

4
นิตยสาร สสวท
เมื่อจบการศึกษาปริญญาเอก ก็ได้กลับมาท�
ำงาน
เป็นนักวิชาการต่อที่สาขาคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ริเริ่มท�
ำงาน
โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนงาน สสวท. และได้รับ
ต�
ำแหน่งต่างๆ เรื่อยมาตามล�
ำดับ ตั้งแต่หัวหน้าโครงการ
หัวหน้าฝ่ายแผนงานและงบประมาณ ผู้ช่วยผู้อ�
ำนวยการ
รองผู้อ�
ำนวยการ และผู้อ�
ำนวยการ สสวท. ในที่สุด
ดิฉันโชคดีที่ได้ ท�
ำงานตรงกับสิ่งที่เรียนรู้ มา
และเติบโตมาจากการท�
ำงานกับ สสวท. ฉะนั้น ความรอบรู้
ในงานของ สสวท. ก็ไม่มีอะไรน่าห่วง เพียงแต่มีข้อจ�
ำกัดว่า
เราไม่ได้ท�
ำงานที่หน่วยงานอื่นเลย จึงต้องสะสมองค์ความรู้
และประสบการณ์ในการท�
ำงานจากเครือข่ ายรอบตัว
รู้สึกภูมิใจและดีใจที่ได้มาท�
ำงานและบริหารงานที่ สสวท.
ซึ่งเป็นงานที่ส่งผลกระทบในระดับชาติ
บทบาทของ สสวท. ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทย
ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดิฉันตระหนักเสมอ
ว่าจะต้องท�
ำอย่างไรจึงจะท�
ำให้พันธกิจ หรือการท�
ำงาน
ขององค์กรสนองตอบการเปลี่ยนแปลงทั้งสังคมไทยและ
สังคมโลก โดยในช่วงที่ผ่านมา การท�
ำงานของ สสวท.
ส่วนหนึ่งที่ส�
ำคัญ คือ การสร้างก�
ำลังคนที่มีความสามารถ
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งโครงการพัฒนาและ
ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(พสวท.) โครงการโอลิมปิกวิชาการ โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพ
ด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถ
ของเยาวชนไปจนถึงระดับสูง ซึ่งโครงการโอลิมปิกวิชาการ
จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความตระหนักให้สังคมได้เห็น
ความส�
ำคัญและเข้ ามาเรียนเฉพาะทางด้ านนี้มากขึ้น
โครงการ พสวท. ก็ยังมีความจ�
ำเป็นที่ต้องด�
ำเนินการต่อ
เพราะประเทศยังขาดก�
ำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อยู่มาก ผลผลิตจากโครงการ พสวท. ไม่ได้เน้นเฉพาะ
การประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น
แต่ต้องเป็นนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดยแท้จริงเพื่อสร้าง
องค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรมใหม่ให้สังคมไทย
และสิ่งที่ท้าทายของ สสวท. คือ ท�
ำอย่างไร
จะท�
ำให้ประสิทธิภาพของการศึกษาวิทยาศาสตร์ ไทย
ในภาพรวมของประเทศประสบความส�
ำเร็จ โดยเฉพาะ
โรงเรียนขนาดเล็ก หรือโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร
ยังเป็นเรื่องยากมากๆ เพราะมีข้อจ�
ำกัดมากมาย เช่น
เรื่องของบทบาทหน้าที่ ซึ่งอาจทับซ้อนกันหลายหน่วย
งาน ทั้งครูในระบบที่มีคุณภาพก็ขาดแคลน เรื่องของงบประมาณ
สื่อการเรียนรู้ต่างๆ การบริหารจัดการในพื้นที่ การวัดและประเมินผล
ซึ่งยังไม่สอดคล้องกัน ความยากตรงนี้ก็เป็นความท้าทายในการ
ท�
ำงาน ซึ่งแม้ว่า สสวท. จะมีการวิจัย พัฒนางาน พัฒนาสื่อการเรียนรู้
มาอย่างต่อเนื่อง แต่ผลผลิตเหล่านั้นยังไปไม่ถึงผู้ใช้เท่าที่ควร
ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่คาดหวังจึงยังกระเตื้องขึ้นแต่ไม่มากนัก
แต่ก็มีความก้าวหน้าไปในระดับหนึ่งแล้ว
อีกอย่างคือการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ที่มีศักยภาพสูง สสวท. ได้ร่ วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย
ผลิตครูคุณภาพตามโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษ
ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ถึง 4-5 พันคน แต่ก็ยัง
ไม่มากพอกับความต้องการของประเทศ และไม่เพียงพอต่อการพัฒนา
การศึกษาไทยอย่างก้าวกระโดด หลักสูตรที่ผลิตครู กับหลักสูตร
ในโรงเรียนยังไม่เชื่อมโยงกัน ครูฝึกหัดจึงยังมีข้อจ�
ำกัดในหลายประเด็น
บัดนี้การด�
ำเนินงานของ สสวท. ล่วงเลยมาถึงสี่ทศวรรษแล้ว
การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนกลุ่มใหญ่ ยังไปได้ช้า ฉะนั้น สสวท.
จึงจ�
ำเป็นต้องมีการท�
ำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ให้มากขึ้นและ
หลากหลาย เพื่อช่วยกันผลักดันและพัฒนาทิศทางการด�
ำเนินงาน
ให้สอดคล้องต่อเนื่อง และสัมฤทธิ์ผลร่วมกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สสวท. ได้น�
ำสะเต็มศึกษาเข้ามาผลักดัน ส่งเสริมสู่
สถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนคิดเป็น ท�
ำเป็น และแก้ปัญหาได้
มีทักษะชีวิต พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และประกอบอาชีพ
ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ หรืออาชีพอื่นๆ ก็ต้องใช้ทักษะ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จึงต้องอาศัยบุคลากร
ทุกฝ่ายในสถานศึกษา และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับ
นโยบายของประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนส�
ำคัญ จะท�
ำให้ เกิด
การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น และมีความหลากหลายของการเรียนรู้
ในเชิงพัฒนาการ
สะเต็มศึกษาจะน�
ำไปสู่การพัฒนาครูผู้สอนและผู้เรียน
อีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชุมชนและภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมผลักดันการเรียนการสอน
ให้นักเรียนได้คิดแก้ปัญหาโครงงานบูรณาการต่างๆ เพื่อเป็นการฝึก
ให้มีทักษะในศตวรรษใหม่ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการคิดวิเคราะห์
การสื่อการ การร่วมมือกัน เพื่อให้เยาวชนที่จบการศึกษาภาคบังคับ
พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้
บทบาท สสวท. เน้นการวิจัย พัฒนา และคิดสร้างสรรค์
ผลผลิต เผยแพร่ผ่านเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ เพื่อให้มีการใช้
ผลผลิตอย่างทั่วถึง โดยต้องอาศัยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาสพฐ สช.
อปท. ฯลฯ ซึ่งต้องร่วมมือกันผลักดันให้สัมฤทธิผล อย่างเป็นรูปธรรม