควรมีความรู้หรือทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบ

อาชีพหรือใช้ในชีวิตประจ�

ำวัน โดยเฉพาะอาชีพที่เกิดใหม่ที่ต้อง

อาศัยทักษะ และเทคโนโลยีที่เกิดใหม่มากมายในศตวรรษที่ 21

ทักษะส�

ำหรับศตวรรษที่ 21 เป็นทักษะที่ต้องได้รับการ

ฝึกฝนเพื่อใช้ในชีวิตประจ�

ำวัน และรองรับการแข่งขันในอาชีพ

ที่สูงขึ้นที่เปิดกว้างมากขึ้นไม่เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น ซึ่ง

การเรียนรู้แบบ STEM ในโรงเรียนเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถ

ตอบสนองต่อการพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ผ่านการท�

ำโครงงาน

ต่าง ๆ โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือของการท�

ำโครงงานในยุค

ศตวรรษนี้

ICT: เครื่องมือการเรียนรู้และการท�

ำโครงงาน

ICT ในด้านหนึ่งก็เป็นศาสตร์ทางเทคโนโลยีที่ต้องใช้เวลา

ศึกษาเรียนรู้ อีกด้านหนึ่งก็เป็นเครื่องมือส�

ำหรับน�

ำไปใช้ในการ

แก้ปัญหาในการท�

ำงานในชีวิตประจ�

ำวันหรือน�

ำมาใช้พัฒนา

โครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน เมื่อน�

ำ ICT มาประยุกต์ใช้

จะท�

ำให้มุมมองในการแก้ปัญหาเปิดกว้างมากขึ้นเมื่อเลือกใช้

เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม

การใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการท�

ำโครงงานพอแบ่งได้

เป็น

3

ส่วน คือ

1.

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์

2.

ซอฟต์แวร์

3.

การเขียน

โปรแกรม การใช้เครื่องมือเหล่านี้ ท�

ำได้หลายรูปแบบ เช่น

·

เครื่องมือบางส่วนสามารถน�

ำมาใช้งานได้ทันที เช่น

การใช้ซอฟต์แวร์ส�

ำเร็จรูปส�

ำหรับท�

ำงานเอกสารร่วม

กัน หรือส�

ำหรับใช้สื่อสารกันภายในทีม

·

เครื่องมือบางส่วนต้องท�

ำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพ

ในการใช้งาน เช่น อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มาพร้อมกับ

ซอฟต์แวร์ในตัว หรือ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ต้องอาศัย

การเขียนโปรแกรมเข้าไปเพื่อควบคุมการท�

ำงาน หรือ

ซอฟต์แวร์ส�

ำเร็จรูปบางตัวสามารถเขียนโปรแกรม

เพิ่มเติมเข้าไปได้

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต

เป็นอุปกรณ์ใช้ส�

ำหรับสื่อสาร

ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน มาพร้อมกับอุปกรณ์

ตรวจวัด (sensors) หลายชนิดที่สามารถรับข้อมูลเข้ามาใน

อุปกรณ์และสามารถน�

ำไปใช้กับการท�

ำโครงงานได้ เช่น ระบบ

GPS ที่ใช้ส�

ำหรับหาค่าต�

ำแหน่งปัจจุบันของตัวอุปกรณ์ผ่าน

สัญญาณดาวเทียม ซึ่งค่าต�

ำแหน่งเป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถ

น�

ำไปประยุกต์ใช้ในโครงงานได้

บอร์ดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์

(micro-controller) ซึ่ง

มีใช้มานานแล้วแต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ดีขึ้นและราคา

ถูกลงมากท�

ำให้ได้รับความสนใจมากขึ้นในขณะนี้ โดยเฉพาะ

การน�

ำมาใช้ในการท�

ำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยอุปกรณ์เหล่า

นี้ อาทิ IPST Microbox จัดท�

ำโดยสสวท. หรือบอร์ด Open

Source Arduino ที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก อย่างไรก็ตาม

บอร์ดควบคุมเหล่านี้ต้องอาศัยการเขียนโปรแกรมเข้าไป

เชื่อมต่อ STEM ด้วยโครงงานและ ICT

สู่ทักษะศตวรรษที่ 21

สมชาย พัฒนาชวนชม

ผู้ช�

ำนาญ ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สสวท. / e-mail :

sphat@ipst.ac.th

ปีที่ 42 ฉบับที่ 186 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

25