Previous Page  5 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 5 / 62 Next Page
Page Background

ตัวอย่างผลการอภิปราย

อะตอมจะดูดกลืนพลังงานของ

อนุภาคของแสง หรือ โฟตอน เมื่อโฟตอนนั้นมีพลังงานที่

เหมาะสม ซึ่งในที่นี้ พลังงานที่เหมาะสมคือพลังงานที่มีค่าเท่ากับ

ความต่างของระดับพลังงานที่ 2 กับระดับพลังงานที่สถานะพื้น

และเมื่ออะตอมดูดกลืนโฟตอนไว้แล้ว จะอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น

ในเวลาสั้น ๆ ก่อนจะปล่อยโฟตอนที่มีความถี่เท่ากับโฟตอนที่

ดูดกลืนเข้าไปออกมา เพื่อกลับเข้าสู่สถานะพื้นฐานระดับพลังงาน

ของอะตอมมีความสัมพันธ์กับสีและพลังงานของแสงเลเซอร์

ถัดมา ให้ผู้เรียนศึกษาตัวแปรต่าง ๆ ที่อยู่ในด้านขวามือของ

โปรแกรม (30 นาที) โดยเริ่มจากให้ผู้เรียนคลิกที่ขีดของระดับ

พลังงานที่ 2 แล้วลากขึ้นหรือลง แล้วปล่อย ให้ผู้เรียนสังเกต

สิ่งที่เกิดขึ้น จากนั้น ให้ผู้เรียนพยายามปรับสีของโฟตอนที่ปล่อย

ออกมาจากโคมไฟให้ตรงกับสีของระดับพลังงานที่ 2 ของอะตอม

สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างผลการอภิปราย

เมื่อชั่วชีวิตของระดับพลังงานมากขึ้น

(ปรับเข็มชี้ไปด้ านขวามือ) อะตอมจะใช้ เวลามากขึ้นใน

การกลับสู่สถานะพื้นฐาน และโฟตออนที่ถูกปล่อยออกมาจาก

อะตอมจะมีทิศทางไม่แน่นอน เมื่อชั่วชีวิตสั้นลง (ปรับเข็มชี้ไป

ทางซ้ายมือ) อะตอมจะกลับสู่สถานะพื้นฐานได้เร็วขึ้น และ

โฟตอนที่ปล่อยออกมา จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต่างจาก

โฟตอนที่ถูกดูดกลืนเข้าไปมากยิ่งขึ้น

ต่ อมา ให้ ผู้ เรียนลองคลิกที่ช่ องสี่เหลี่ยมหน้ าค�

ำว่ า

Enable mirrors เพื่อติดตั้งกระจกในกรอบรูปทรงกระบอก โดย

ให้คงค่าสัดส่วนการสะท้อนแสง (Mirror Reflectivity) ไว้ที่

100 % จากนั้น ให้ผู้เรียนสังเกตและอภิปรายกับสมาชิกในกลุ่ม

ถึงสิ่งที่แอนิเมชันแสดง

ตัวอย่างผลการอภิปราย

เมื่อมีกระจก โคมไฟจะดับลง

เปรียบเสมือนว่า แสงไม่สามารถผ่านด้านหลังของกระจกได้ ส่วน

โฟตอนที่เหลืออยู่ในกรอบรูปทรงกระบอก จะสะท้อนกลับไป

กลับมา ในทิศทางต่าง ๆ และในที่สุด โฟตอนจะเคลื่อนที่ออกไป

จากกรอบรูปทรงกระบอก จนไม่มีโฟตอนเหลืออยู่เลย ดังนั้น

การไม่มีแสงเข้ามากระตุ้นอะตอมอย่างต่อเนื่องจะไม่สามารถ

ท�

ำให้เกิดแสงเลเซอร์ได้

ผู้สอนอาจให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ส่วนของรูปทรงกระบอกที่มี

กระจกติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านเรียกว่า “โพรงเรโซแนนต์

(resonant cavity)” หรือ “โพรงเลเซอร์” (laser cavity)

หลังจากผู้เรียนได้สังเกตผลที่เกิดจากการติดตั้งกระจกแล้ว

ให้ลองน�

ำกระจกออกจากโพรงเลเซอร์ โดยคลิกช่องหน้าค�

ำว่า

Enable mirrors อีกครั้ง จากนั้นให้เปลี่ยน จ�

ำนวนระดับพลังงาน

จาก 2 เป็น 3 โดยคลิกที่วงกลมหน้าค�

ำว่า “Three” ในกรอบ

สี่เหลี่ยมที่มีค�

ำว่า Energy Levels ซึ่งโปรแกรมจะแสดงโคมไฟ

2 โคม โดยโคมไฟด้านข้างโพรงเลเซอร์ ให้โฟตอนที่เคลื่อนที่ใน

แนวเดียวกับแกนของโพรง ส่วนอีกโคมให้โฟตอนที่เคลื่อนที่

ในแนวตั้งฉากกับแกนของโพรง ดังภาพที่ 4

ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนลองปรับระดับพลังงานที่ 2 ไปที่ระดับ

ต่าง ๆ และลองปรับสีของโฟตอนอีก จนได้โฟตอนที่ปลดปล่อย

ออกมาจากอะตอม 7 สี (แดง แสด เหลือง เขียว น�้

ำเงิน และ

ม่วง) จากนั้นให้ผู้เรียนอภิปรายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และ อภิปราย

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ของลักษณะของแสง เลเซอร์ กับ

กระบวนการที่ใช้สร้างแสงเลเซอร์ที่แสดงในแอนิเมชัน

ผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้เรียนว่า อะตอมที่อยู่ในสภาวะ

กระตุ้นมีการปล่อยโฟตอนออกมาโดยธรรมชาติ เพื่อกลับเข้าสู่

สถานะพื้นฐานเรียกว่า “การปล่อยที่เกิดเอง” (spontaneous

emission)

เมื่อผู้เรียนได้ลองจัดให้อะตอมมีการปล่อยอนุภาคแสงสีใด

สีหนึ่งแล้ว ให้ผู้เรียนลองปรับค่า ชั่วชีวิต ซึ่งเป็นแถบที่อยู่ติด

กับเส้ นของระดับพลังงาน จากนั้นให้ ผู้ เรียนอภิปราย

สิ่งที่สังเกตได้กับสมาชิกในกลุ่ม

ภาพที่ 4 โปรแกรม PhET Simulator แสดงโคมไฟ 2 โคม ส�ำหรับอะตอมที่มีระดับ

พลังงาน 3 ระดับ

(ที่มา: PhET Interactive Simulations, University of Colorado, http://phet.

colorado.edu)

ภาพที่ 3 โปรแกรม PhET Simulator แสดงผลจากการเปลี่ยนระดับพลังงานที่อยู่ใน

กรอบด้านขวามือบน

(ที่มา: PhET Interactive Simulations, University of Colorado, http://phet.

colorado.edu)

ปีที่ 43 ฉบับที่ 193 มีนาคม - เมษายน 2558

5