

40
นิตยสาร สสวท
ทั้งนี้การรายงานผลการประเมิน NMSSA จะแสดง
เกณฑ์การประเมินและตัวอย่างข้อสอบทั้งในส่วนของ TheWriting
for a Variety of Purposes และ The Process of Writing
ไว้อย่างชัดเจน โดยผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้น Year 4 ในปี 2012 สามารถสรุปได้ดังนี้
ในส่วนของการให้คะแนนส�
ำหรับ The Writing for
a Variety of Purposes นั้นได้แบ่งออกเป็น 7 ส่วน คือ ความคิด
โครงสร้างของภาษา การจัดวางรูปแบบ ค�
ำศัพท์ โครงสร้าง
ประโยค เครื่องหมายวรรคตอน และการสะกดค�
ำ ผลปรากฏว่า
นักเรียนชั้น Year 4 มีคะแนนเฉลี่ยด้านการสะกดค�
ำศัพท์
สูงที่สุด และมีคะแนนด้านเครื่องหมายวรรคตอนต�่
ำที่สุด
ส�
ำหรับการสอบเพื่อวัด The Process of Writing
นั้นมีจุดประสงค์เพื่อประเมินมุมมองของนักเรียนในด้าน
ความเข้าใจ และการตระหนักเกี่ยวกับกระบวนการเขียน
ในการประเมินใช้การสัมภาษณ์และศึกษาจากชิ้นงานที่
นักเรียนเขียน ผลปรากฏว่านักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกว่างาน
ที่ตนเขียนเพื่อใช้ประเมิน NMSSA ไม่ดีเท่ากับการเขียนตาม
ปกติของตนเอง และเมื่อนักเรียนได้รับโอกาสให้แก้ไขงาน
เขียนนี้ นักเรียนจะมุ่งเน้นไปที่ความชัดเจนและความแม่นย�
ำ
ด้านความหมาย และแก้ไขการสะกดค�
ำผิด การใช้เครื่องหมาย
วรรคตอนหรือแก้ไขไวยากรณ์ นอกจากนี้ยังพบอีกว่านักเรียน
มีความตระหนักเกี่ยวกับความแตกต่างของกระบวนการเขียน
น้อยมาก
สรุป
ถึงแม้ว่าทั้งประเทศนิวซีแลนด์และประเทศไทยจะมี
ระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับชาติ
และในระดับประถมศึกษาเหมือนกัน แต่จากการน�
ำเสนอ
ข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าระบบการประเมินมีความแตกต่าง
กันหลายด้าน เช่น เป้าหมายของการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ในการประเมิน การรายงานผลการประเมิน ตลอดจนการน�
ำ
ผลการประเมินไปใช้ ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ขึ้นกับบริบท
ของทั้งสองประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาภาษาอังกฤษ
กล่าวคือประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาราชการ ในขณะที่ประเทศไทยใช้ภาษาอังกฤษ
ในฐานะภาษาต่างประเทศ อย่างไรก็ตามมีประเด็นหนึ่ง
ที่น่าสนใจคือ ทั้งสองประเทศให้ความส�
ำคัญกับกลุ่มนักเรียน
ที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งนักเรียนกลุ่มนี้เป็นพลเมือง
ของประเทศที่รัฐบาลไม่สามารถละเลยได้ หากแต่หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้ องที่ต้ องหาทางพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
กลุ่ มนี้ เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาของประเทศ
ในภาพรวมด้วย
บรรณานุกรม
Ministry of Education. 2007.
The New Zealand Curriculum.
Retrieved August 7, 2015, from
http://nzcurriculum.tki.org.nz/content/download/1108/11989/file/The-New-Zealand-Curriculum.pdfNational Monitoring Study of Student Achievement, Educational Assessment Research Unit. 2014.
Assessment of English:
Writing
. Retrieved August 7, 2015, from
http://nmssa.otago.ac.nz/files/NMSSA_Ed_Gazette_2014_8pg.pdf.National Monitoring Study of Student Achievement, English: Writing 2012. Retrieved September 2, 2015, from
https://www.educationcounts.govt.nz/__data/assets/pdf_file/0008/144377/NMSSA-English-Writing-2012.pdf
ปนัดดา หัสปราบ. (2557).
แนวทางการน�
ำผลการทดสอบทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2558,
จาก http://www.niets.or.th/th/content/download/262
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). 2558.
ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557
. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2558, จาก http://www.onetresult.niets.or.th/
AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx
ส�
ำนักทดสอบทางการศึกษา. 2557.
สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2556
.
สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2558. จาก http://bet.obec.go.th/bet/wp-content/uploads/2014/04/sNT56.pdf,
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2556).
การวิเคราะห์และสังเคราะห์กลยุทธ์การน�
ำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานไปใช้
ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: พหุกรณีศึกษา โรงเรียนที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาในระดับดี
. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม
2558., จาก http://www.niets.or.th/th/content/download/291
ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิภารัตน์ แสงจันทร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย ดร. สิทธิกร สุมาลี สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส�
ำหรับการให้ค�
ำปรึกษา และแนะน�
ำในการเขียนบทความนี้