Previous Page  6 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 6 / 62 Next Page
Page Background

ภายใน Lamp Control ของโคมไฟด้านบน ให้ผู้เรียนลอง

ปรับให้โฟตอนที่ปล่อยออกมามีสีเดียวกับสีของระดับพลังงาน

ที่ 3 ใน Lamp Control ด้านข้าง ให้ปรับให้โฟตอนมีสีเดียวกับ

สีของระดับพลังงานที่ 2 จากนั้นปล่อยให้แอนิเมชันแสดงผล

ประมาณ 30 วินาที สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น และอภิปรายกับสมาชิก

ในกลุ่ม บันทึกผลการสังเกตและการอภิปรายในใบกิจกรรม

ตัวอย่างผลการอภิปราย

เมื่ออะตอมมีระดับพลังงาน 3

ระดับ โคมไฟด้านบนที่ให้โฟตอนที่มีพลังงานตรงกับระดับ

พลังงานที่ 3 จะท�

ำให้อะตอมอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้นในระดับ

พลังงานที่ 3 ซึ่งภายในเวลาไม่นาน อะตอมดังกล่าวจะเกิด

การปล่อยที่เกิดเอง เพื่อลงไปอยู่ในระดับพลังงานที่ 2 จากนั้น

อะตอมดังกล่าวจะกลับไปสู่สถานะพื้นฐานได้ 2 ทาง คือ

เกิดการปล่อยที่เกิดเอง แล้วกลับเข้าสู่สถานะพื้นฐาน หรือ

เกิดการปล่อยที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยโฟตอนที่มาจากโคมไฟ

อีกอันที่อยู่ด้านข้าง ซึ่งโฟตอนที่ถูกปล่อยออกมาจากการได้รับ

การกระตุ้นด้วยโฟตอนของโคมไฟด้านข้าง จะมีความถี่ (สี) และ

ทิศทางการเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับโฟตอนที่มากระตุ้น

ผู้สอนให้ความรู้เพิ่มเติมว่า การปล่อยโฟตอนของอะตอมเพื่อ

กลับเข้าสู่สถานะพื้นฐานซึ่งเกิดจากการกระตุ้นด้วยโฟตอนอีกตัว

ในลักษณะที่ผู้เรียนสังเกตได้จากแอนิเมชันข้างต้น เรียกว่า

“การปล่อยโดยการกระตุ้น” (stimulated emission)

จากนั้น ให้ผู้เรียนคลิกที่ปุ่ม Enable mirrors โดยให้ปรับ

สัดส่วนการสะท้อนแสง ของกระจกเป็น 95 % แล้วให้ผู้เรียน

สังเกตสิ่งที่แอนิเมชันแสดงประมาณ 1 - 2 นาที และอภิปราย

กับสมาชิกในกลุ่มถึงสิ่งที่เกิดขึ้น (3 นาที)

ตัวอย่างผลการอภิปราย

การใช้กระจกท�

ำให้โฟตอนที่ถูก

ปล่อยออกมาจากอะตอม มีการเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อน

ที่เป็นระเบียบมากขึ้น และ เคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับแกนของ

โพรงเลเซอร์ ส่งผลให้แสงเลเซอร์ที่จะถูกสร้างขึ้น มีความเป็น

อาพันธ์ (coherent) และเป็นล�

ำของแสงที่มีทิศทางเดียวแน่นอน

(collimated) และ เมื่อมีการปรับสัดส่วนการสะท้อนแสงของ

กระจกให้เป็น 95% โฟตอนบางตัวจะสามารถผ่านกระจกออก

สู่ภายนอกโพรงเลเซอร์ได้

จากนั้นผู้สอนให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันกับสมาชิกในกลุ่ม

เพื่อตอบค�

ำถามว่า “การที่อะตอมมีระดับพลังงาน 3 ระดับมี

ประโยชน์อย่างไรกับกระบวนการสร้างแสงเลเซอร์” ให้ผู้เรียน

บันทึกข้อสรุปที่ได้จากการอภิปรายลงในใบกิจกรรม (5 นาที)

ตัวอย่างผลการอภิปราย

เนื่องจาก การจะสร้างแสงเลเซอร์

ได้ ต้องมีการท�

ำให้อะตอมเกิด การปล่อยโดยการกระตุ้น การที่

อะตอมมีระดับพลังงาน 3 ระดับ ช่วยให้โอกาสที่อะตอมจะเกิด

การปล่อยโดยการกระตุ้นมีมากกว่าการที่อะตอมมีเพียงระดับ

พลังงาน 2 ระดับ

เมื่อผู้เรียนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างจ�

ำนวน

ของระดับพลังงานกับกระบวนการให้ก�

ำเนิดแสงเลเซอร์แล้ว ให้

ผู้เรียนพิจารณาการสร้างแสงเลเซอร์ด้วยอะตอมหลายอะตอม

โดยคลิกที่ Multiple Atoms (Lasing) ดังแสดงในภาพที่ 5

จากนั้น เมื่อผู้เรียนได้บันทึกวิธีการที่ตกลงกันไว้เรียบร้อย

แล้ว ให้ด�

ำเนินการปฏิบัติตามขั้นตอนของกลุ่มตนเอง โดยใน

แต่ละขั้นตอนให้สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในแอนิเมชัน และบันทึกผล

การสังเกตในใบกิจกรรม (5 นาที)

ตัวอย่างวิธีการสร้างแสงเลเซอร์ด้วย PhET Simulator

1.เลือก Tab ด้านบนที่มีค�

ำว่า Multiple Atoms (Lasing)

2.เลือกระดับพลังงาน 3 ระดับ โดยคลิกที่วงกลมหน้าค�

ำว่า

Three ในช่อง Energy Levels

3.ปรับให้ชั่วชีวิต ของระดับพลังงานที่ 2 มากที่สุด

4.ปรับให้สีของโฟตอนจากโคมไฟตรงกับสีของระดับพลังงาน

ที่ 3

5.ติดตั้งกระจกที่ปลายทั้งสองของโพรงเลเซอร์ โดยคลิกที่

ช่อง Enable Mirrors และปรับค่า Mirror Reflectivity เป็น

95%

6.ปรับความเข้มของแสงที่ปล่อยออกมาจากโคมไฟ เพื่อให้

จ�

ำนวนอะตอมที่อยู่ในสภาวะถูกกระตุ้นที่ระดับพลังงานที่ 2

มีมากที่สุด ดังแสดงในภาพที่ 6

ผู้สอนให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันกับสมาชิกในกลุ่มว่า ในกรณีที่

จ�

ำนวนของอะตอมตัวกลางส�

ำหรับให้ก�

ำเนิดแสงเลเซอร์มีหลาย

อะตอม ผู้เรียนจะต้องมีการปรับค่าตัวแปรใดบ้างใน Simulator

และจะต้องปรับในลักษณะใด เพื่อให้ simulator ให้ก�

ำเนิดแสง

เลเซอร์จ�

ำลอง และเมื่อสมาชิกในกลุ่มได้ข้อตกลงของวิธีการ

ด�

ำเนินการในการสร้างแสงเลเซอร์จ�

ำลองแล้ว ให้บันทึกวิธีการ

ของการปรับค่าแต่ละขั้นตอนในใบกิจกรรม พร้อมให้เหตุผล

ประกอบว่า เพราะเหตุใด จึงต้องปรับค่าของตัวแปรนั้น ๆ ใน

ลักษณะดังกล่าว (5 นาที)

ภาพที่ 5 โปรแกรม PhET Simulator แสดงส่วนประกอบของการให้ก�

ำเนิดแสง

เลเซอร์ด้วยอะตอมหลายอะตอม

(ที่มา: PhET Interactive Simulations, University of Colorado, http://phet.

colorado.edu)

6

นิตยสาร สสวท.