

รูปที่ 3 แสดงต�
ำแหน่งการจัดวางของเฟืองขับและเฟืองบายศรีแบบไฮปอยด์บีเวล
(ที่มา:
http://www.tatc.ac.th/files/09021213134814_11052619190547.pdf)รูปที่ 2 แสดงการน�
ำสมบัติของภาคตัดกรวยมาใช้ออกแบบด้านอุตสาหกรรม
ยานยนต์ (ที่มา:
http://www.autoyim.com/260646,
http://img.tarad.com/shop/a/asiatrailer/img-lib/spd_20100215145724_b.jpg และ http://www.
myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=88460)รูปที่ 1 แสดงภาคตัดกรวย
(ที่มา: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
23
ภิญญดา กลับแก้ว
นักวิชาการ สาขาคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย สสวท. / e-mail :
pklub@ipst.ac.th“ภาคตัดกรวย” ได้มาจากการ “ตัดกรวย” จริง กล่าวคือ ถ้าต่อ
กรวยกลมตรงสองชิ้นโดยหันจุดยอดเข้าหากัน แล้วตัดกรวยในแนว
ต่าง ๆ ด้วยระนาบ รอยตัดที่ได้จะแตกต่างกันไปดังรูปที่ 1 ดังนั้น
ภาคตัดกรวย (conic section หรือ conic) ในทางคณิตศาสตร์
จึงหมายถึงเส้นโค้งที่ได้จากการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ไม่ผ่าน
จุดยอดของกรวย เรียกเส้นโค้งที่ได้จากการตัดว่า วงกลม วงรี
พาราโบลา และไฮเพอร์โบลา
ไฮเพอร์โบลา...
พาสร้างสรรค์
การศึกษาเกี่ยวกับภาคตัดกรวยเริ่มมานานแล้ว โดยเส้นโค้งที่
เกิดขึ้นไม่เพียงให้ความสวยงามเท่านั้น แต่สามารถน�
ำไปใช้
ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใน พ.ศ. 2133 (ค.ศ. 1590) กาลิเลโอ
พบว่ าขีปนาวุธที่ยิงขึ้นจากพื้นดินด้วยมุมที่ก�
ำหนดมีวิถีการ
เคลื่อนที่เป็นพาราโบลา ใน พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609) โยฮันส์ เคปเลอร์
พบว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โดยมีด
วงอาทิตย์เป็นโฟกัสจุดหนึ่ง ปัจจุบันจึงได้มีการศึกษาและน�
ำสมบัติ
ต่าง ๆ ของภาคตัดกรวยไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงเพิ่มมากขึ้น เช่น
ในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้มีการออกแบบล้อของยานพาหนะเป็น
วงกลมที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ การออกแบบตัวถัง
หรือส่วนประกอบของยานพาหนะให้มีหน้าตัดเป็นวงรีเพื่อลด
ระดับจุดศูนย์ถ่วงลงและลดความเสี่ยงในการพลิกคว�่
ำหรือ
การกระแทกซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุตามมา หรือการออกแบบไฟหน้า
ของยานพาหนะที่ต้องอาศัยความรู้เรื่องพาราโบลา ดังแสดงในรูปที่ 2
อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าสามารถน�
ำ
สมบัติของไฮเพอร์โบลาไปใช้ประโยชน์ดังเช่นกรณีของวงกลม วงรี
หรือพาราโบลาได้หรือไม่ ดังนั้นในบทความนี้จะขอพูดถึงการน�
ำ
สมบัติของไฮเพอร์โบลาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีการออกแบบเฟืองท้าย (differential)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ท�
ำให้ล้อด้านซ้ายและล้อด้านขวาของรถหมุนไป
ด้วยความเร็วที่แตกต่างกันในขณะเข้าโค้งโดยเฉพาะรถยนต์ที่ขับ
เคลื่อนล้อหลัง เฟืองท้ายจะมีเฟืองวงแหวนหรือเฟืองบายศรีและ
เฟืองขับเป็นส่วนประกอบซึ่งต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับไฮเพอร์โบ
ลาในการออกแบบการหมุนของเฟืองท้าย และจัดเฟืองขับให้วาง
เยื้องจากเส้นผ่านศูนย์กลางของเฟืองบายศรี ท�
ำให้เฟืองมีอัตรา
การขบที่มากกว่า จึงมีเสียงเงียบ เรียกการจัดเฟืองท้ายแบบนี้ว่า
ไฮปอยด์บีเวล (hypoid bevel gear)