Previous Page  13 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 13 / 62 Next Page
Page Background

ดังนั้นแรงที่กระท�

ำต่อยานอวกาศมวล m จึงเท่ากับ

แต่โลกมวล M ดึงยานอวกาศด้วยแรงโน้มถ่วงตามกฎนิวตันเท่า

กับ ท�

ำให้

ยานอวกาศจะต้องมีความเร็วตามสมการข้างบนนี้จึงจะโคจร

รอบโลกได้ เช่น ที่ความสูง 420 กิโลเมตร ยานอวกาศจะต้องมี

ความเร็ว 7.66 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 27,576 กิโลเมตรต่อ

ชั่วโมง จึงจะอยู่ในวงโคจรนี้ได้

มีแต่เกิดในเวลาสั้นมาก เพราะเกิดขณะก�

ำลังตกอย่างอิสระ

หรือขณะที่อยู่ในสภาวะไร้น�้

ำหนัก ถ้ามีหอสูงมาก ๆ ที่อยู่

ภายใต้สุญญากาศจะเพิ่มเวลาของการมีไมโครแกรวิตีได้มากขึ้น

ดังนั้นการทดลองเกี่ยวกับไมโครแกรวิตีที่ต้องใช้เวลานาน ๆ จึง

ต้องท�

ำในสถานีอวกาศ เช่น การทดลองบนสถานีอวกาศ

นานาชาติของเที่ยวบิน STS-87 และ STS-107 เป็นต้น

1.อุปกรณ์การวิจัยซีโรแกรวิตีขององค์การนาซา

(NASA’s

ZeroGravity Research Facility) อยู่ในศูนย์วิจัยเกลนน์คลีฟแลนด์

รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เป็นศูนย์ทดลองไมโครแกรวิตีบนพื้นโลก

ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถสร้างสภาวะไร้น�้

ำหนักได้นาน 5.18

วินาที โดยห้องทดลองสุญญากาศเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.1 เมตร

ลึก 142 เมตร อยู่ภายในช่องลิฟต์คอนกรีตขนาดเส้นผ่าน

ศูนย์กลาง 8.7 เมตร ลึก 155 เมตร จากระดับพื้นดิน แต่ระยะ

ทางที่ใช้ทดลองตกอย่างอิสระยาว 132 เมตร ส่วนระบบที่รองรับ

หรือหยุดกา ร เ คลื่อนที่ เ ป็ นรถชะลอคว าม เร็ วที่มี เ ส้ น

ผ่านศูนย์กลาง 3.3 เมตร สูงเกือบ 6.1 เมตร บรรจุด้วยเม็ดกลม

เล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ท�

ำด้วยพอลิสไตรีน

ที่ขยายตัวได้ เม็ดพอลิสไตรีนเหล่านี้รับถ่ายโอนความร้อนจาก

ยานมวล 1,130 กิโลกรัม ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 50.5 เมตร

ต่อวินาที และหยุดในระยะ 4.6 เมตร เม็ดกลมพอลิสไตรีน

ทั้งหมดจึงรองรับแรงมหาศาลเพราะความเร่งของยานจะมากถึง

65 (65 เท่าของความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก หรือ

หนักมากขึ้น 65 เท่า)

g

ปีที่ 43 ฉบับที่ 193 มีนาคม - เมษายน 2558

13

รูป 1. นักบินอวกาศอยู่ภายใต้ไมโครแกรวิตีในสถานีอวกาศนานาชาติ ISS

รูป 2. อุปกรณ์การวิจัยซีโรแกรวิตีของนาซาที่ศูนย์วิจัยเกลนน์

ผู้วิจัยก�ำลังติดตั้งยาน เหนือห้องสุญญากาศ

บนโลกมีไมโครแกรวิตีหรือไม่

ตัวอย่างของหอสูงที่ใช้ทดลองไมโครแกรวิตีบนโลกมีหลายแห่งเช่น

2.อุปกรณ์การวิจัยซีโรแกรวิตีขององค์การนาซา

ที่ศูนย์

การบินอวกาศมาร์แชลล์ คล้าย ๆ กับอุปกรณ์ที่ศูนย์วิจัยเกลนน์

แต่ระยะตกอย่างอิสระสั้นกว่าเป็น 105 เมตร จึงอยู่ในสภาวะไร้

น�้

ำหนักได้เพียง 4.6 วินาที

3.ห้องปฏิบัติการไมโครแกรวิตีของญี่ปุ่น

สามารถสร้าง

สภาวะไร้น�้

ำหนักได้นาน 4.5 วินาที

4.หอสูงของมหาวิทยาลัยเบรเมน

เป็นศูนย์เทคโนโลยี

อวกาศประยุกต์และไมโครแกรวิตีของมหาวิทยาลัยเบรเมน

เมืองเบรเมน เยอรมนี หอสูง 123 เมตร มีระยะตกอย่างอิสระ

110 เมตร สามารถสร้างสภาวะไมโครแกรวิตีได้ 4.74 วินาที