Table of Contents Table of Contents
Previous Page  49 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 49 / 62 Next Page
Page Background

49

ปีที่ 44 ฉบับที่ 199 มีนาคม-เมษายน 2559

ความส�คัญของนิวตริโนั

บวง ารฟิสิ ส์

และชีวิตประจ�วันของคนทั่วไป

การศึกษาเกี่ยวกับนิวตริโน นอกจากอาจจะน�

ำไป

สู่ทฤษฎีทางฟิสิกส์ใหม่ๆ แล้ว ยังสามารถช่วยให้นักฟิสิกส์

ได้เข้าใจวิวัฒนาการของเอกภพยิ่งขึ้น เพราะถึงแม้นิวตริโน

จะเป็นอนุภาคที่มีมวลน้อยมาก แต่เมื่อพิจารณาจ�

ำนวน

นิวตริโนทั้งหมดในเอกภพ โดยประมาณแล้ว นักฟิสิกส์ได้

ค�

ำนวณไว้ว่า มวลทั้งหมดมีค่าใกล้เคียงกับมวลของดวงดาว

ที่มองเห็นได้ทั้งหมดในเอกภพ ดังนั้น การศึกษาธรรมชาติ

และวิวัฒนาการของเอกภพจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่นักฟิสิกส์

จะต้องเข้าใจธรรมชาติของนิวตริโน

การที่นิวตริโนมีอันตรกิริยากับสสารต่างๆ ทั่วไป

ในเอกภพน้อยมาก นักฟิสิกส์จึงได้อาศัยนิวตริโนเป็น

เสมือน “ผู้ส่งสาร” (Messenger) ของเหตุการณ์ส�

ำคัญ

หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเอกภพ ไม่ว่าจะเป็น ซูเปอร์โนวา

(Supernova) หรือ กระบวนการของการก่อก�

ำเนิดเอกภพ

(Big Bang) ซึ่งหากนักฟิสิกส์สามารถสกัดข้อมูลต่างๆ จาก

นิวตริโนที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากเหตุการณ์เหล่านี้

พวกเขาจะสามารถได้ข้อมูลใหม่ๆ ที่ไม่ไม่สามารถหาได้ด้วย

วิธีเดิมๆ ความพยายามในการศึกษาเอกภพด้วยนิวตริโน

ท�

ำให้ เกิดสาขาวิจัยใหม่ชื่อว่ า ดาราศาสตร์นิวตริโน

(Neutrino astronomy)

ที่มา

http://starfishquay.blogspot.com/2013/11/ the-era-of-neutrino-astronomy-has-begun.html

นอกจากนี้ ยังมีการใช้นิวตริโนศึกษาองค์ประกอบ

ทางธรณีวิทยา ซึ่งส่งผลให้เกิดสาขาวิจัย Neutrino Geophysics

ที่ยังเปิดกว้างส�

ำหรับการได้ค้นพบข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับ

องค์ประกอบชั้นในของโลก

ในอนาคต เมื่อนักฟิสิกส์ เข้าใจธรรมชาติของ

นิวตริโนมากยิ่งขึ้น การน�

ำนิวตริโนมาประยุกต์ใช้อาจเกิด

อีกได้อีกหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2012

นักวิทยาศาสตร์ได้สาธิตการน�

ำนิวตริโนมาใช้เป็นพาหะใน

การส่งสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องเร่งอนุภาคส่งนิวตริโนผ่าน

ชั้นหินหนากว่า 780 ฟุต ไปยังผู้รับอีกด้านหนึ่ง

เมื่อนิวตริโนเผยให้เห็นสมบัติใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น

การน�

ำนิวตริโนไประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ จะเกิดขึ้นตามมา

ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ใครจะสามารถคาดเดาได้ว่าจะมีการ

ประยุกต์อย่างไร คล้ายกับกรณีการพยายามท�

ำความเข้าใจ

ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกของไอน์สไตน์ ที่มีจุดมุ่งหมาย

เพียงเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ แต่ภายหลัง ได้มี

การน�

ำความเข้าใจที่ตกผลึกมาประยุกต์ใช้ในการสร้างอุปกรณ์

อ�

ำนวยความสะดวกให้กับการด�

ำรงชีวิตมากมาย

การศึกษาธรรมชาติของนิวตริโนจึงไม่เพียงมีความส�

ำคัญ

กับการตอบค�

ำถามในระดับพื้นฐานทางฟิสิกส์ แต่อาจน�

ำไป

สู่การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและ

แก้ปัญหาต่างๆ ที่ยังไม่มีใครสามารถคาดเดาได้

บรรณานุกรม

Halzen, F., & Martin, A. D. (2008).

Quarks and Leptons: An Introductory Course in Modern Particle Physics

. John Wiley & Sons, Inc.

Lincoln, D., & Miceli, T. (2015). The Enigmatic Neutrino.

The Physics Teachers

, 53, pp 331.

Olive, K. A. et al. (2014). Particle Data Group.

Chin. Phys. C

, 38, 090001

The Royal Swedish Academy of Sciences. (2015).

Scientific background on the Nobel Prize in Physics 2015

. Retrieved October 10, 2015,

from

https://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/2015/advanced-physicsprize2015.pdf.

The Royal Swedish Academy of Sciences. (2015).

Nobel Prize in Physics 2015: Popular science background

. Retrieved October 10, 2015,

from

https://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/2015/popular-physicsprize2015.pdf.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558).

หนังสือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมศักยภาพวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6

ฟิสิกส์ เล่ม 5

. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

• บทความ “รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจ�

ำปี 2015” ที่ลิงค์

http://goo.gl/MLOvKA

• หนังสือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมศักยภาพวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ฟิสิกส์ เล่ม 5 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

• ลิงค์คลิปวีดิทัศน์เรื่อง Why neutrinos matter - Sílvia Bravo Gallart ที่ลิงค์

https://goo.gl/atzseU

(มีค�

ำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาไทย)