Table of Contents Table of Contents
Previous Page  44 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 44 / 62 Next Page
Page Background

44

นิตยสาร สสวท

นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องคานและการรับน�้

ำหนัก เรียนรู้วิธีต่อ

เส้นสปาเกตตี้ที่มีความเปราะให้กลายเป็นหอคอยที่สามารถ

รับน�้

ำหนักได้ เรียนรู้หลักการพื้นฐานของการสร้างหอคอยว่า

หอคอยที่แข็งแรงจะต้องมีฐานรากที่แข็งแรง เพราะถ้าค�

ำนึงถึง

ความสูงเพียงอย่างเดียวโดยไม่สร้างฐานให้แข็งแรง หอคอย

ก็จะไม่สามารถรับน�้

ำหนักได้ นอกจากนี้นักเรียนยังต้องแสดง

ความคิดสร้างสรรค์ผ่านการออกแบบหอคอยก่อนลงมือสร้าง

ชิ้นงาน โดยใช้ความรู้คณิตศาสตร์ รู้จักแก้ปัญหาเมื่อพบว่า

หอคอยที่สร้างขึ้นไม่แข็งแรง และได้แก้ไขให้แข็งแรงขึ้น รวม

ทั้งได้ฝึกการท�

ำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ จากต่างโรงเรียนด้วย

อีกหนึ่งกิจกรรมที่นักเรียนได้ท�

ำ คือกิจกรรม

รถไฟเหาะ ซึ่งนักเรียนในแต่ละกลุ่มได้เรียนองค์ความรู้

วิทยาศาสตร์ของรถไฟเหาะจากการจ�

ำลองการเคลื่อนที่ของ

รถไฟเหาะโดยใช้ฉนวนหุ้มท่อแอร์ที่ถูกผ่าครึ่งตามแนวยาว

แล้วม้วนงอเพื่อท�

ำเป็นรางรถไฟเหาะที่มีลูกแก้วเป็นรถไฟ

นักเรียนได้สร้างรางรถไฟเหาะตามเงื่อนไขที่ก�

ำหนดโดย

วิทยากร เช่น รางต้องมีส่วนที่ม้วนเป็นวงเพื่อให้รถไฟสามารถ

ตีลังกาได้อย่างน้อย 2 วง และเมื่อปล่อยตัวรถไฟ รถไฟจะต้อง

เคลื่อนที่ไปตามรางจนหยุดที่จุดก�

ำหนดพอดี กิจกรรมนี้ได้

ด�

ำเนินไปด้วยความสนุกสนาน เมื่อนักเรียนแต่ละคนต่างลุ้น

ว่ารถไฟของกลุ่มตนจะสามารถพิชิตเงื่อนไขต่างๆ ได้หรือไม่

ในกิจกรรมนี้นักเรียนได้เรียนรู้ว่า ถ้าปล่อยรถไฟจากต�

ำแหน่ง

ที่อยู่สูง รถไฟจะไถลไปตามรางด้วยแรงโน้มถ่วง และเคลื่อนที่

ต่อไปด้วยการเปลี่ยนพลังงานศักย์ที่มีสะสมอยู่ในรถไฟ

ไปเป็นพลังงานจลน์ การปล่อยรถไฟจากต�

ำแหน่งที่สูงขึ้น

จะท�

ำให้รถไฟมีพลังงานศักย์มากขึ้น และจะเปลี่ยนไปเป็น

พลังงานจลน์ได้มากขึ้น นั่นคือความเร็วของรถไฟจะเพิ่มขึ้นด้วย

ดังนั้นเมื่อนักเรียนทดลองสร้างรางรถไฟให้เป็นเนิน 2 เนิน

ก็ควรสร้างเนินแรกให้มีความสูงมากกว่าเนินที่สอง เพื่อให้

รถไฟมีพลังงานศักย์สะสมมาก รถไฟจะได้มีความเร็วมากขึ้น

และมีพลังงานทั้งหมดมากพอที่จะเคลื่อนที่ไปตามรางที่ม้วนวน

เป็นวงโค้ง จนสามารถตีลังกาได้ และรถไฟก็จะหยุดเมื่อ

พลังงานสะสมในตัวหมด ในกิจกรรมนี้นักเรียนได้ทั้งความรู้

วิทยาศาสตร์และรู้จักการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการ

สร้างรางรถไฟที่แตกต่างกัน และสามารถบังคับให้รถไฟไถล

ไปจนถึงจุดที่ก�

ำหนดได้ อีกทั้งได้เรียนรู้กระบวนการท�

ำงาน

เป็นกลุ่มและได้รับความสนุกสนานไปพร้อมกันด้วย

โดยสรุปกิจกรรม One Day Camp “จุดประกาย

ให้น้อง... สู่เส้นทางโอลิมปิกวิชาการ” กิจกรรมในโครงการ

จิตอาสานักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการเป็นกิจกรรมที่ดี

เพราะได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พบปะกับพี่ๆ ในโครงการ

โอลิมปิกวิชาการ ได้ฟังประสบการณ์ตรง ได้รับแรงบันดาลใจ

ในการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ได้ฟังเคล็ดลับ

ในการเรียน และรู้จักการแบ่งเวลา แม้นักเรียนอาจจะไม่ได้

เป็นตัวแทนประเทศในโครงการนี้ แต่ก็ได้เห็นมุมมองในการ

เรียนของพี่ๆ ที่ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์

นอกจากนี้ นักเรียนยังได้ท�

ำกิจกรรมที่เสริมสร้างกระบวนการ

คิดทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วย อีกทั้งได้รู้จักเพื่อน

ใหม่ในวัยเดียวกันที่มีความสนใจวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์

เหมือนกัน ซึ่งจะท�

ำให้มีการผูกสัมพันธ์ต่อกันในอนาคตด้วย