Table of Contents Table of Contents
Previous Page  46 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 46 / 62 Next Page
Page Background

46

นิตยสาร สสวท

ที่มา :

https://i.ytimg.com/vi/aHifpq4buDs/maxresdefault.jpg

ในการวิจัยการศึกษาหรือการวิจัยเชิงคุณภาพ

นิยมใชวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ประเภทการ

สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) (มานพ 2550) เพื่อช่วย

เพิ่มข้อมูลที่ได้รวบรวมมาจากวิธีการอื่นๆ ได้มากขึ้น สามารถ

ตรวจสอบความเป็นจริงของข้อมูลที่ได้โดยเก็บรวบรวมมา

ก่อน หรือตรวจสอบร่องรอยอื่นๆที่ไม่สามารถแสดงออกมา

ด้วยค�ำพูด

การสัมภาษณ์เชิงลึก

เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูล

โดยไม่ใช้แบบสอบถาม แต่ใช้ค�ำถามปลายเปิดที่มีความ

ละเอียด เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยมากที่สุด

โดยมีแนวของค�ำถามให้ผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามผู้ให้สัมภาษณ์

ในลักษณะเจาะลึก จึงต้องอาศัยความสามารถพิเศษของ

ผู้สัมภาษณ์ในการค้นหารายละเอียดในประเด็นที่ต้องการศึกษา

อย่างลึกซึ้ง การสัมภาษณ์เชิงลึกนี้มักกระท�ำในประชากร

กลุ่มเล็กๆ และมุ่งหวังให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความคิดเห็น

หรืออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับความส�ำคัญของเรื่อง

และสถานการณ์ ตลอดจนความเชื่อ และความหมายต่างๆ

อย่างลึกซึ้ง

Rita (1999) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์

เชิงลึกว่าแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ซึ่งเหมาะกับสภาพการท�ำงานที่เป็น

แบบกึ่งทางการ แต่ต้องการบรรยากาศที่ท�ำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์

รู้สึกสบายใจ และสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้มากขึ้น โดยมี

ขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นเริ่มสัมภาษณ์

ผู้สัมภาษณ์ควรแนะน�ำ

ตนเอง บอกจุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์ พร้อมทั้งพยายาม

ชี้แนะผู้ให้สัมภาษณ์ตระหนักว่าเขามีส่วนส�ำคัญมากในการ

ท�ำให้งานเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้อย่าง

สมบูรณ์ และควรชี้แจงผู้ให้สัมภาษณ์ด้วยว่าข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้

เป็นความลับ และจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อผู้ให้สัมภาษณ์

ถ้าผู้สัมภาษณ์จะบันทึกเทปการสัมภาษณ์ควรแจ้ งและ

ขออนุญาตผู้ให้สัมภาษณ์ก่อน ทั้งนี้ผู้สัมภาษณ์ควรสร้าง

บรรยากาศ และสัมพันธภาพที่ดีในการสัมภาษณ์ โดยใช้เวลา

เล็กน้อยในการสนทนาเรื่องที่ผู้ถูกสัมภาษณ์สนใจ เพื่อให้ผู้ถูก

สัมภาษณ์มีความคุ้นเคย มีความรู้สึกเป็นมิตรและไว้วางใจ

ผู้สัมภาษณ์

2. ขั้นสัมภาษณ์เนื้อหา

ผู้สัมภาษณ์ไม่ควรวิพากษ์

วิจารณ์ หรือสั่งสอนผู้ให้สัมภาษณ์ ในกรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์

ให้ข้อมูลหรือมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับที่สังคมยอมรับใน

ขณะมีการสัมภาษณ์ ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์ยังไม่ได้ค�ำตอบ

ที่ชัดเจนหรือเป็นที่พอใจ ผู้สัมภาษณ์ไม่ควรจะเร่งรัดหรือ

คาดคั้นค�ำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์ และถ้าคนทั้งสองยังไม่

คุ้นเคยกันก็อาจจะผ่านค�ำถามนั้นไปก่อน เมื่อจบการ

สัมภาษณ์แล้วจึงค่อยย้อนกลับมาถามใหม่ โดยกล่าวในเชิง

ทบทวนค�ำถามหรือทบทวนค�ำตอบอย่างสุภาพ ในขณะเดียวกัน

ผู้สัมภาษณ์ต้องจดบันทึกการสัมภาษณ์อย่างรวดเร็ว เพื่อมิให้

เสียบรรยากาศการสัมภาษณ์ หรือการสัมภาษณ์ขาดตอน

ผู้สัมภาษณ์ควรบันทึกเทปเสียงเพื่อให้การจัดเก็บข้อมูล ครบถ้วน

และสมบูรณ์ (ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ให้สัมภาษณ์แล้ว)