Table of Contents Table of Contents
Previous Page  48 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 48 / 62 Next Page
Page Background

48

นิตยสาร สสวท

R:

[เทคนิคแกล้งสงสัย] วิธีนี้มีเวลาเพียงพอในการเตรียมนักเรียนหรือคะ ?

I:

ไม่พอ คุณครูมักเสียเวลาไปมากและสอนไม่ทัน

R:

[เทคนิคแสดงความเข้าใจและให้เวลาเพิ่มเติมรายละเอียด] ดิฉันเข้าใจว่าคุณครูมีเวลาน้อยในการเตรียมสอนนักเรียนเพียง

เทอมเดียว และแน่ใจว่าคงไม่พอ คุณครูใช้วิธีใดอีกบ้างในการเตรียมนักเรียนสอบคะแนน O-net ได้สูงขึ้นภายในเวลาจ�ำกัดคะ?

I:

เราพบวิธีเพิ่ม คือเราจะคัดแยกระดับความรู้ของนักเรียนทุกคนเพื่อจัดห้องใหม่ก่อนเข้าโครงการสอนเสริม ห้องที่มีนักเรียน

ระดับผลการเรียนดีจะได้ฝึกท�ำข้อสอบเก่าเลย โดยไม่ต้องเสียเวลามาเสริมพื้นฐานและคอยเพื่อนที่มีผลการเรียนต�่ำ ส่วนนักเรียน

ที่มีระดับผลการเรียนระดับปานกลาง และอ่อนก็จะสอนเนื้อหาเสริมตามปกติ จึงท�ำให้มีเวลาเพียงพอที่จะฝึกนักเรียนได้ทันเวลา

ซึ่งจะส่งผลให้ได้คะแนนสอบ O-net สูงขึ้น

R:

[เทคนิคการเชื่อมโยงเพื่อตั้งค�ำถาม] นักเรียนที่ได้รับการสอนเสริมมีคะแนนสอบ O-net เท่าไหร่คะ?

I:

เต็ม 100 คะแนน

R:

[เทคนิคการให้ก�ำลังใจ] เยี่ยมมากเลยค่ะ คุณครูใช้วิธีจัดระดับเด็กเสริมเพียงวิธีเดียวก็สามารถท�ำให้ได้คะแนนเต็มเลยเหรอคะ?

I:

เรามีทีมวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อเก็งข้อสอบในแต่ละปีว่ามีแนวโน้มจะออกมาในลักษณะใด

R:

[เทคนิคการตั้งค�ำถามลูกโซ่] คุณครูช่วยอธิบายรายละเอียดเพิ่มได้ไหมคะ ว่ามีวิธีการอย่างไรอีกบ้าง?

I:

วิธีการคือทีมงานจะน�ำข้อสอบ O-net ย้อนหลังไป 5 ปี มาวิเคราะห์ จัดกลุ่มในแต่ละตัวชี้วัด เพื่อดูสถิติว่าในแต่ละปีข้อสอบ

ออกตามตัวชี้วัดใด อย่างละกี่ข้อ สมมติว่าถ้าปีนี้ตัวชี้วัดใดถูกเน้นเป็นพิเศษ ปีหน้าโอกาสที่ข้อสอบจะออกตามตัวชี้วัดนี้ก็จะ

น้อยลง เราก็จะเก็งในข้อสอบตัวชี้วัดอื่นให้นักเรียน

R:

[ตรวจสอบและติดตามค�ำตอบ] แล้วผลที่ได้เป็นอย่างไรบ้างคะ คุณครูได้ติดตามไหมว่า ข้อสอบที่เก็งนั้นตรงข้อสอบจริง

หรือไม่?

I:

ติดตามโดยการสอบถามนักเรียนที่เข้าสอบ นักเรียนส่วนใหญ่ตอบว่าข้อสอบออกตรงตามที่ครูเก็งให้ค่ะ

R:

[เทคนิคการทวนค�ำตอบ] แสดงว่าครูได้ใช้กระบวนการหลายวิธีในการเตรียมนักเรียนเพื่อสอบ O-net โดยเริ่มจากการคัด

เลือกนักเรียน วิเคราะห์ข้อสอบ เก็งข้อสอบ และฝึกฝนให้นักเรียนท�ำข้อสอบร่วมกัน?

I:

ใช่ค่ะ

....................................................

……………………………………………….

……………………………………………….

3. ขั้นยุติการสัมภาษณ์

R:

ดิฉันขอขอบคุณ คุณครูที่ให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์เป็นอย่างดี และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเราค่ะ