

34
นิตยสาร สสวท
การจัดการเรียนรู้เรื่องแผ่นดินไหว อาจประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
1. แผ่นดินไหวคืออะไร
2. การสำ�รวจความรุนแรงของแผ่นดินไหว
3. การแผ่กระจายของแรงสั่นสะเทือน
4. แผ่นดินไหวมักเกิดขึ้นในบริเวณใด
5. แหล่งกำ�เนิดของแรงสั่นสะเทือนคืออะไร
6. การตรวจวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว และการสร้างเครื่องมือวัด
ความไหวสะเทือนอย่างง่าย
7. ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว การเปรียบเทียบมาตรวัดขนาด
และมาตรวัดความรุนแรง
8. การทำ�นายการเกิดแผ่นดินไหว
9. การปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
10. การบรรเทาความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว
บทความนี้จะน�
ำเสนอตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ในหัวข้อ การแผ่กระจายของแรงสั่นสะเทือน
ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
เวลา
1 ชั่วโมง
วัสดุอุปกรณ์
1. ลูกปัดหลายๆ สี 2. มักกะโรนีหลายๆ สี
3. บล็อคไม้
4. ค้อนยาง
5. กระดาษขนาด A3 6. กล้องวีดิทัศน์
วัตถุประสงค์
1. อธิบายลักษณะการแผ่กระจายของแรงสั่นสะเทือน
2. อธิบายความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับจุดเหนือศูนย์
เกิดแผ่นดินไหว
ทักษะ
1. สามารถตั้งสมมติฐานและทดสอบสมมติฐานได้
2. สามารถออกแบบและทำ
�การทดลองได้
3. อภิปราย และนำ
�เสนอผลการทดลองโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
สาระการเรียนรู้
แผ่นดินไหวเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ในเปลือกโลก
ออกมาในรูปของคลื่นการไหวสะเทือน เพื่อปรับภาวะสมดุลของ
เปลือกโลก ตามปกติแผ่นดินไหวมีขนาดและความรุนแรงแตกต่างกัน
มักเกิดตรงบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณี และบริเวณที่มีการเคลื่อนที่
ของแผ่นธรณี