Table of Contents Table of Contents
Previous Page  51 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 51 / 62 Next Page
Page Background

51

ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559

ส�ำหรับเรื่องการฝึกวินัยในโรงเรียนนั้น Nambu เล่าว่า

เมื่อถึงเวลาตี 4 ทุกคนต้องตื่นนอน และเดินเท้าไกล 2 กิโลเมตร

เพื่อไปฝึกการต่อสู้ป้องกันตนเอง และนักเรียนทุกคนต้องท�ำ

ทุกสิ่งทุกอย่างตามที่โรงเรียน และผู้อาวุโสก�ำหนด นอกจากนี้

โรงเรียนก็ยังเน้นเรื่องความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิด้วย

ทว่าบิดาของ Nambu พยายามอบรมสั่งสอนลูกชาย

มิให้หลงทาง และห้ามไม่ให้ Nambu คบเพื่อนบางคน Nambu

จึงเป็นเด็กที่เก็บกดความรู้สึก ชอบครุ่นคิด และไม่ชอบออก

ความเห็นใดๆ ตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เพราะในความรู้สึกลึกๆ

Nambu ต้องการปฏิเสธไม่ยอมรับค่านิยมและความเชื่อของ

สังคมญี่ปุ่นในสมัยนั้น ดังนั้นจึงรู้สึกอึดอัดมากที่เห็นชาวญี่ปุ่น

ก�ำลังคลั่งชาติมากขึ้นทุกวัน

ในปี ค.ศ. 1937 Nambu วัย 16 ปีได้เข้าเรียนที่

มหาวิทยาลัย Tokyo Imperial ซึ่งเป็นสถาบันที่มีบรรยากาศ

วิชาการดีมาก แต่พบว่าเรียนวิชาอุณหพลศาสตร์โดยเฉพาะเรื่อง

เอนโทรปี (entropy) ไม่รู้เรื่อง ท�ำให้สอบวิชาอุณหพลศาสตร์ตก

จึงคิดจะเลิกเรียนฟิสิกส์ แต่เมื่อได้อ่านผลงานวิจัยของฮิเดะกิ

ยูกาว่า (Hideki Yukawa รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 1949)

เรื่องทฤษฎีอันตรกริยานิวเคลียร์ระหว่างอนุภาคมูลฐาน เช่น

โปรตอนกับนิวตรอนว่าเกิดจากการแลกเปลี่ยนอนุภาคmeson กัน

Nambu ชอบแนวคิดนี้มาก จึงตัดสินใจเรียนฟิสิกส์จนส�ำเร็จ

ปริญญาตรีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัย Tokyo ในปี ค.ศ. 1942

ในช่วงเวลานั้นญี่ปุ่นก�ำลังท�ำสงครามกับจีน และได้

ชัยชนะ เมื่อมีสงครามญี่ปุ่นจึงต้องเกณฑ์ประชาชนจ�ำนวนมาก

เป็นทหาร ดังนั้นหลักสูตรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยจึงถูกปรับลด

เวลาเรียนลง เพื่อให้นิสิตส�ำเร็จการศึกษาเร็วขึ้น หลังจากที่ส�ำเร็จ

การศึกษา Nambu ได้เข้ารับราชการทหาร และต้องปฏิบัติงาน

ทุกอย่างตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง ท�ำให้รู้สึกเหนื่อย เบื่อ และ

ท้อแท้ เพราะในบางวันต้องลงพื้นที่ขุดสนามเพลาะ และใช้ชีวิต

ในสมรภูมิจริงๆ

หลังจากรับราชการทหารนาน 1 ปี Nambu ถูกส่งเข้า

ท�ำงานหน่วยวิจัยและพัฒนาเทคนิคการรับ-ส่งเรดาร์ ผลปรากฏ

ว่า โครงการนี้ล้มเหลว เพราะขณะเรดาร์ไม่ “เห็น” เครื่องบิน

ตาเปล่าของคนกลับเห็น

Nambu ได้กลับมาสนใจเรื่องทฤษฎีแรงนิวเคลียร์ต่อ

เมื่อได้อ่านผลงาน Quantum Electrodynamics (QED) ของ

Sin-Itiro Tomonaga (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 1965)

และทฤษฎีสนามควอนตัมของ Werner Heisenberg (รางวัล

โนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 1932) โดยหนังสือเหล่านี้เดินทางมาถึง

ญี่ปุ่นด้วยเรือด�ำน�้ำ Nambu จึงได้แนวคิดที่ทันสมัยมากมาย

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง Nambu ได้พบรักกับ

Chieko และได้สมรสกัน แต่แยกกันอยู่ โดยภรรยายังพักอยู่กับ

พ่อและแม่สามีที่ Osaka ส่วน Nambu เดินทางไปวิจัยที่โตเกียว

สังคมญี่ปุ่นหลังสงครามโลกเป็นภาวะที่ชาวญี่ปุ่น

ล�ำบาก เพราะที่พัก อาหาร และแม้แต่น�้ำอาบก็ขาดแคลน

สินค้ามีราคาแพงมาก Nambu ต้องเช่าห้องขนาดเล็กอยู่ และ

จุดเทียนไขเพื่ออ่านหนังสือและอ่านข่าวจากนิตยสาร Time

แต่ได้สนทนา และเขียนจดหมายติดต่อกับ Ziro Koba ซึ่งเป็น

ศิษย์ของ Tomonaga บ้าง เวลาท�ำงานวิจัย Nambu ต้องใช้

กระดาษห่อหนังสือพิมพ์เป็นกระดาษค�ำนวณ

ในปี ค.ศ. 1949 Nambu วัย 28 ปี ได้งานที่

มหาวิทยาลัย Osaka และเริ่มมีชื่อเสียงจากผลงานทฤษฎี

ฟิสิกส์อนุภาคมูลฐาน เมื่อได้เสนอแนวคิดเรื่องความส�ำคัญ

และบทบาทของสมมาตร ( symme t r y ) ในทฤษฎีของ

อันตรกิริยา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อใดที่ระบบปราศจากสมมาตร

จะมีอนุภาคเกิดขึ้นในระบบนั้นทันที โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า

ถ้ามีจานข้าวสองใบที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการ (ระบบมี

สมมาตรเท่ากับ 2) และมีสุนัขตัวหนึ่งซึ่งกินข้าวได้ครั้งละจาน

หลังจากที่สุนัขกินข้าวไปจานหนึ่ง จานทั้งสองจะแตกต่างกัน

นั่นคือ สมมาตรของทั้งระบบก็แตกสลาย แต่สุนัขของ Nambu

ไม่ติดใจกินข้าวในจานหนึ่งเพียงจานเดียว แต่สลับกินไป-มา

สุนัขจึงเป็นสิ่งที่ท�ำให้สมมาตรของระบบแตกสลาย ในท�ำนอง

เดียวกัน เวลาสมมาตรของระบบควอนตัมแตกสลาย จะมี

อนุภาคโบซอน (boson) เกิดขึ้น

ภาพ

Nambu ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ฟิสิกส์

แห่งมหาวิทยาลัย Chicago

ที่มา:

http://mag.uchicago.edu/nambu