

36
นิตยสาร สสวท
บรรณานุกรม
Wilgenbus, David. Faure, Cedric. Schick, Olivier. (2012).
When the Earth Rumbles : living with risk,
Paris: Edition Le Pommier.
ข้อเสนอแนะส�
ำหรับผู้สอน
- ไม่ควรใช้โต๊ะที่มีลิ้นชักใต้โต๊ะทดลอง
- ความคลาดเคลื่อนของการทดลองอาจเกิดจากต�
ำแหน่งที่ใช้ค้อนทุบโต๊ะไม่ตรง
จุดศูนย์กลางของวงกลม
- ใช้กล้องวีดิทัศน์บันทึกการทดลอง และแสดงการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งของลูกปัด
- ระวังการใช้ค้อนทุบแรงเกินไปอาจท�
ำให้ลูกปัดกระเด็นตกจากโต๊ะลงมาหมด ท�
ำให้บันทึก
ผลการทดลองไม่ได้
ขั้นอภิปราย
ผู้สอนให้ผู้เรียนน�
ำเสนอผลการทดลอง และข้อสรุปของ
สมมติฐาน ทีละกลุ่ม และผู้สอนน�
ำเสนอผลการทดลองตัวอย่างโดยเปรียบเทียบกับผล
การทดลองของผู้เรียนดังนี้ ทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกปัดสี ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่จาก
ต�
ำแหน่งเดิมตามแนวเส้นรัศมีของวงกลม และระยะทางในการเคลื่อนที่ของลูกปัดสีจะ
ลดลงตามระยะห่างที่เพิ่มขึ้นจากจุดศูนย์กลางวงกลม จากนั้นผู้เรียนและผู้สอนร่วมกัน
อภิปรายในชั้นเรียน
ขั้นสรุป
ผู้สอนร่วมสรุปผลการทดลองกับผู้เรียน ดังนี้ แรงสั่นสะเทือนจะแผ่
กระจายออกจากจุดศูนย์กลางเป็นวงกลม แรงสั่นสะเทือนที่ต�
ำแหน่งต่างๆ จะลดลงเมื่อ
ต�
ำแหน่งนั้นอยู่ห่างออกจากจุดศูนย์กลางมากขึ้น และความเสียหายที่เกิดขึ้นจะลดลงด้วย
ผู้สอนอาจเชื่อมโยงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับข้อสรุปที่ได้จากการทดลอง และตั้งค�
ำถาม
เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนรู้ในหัวข้อต่อไป
การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดการทดลองและแปลความหมายของข้อมูล รวมถึง
การสื่อสารผลที่ได้โดยใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ วิธีการนี้จะท�
ำให้ผู้เรียนมีความสนใจ
และมีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริงในชีวิตประจ�
ำวัน และ
ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนได้อีกด้วย