Table of Contents Table of Contents
Previous Page  49 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 49 / 62 Next Page
Page Background

49

ปีที่ 44 ฉบับที่ 202 กันยายน - ตุลาคม 2559

จากการที่ผู้เขียนได้น�ำเทคนิควิธีการสัมภาษณ์

เชิงลึกของ Rita (1999) ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการสัมภาษณ์

เชิงลึกใน 3 ขั้นตอน ได้พบว่าเป็นวิธีการที่ดีในการช่วยให้

ผู้สัมภาษณ์ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น โดยสามารถชักจูงผู้ให้

สัมภาษณ์ตอบอย่างละเอียดและลึกในหัวข้อที่ผู้สัมภาษณ์

ต้องการ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้พบประสบการณ์หลายรูปแบบ

จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ การเริ่มต้นสัมภาษณ์ด้วย

หัวข้อที่ท�ำให้ผู้ให้สัมภาษณ์รู้สึกสบาย ถามค�ำถามที่เกี่ยวข้อง

กับชีวิตของผู้ให้สัมภาษณ์ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน อาจเป็น

จุดเริ่มต้นที่ดีส�ำหรับการสนทนา เวลาที่เหมาะสมส�ำหรับการ

สัมภาษณ์ก็ถือเป็นสิ่งส�ำคัญ ควรนัดหมายครูผู้ให้สัมภาษณ์

ล่วงหน้าเพื่อจัดตารางสอนไว้ก่อนและควรเป็นช่วงเช้าก่อน

การจัดการเรียนการสอน เพื่อหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้าจาก

การสอน ควรให้ผู้เข้าร่วมสังเกตการสัมภาษณ์เพื่อช่วยนักวิจัย

ในการจับภาพภาษาและพฤติกรรมคอยตรวจสอบการสัมภาษณ์

ครบประเด็นหรืออาจถามประเด็นเพิ่มเติมในภายหลัง บางครั้ง

ผู้ให้สัมภาษณ์อาจให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกันในระหว่างการสัมภาษณ์

นักวิจัยจึงควรสรุปยืนยันความคิดของเขาให้ฟังอีกครั้ง

โดยอาจส่ง บทสัมภาษณ์ให้แก่ผู้ให้สัมภาษณ์เพื่ออ่านตรวจ

ทบทวนผลการให้สัมภาษณ์เพื่อดูว่าการตีความของนักวิจัย

ส่วนใดที่ผิด ถ้าการตีความผิด ก็ควรแก้ไขรับรองส�ำเนาถูกต้อง

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงและน่าเชื่อถือด้วย

บรรณานุกรม

Rita S. Y. Berry (1999). Collecting data by in-depth interviewing. Retrieved June 7, 2016,

from

http://www.leeds.ac.uk/educol/documents/000001172.htm.

การสัมภาษณ์. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559, จาก

http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit5/level5-4.html.

การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2559, จาก

http://home.kku.ac.th/korcha/int3.html.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2554). เครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพและการสนทนากลุ่ม (Focus Group Study).

สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559, จาก

http://www.priv.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=896.

มานพ คณะโต. (2550).

วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพในระบบสุขภาพชุมชน

. ขอนแก่น: เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการติดต่อสื่อสารโดยตรง

ระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ สามารถท�ำให้เข้าใจ

ข้อมูลระหว่างกันและกันได้ตรงกัน ถ้ามีความเข้าใจผิด

ก็สามารถแก้ไขได้ทันที จึงมีลักษณะยืดหยุ่นมาก สามารถ

น�ำไปดัดแปลงและแก้ไขค�ำถามจนกว่าผู้ตอบจะเข้าใจค�ำถาม

และสามารถใช้วิธีการสังเกตด้วยว่าผู้ตอบมีความจริงใจกับการ

ตอบหรือไม่ แต่ยังคงมีข้อจ�ำกัด คือ ผู้ให้สัมภาษณ์อาจลืม

เล่าบางเรื่อง หรือคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาหรือไม่ส�ำคัญอย่างที่

ผู้สัมภาษณ์มองเห็น ก็จะไม่เอ่ยถึง ท�ำให้เกิดการละทิ้ง

รายละเอียดต่างๆ ไปมาก เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย (ใช้เวลา

งบประมาณ และพลังงานมาก) ส่วนข้อมูลที่ได้จากการ

สัมภาษณ์จะเชื่อถือได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือและ

ความเต็มใจของผู้ให้สัมภาษณ์ ความส�ำเร็จในการเก็บข้อมูล

วิธีนี้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์

ต้องไม่มีอคติต่อผู้ ให้สัมภาษณ์และเรื่องที่ไปสัมภาษณ์

เพราะถ้าการสัมภาษณ์ขึ้นอยู่กับสภาพของอารมณ์อาจส่งผล

ให้เกิดการบิดเบือน จนขาดความน่าเชื่อถือได้

ปัจจุบันการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ถูกน�ำมาใช้อย่าง

แพร่หลาย และถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการได้

มาซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการตรวจสอบและติดตามค�ำตอบ

นักวิจัยที่ต้องการจะใช้วิธีการนี้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลควร

ได้รับค�ำแนะน�ำก่อนเดินทางไป ท�ำความเข้าใจเทคนิคนี้ด้วย

ตัวเอง ควรจะมีไหวพริบและให้ความยืดหยุ่นในสถานการณ์

การสัมภาษณ์ที่อาจแตกต่างกัน อย่างไรผู้อ่านก็ลองน�ำเทคนิค

การสัมภาษณ์เชิงลึกเหล่านี้ไปใช้กันก็ดีนะคะ