

45
ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559
ที่มา :
http://www.ubonac.com/wp-content/uploads/2012/11/interview.jpgน�้ำทิพย์ จรรยาธรรม • นักวิชาการ ฝ่ายวิจัย สสวท. • e-mail:
nphan@ipst.ac.thรูปที่ 1
การเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก
การเรียนกระตุ้น
ความคิด
เทคนิค
การสัมภาษณ์เชิงลึก
ในการวิจัยทางการศึกษา
คุณเคยสัมภาษณ์ใครหรือไม่ คุณควรท�ำอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างครบถ้วนและตรงประเด็น คุณมี
เทคนิคการสัมภาษณ์อะไรบ้าง? ผู้เขียนมีเทคนิคที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviewing) ซึ่งจะน�ำ
มาเสนอเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อ่าน
การสัมภาษณ์
คือ การสนทนา เจรจาโต้ตอบกัน
อย่ างมีจุดมุ่ งหมาย ระหว่ างผู้ที่ต้องการจะรู้ เรื่องราว
ซึ่งเรียกว่า "ผู้สัมภาษณ์" และผู้ที่ให้เรื่องราว ซึ่งเรียกว่า
"ผู้ให้สัมภาษณ์" เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงตามความประสงค์ที่
ผู้วิจัยได้ก�ำหนดไว้ล่วงหน้า การสัมภาษณ์สามารถจ�ำแนกตาม
ลักษณะโครงสรางได 3 ประเภท (มานพ 2550) ดังนี้
1. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured
Interview)
เป็นการสัมภาษณ์ที่มีรายการค�ำถามและวิธีการ
สัมภาษณ์อย่างเปนระบบ มีขั้นตอนที่ก�ำหนดไว้ลวงหนา
การดําเนินงานแบบเปนทางการ ภายใตกฎเกณฑหรือ
มาตรฐานเดียวกัน มีลักษณะไม่ยืดหยุ่นมาก คือต้องถาม
ตามแบบสัมภาษณ์ แต่มีข้อดีคือ สามารถจัดหมวดหมู่ข้อมูล
ได้ง่ายและสะดวกในการวิเคราะห์ การสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้
อาจกระท�ำในลักษณะรายบุคคลหรือกลุ่มย่อยๆ ก็ได้
จึงเหมาะส�ำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ
มากกว่าการวิจัยเชิงคุณภาพ
2. การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสราง (Semi-
Structured Interview)
เปนการสัมภาษณที่มีการวางแผนการ
สัมภาษณไวกอนลวงหน้าอยางเปนขั้นตอน มีความเข้มงวด
พอประมาณ และข้อค�ำถามในการสัมภาษณ มีประเด็นค�ำถาม
อย่างคร่าวๆ และครอบคลุมแก่นส�ำคัญของเรื่อง โดยนักวิจัย
จะก�ำหนดค�ำถามที่พอจะตัดสินใจได้ว่าควรถามอะไรบ้าง หรือ
ใช้ค�ำส�ำคัญ (Keyword) เป็นตัวชี้น�ำการสัมภาษณ์ บางครั้ง
นิยมเรียกว่า การสัมภาษณ์แบบชี้น�ำ (Guided Interview)
3. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Non-
Structured Interview หรือ Unstructured Interview)
เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่ใช้แบบสัมภาษณ์ คือไม่จ�ำเป็นต้องใช้
ค�ำถามเดียวกันหมดกับผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน แต่ผู้สัมภาษณ์
จะต้องใช้เทคนิคและความสามารถเฉพาะตัว เพื่อให้ได้มา
ซึ่งค�ำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์ ตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้
การสัมภาษณ์ด้วยวิธีนี้อาจใช้วิธีให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกหรือ
ความคิดเห็นอย่างอิสระ ผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่รับฟังและคอยดึง
หรือควบคุมการสนทนาให้เข้าสู่ประเด็นที่ต้องการ ผู้สัมภาษณ์
ด้วยวิธีนี้จะต้องมีความช�ำนาญเป็นพิเศษ