Table of Contents Table of Contents
Previous Page  44 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 44 / 62 Next Page
Page Background

44

นิตยสาร สสวท

สี่ทศวรรษแห่งความมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอน

วิทยาศาสตร์วิชาฟิสิกส์ของประชารัฐไทย

ด้วยการทดลองจริงในห้องเรียนสู่การเรียน

แบบผสมผสานกับการทดลองเสมือนจริง

(Virtual Experiment: V.E.)

การเรียนกระตุ้น

ความคิด

ราม ติวารี • ผู้อ�ำนวยการสาขาฟิสิกส์ สสวท. • e-mail:

rtiwa@ipst.ac.th

เพื่อนคุณครูครับผมจ�ำไม่ได้ว่า

ก่อนวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2515 หนังสือ

แบบเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

มีหน้าตาอย่างไร เพราะผมยังเป็นนักเรียน

ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 แต่วันดังกล่าว

เป็นวันแจ้งเกิดของสถาบันส่งเสริมการสอน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งเป็น

สถาบันของรัฐที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นด้วย

วัตถุประสงค์ที่ส�ำคัญประการหนึ่งในการ

ด�ำเนินงานของสถาบันฯ คือการปรับปรุง

หลักสูตรแบบเรียนวิทยาศาสตร์ และ

คณิตศาสตร์ ด้วยการน�ำเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทางการศึกษามาใช้ เพื่อช่วยให้นักเรียนมี

ความเข้าใจเนื้อหาวิชาในหลักสูตร พร้อม

ทั้งมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์และ

คณิตศาสตร์ด้วย ผู้ที่เรียนวิทยาศาสตร์

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2519 ได้ใช้แบบเรียนของ

สสวท. ทุกระดับชั้น

ฟิสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ที่ได้แยกเป็นวิชาฟิสิกส์

ในประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งมี มศ.4 กับ มศ.5 คนที่เคยเรียนฟิสิกส์

มศ.4 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2522 เหมือนผมจะรู้สึกชอบและสนุกกับการทดลอง

ที่มีในวิชานี้ ซึ่งก็เหมือนกับการทดลองวิชาวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ เมื่อมี

การน�ำผลการทดลองและความรู้ที่ได้จากการทดลองไปเชื่อมโยงกับทฤษฎี

ฟิสิกส์ที่เรียนในห้องเรียนซึ่งค่อนข้างยาก การผสมผสานจึงท�ำให้ความยาก

เจือจางลงมาก เป็นผลให้การจัดการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ในโรงเรียน

ประสบความส�ำเร็จตามเป้าประสงค์ของประเทศไทยที่ได้จัดตั้ง สสวท. ขึ้นมา

ปัจจัยที่น�ำสู่ความส�ำเร็จที่ส�ำคัญที่สุดคือ บทบาทของ สสวท. ในช่วงก่อตั้ง

มาจนประมาณ 20 ปีต่อมาคือมีครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ที่เข้มข้นด้วยการอบรม

ให้จัดการเรียนการสอนเป็นไปตามแบบ สสวท. ที่ก�ำหนดในแบบเรียนอย่าง

สม�่ำเสมอ และความมุ่งมั่นประกอบกับครูผู้สอนส่วนใหญ่ของประเทศใน

ช่วงนั้นมีจิตวิญญาณของความเป็นครูสูงมาก เมื่อได้รับความรู้อะไรจาก

การอบรมก็น�ำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

กิจกรรมหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสื่อการเรียนการสอน

ต่างๆ ผนวกกับการศึกษาหาความรู้ และการค้นคว้าหาสื่อใหม่ๆ มาใช้

ประกอบการเรียนการสอนของครูด้วย ผู้ปกครองเองก็ส่งเสริมให้นักเรียนมี

เป้าหมายชัดเจนคือมีความใส่ใจใฝ่รู้ในสาระความรู้ทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่อง

การฝึกทักษะต่างๆ จากการทดลองเพื่อเป็นฐานที่มั่นคงในการศึกษาขั้นสูง

ต่อไป

ดังนั้นความสุขร่วมกันของผู้สอน ผู้เรียน และผู้ปกครองอยู่ที่

เป้าหมายปลายทาง คือความส�ำเร็จของผู้เรียน เช่น เมื่อจบการศึกษาระดับ

มัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เรียนสามารถศึกษาต่อได้ในสาขาวิชาที่ตนชอบ

และถนัด นี่จึงถือเป็นความส�ำเร็จร่วมกันของทั้งสามฝ่าย ผลผลิตของ

เยาวชนของประเทศไทยในวันนั้นคือเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในทุกแวดวง

ของประชารัฐไทยในวันนี้