Previous Page  8 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 8 / 62 Next Page
Page Background

8

นิตยสาร สสวท.

เพื่อนคุณครูครับพวกเราคงเห็นด้วยกับกระผมว่าสื่อนวัตกรรม

ใด ๆ จะออกฤทธิ์ได้ สังคมต้องเป็นสังคมนวัตกรรมก่อน ดังนั้นเรา

มาร่วมกันลงฉันทามติได้ไหมครับว่า หากเราเป็นผู้บริหารก็จะมีความ

เมตตาที่จริงใจและบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่มีเฉพาะกลุ่มพรรคพวกตนเองแล้ว

ปลูกต้นแห่งอยุติธรรม ถ้าเราเป็นผู้ปฏิบัติการก็จงมีความกตัญญูที่

จริงใจและบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่เอาใจผู้บริหารจนลืมการพังสลายของ

องค์กรและประเทศชาติ และกระผมคิดว่าสองอย่างนี้จะเป็นโอสถ

ต้นน้ำ

�ที่จะรักษาโรคของสังคมไทยที่ป่วยด้วยโรค “คอร์รัปชัน” อย่าง

งอมแงมเช่นทุกวันนี้ เพื่อสร้างสังคมนวัตกรรมแล้วการเรียนการสอน

หรือความคิดแบบฟิสิกส์จะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับการสร้างสังคม

นวัตกรรม?

หากเพื่อนคุณครูได้อ่านบทความในฉบับก่อนหน้านี้ กระผมได้

นำ

�เสนอความเป็นราชาแห่งวิทยาศาสตร์ของฟิสิกส์และเรียกร้อง

ชักชวนเพื่อนคุณครูให้ช่วยกันนำ

�ฟิสิกส์หวนคืนสู่บัลลังก์ แต่เพื่อน

คุณครูวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศรวมทั้งกระผมก็ยอมรับโดยข้อเท็จจริง

ที่ปรากฏว่าตามโครงสร้างของแนวความคิดหลักของวิทยาศาสตร์

สมัยใหม่ การเกิดความสนใจอย่างใหญ่หลวงและรวดเร็วใน “ปรัชญา

การทดลอง” ที่เกิดขึ้นใหม่ในศตวรรษที่ 17 นั้นมีประวัติมาจากการ

หันหลังไปสนใจผลงานของนักปฏิบัติที่มีความคิดปราดเปรื่องทั้ง

หลายในอดีตไม่ใช่นักพูด ตั้งแต่ด้านการแพทย์ การช่าง การเหมือง

แร่ ไปจนถึงการผลิตกระสุนปืน แต่ในขณะที่ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

มักจะเกิดขึ้นจากความสนใจของช่างผู้ชำ

�นาญการเชิงปฏิบัติเหล่า

นั้น พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ก็ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่นอกเหนือ

ไปจากการทดลองเชิงช่างที่มีมาก่อนหน้านั้นหลายศตวรรษ วิธี

การให้เหตุผลเชิงตรรกะที่ใช้กันในวิชาคณิตศาสตร์ เช่น เรขาคณิต

หรือการทดสอบความถูกต้องของแนวความคิดหลักที่ตั้งไว้โดยใช้

ตรรกะซึ่งเรียกว่าการนิรนัยนั้น เมื่อนำ

�มาใช้ร่วมกับวิธีการทดลอง

ที่ได้มาจากการปฏิบัติเชิงช่างก็ทำ

�ให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้า

ได้อย่างรวดเร็ว ปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสองด้านดัง

กล่าวนั้น เป็นปัจจัยที่สำ

�คัญที่สุดของพัฒนาการทางด้านฟิสิกส์

ความสนใจเบี่ยงเบนจากการปฏิบัติทดลองเฉพาะหน้าเพื่อปรับปรุง

เครื่องจักรกลทั้งหลายไปสู่ความอยากรู้ว่าเครื่องจักรเหล่านั้นทำ

�งาน

ได้อย่างไร ความคิดหรือแนวความคิดหลักใหม่ ๆ เริ่มมีความสำ

�คัญ

ในการที่จะทำ

�ให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ความสอดประสานระหว่าง

การทดลองเชิงช่างกับการหาเหตุผลเกี่ยวกับการปฏิบัตินั้น ๆ ทำ

�ให้

เกิดเส้นใยของแนวความคิดหลัก โดยเส้นใยที่หลากหลายเหล่านั้น

ต่างก็สอดคล้อง สนับสนุน เชื่อมโยงซึ่งกันและกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

พร้อมไปกับที่ได้ข้อเท็จจริงจากการทดลองและการสังเกต ให้นำ

�มา

สอดประสานกันเพิ่มเติมมากขึ้น และนี่คือการก่อเกิดของนวัตกรรม

ของฟิสิกส์ตั้งแต่อดีตมา

ความเจริญรุ่งเรืองของฟิสิกส์ทั่วโลกในช่วง 400 ปีมานี้จะเห็น

ได้ว่าแลกมาด้วยความซื่อสัตย์ต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการ

ทดลอง ไม่ยอมที่จะบิดเบือนข้อเท็จจริงตามคำ

�สั่งของผู้มีอำ

�นาจไม่

ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม มิฉะนั้นความรู้ที่วิวัฒนาการมายุคต่อยุค

และก่อให้เกิดนวัตกรรมจะไม่พัฒนามาเป็นเช่นทุกวันนี้ ตัวอย่าง

ของบุคคลที่ต่อสู้กับระบบการบริหารหรือผู้มีอำ

�นาจที่ขัดกับความรู้

ฟิสิกส์ที่ประกาศออกมาเชิงประจักษ์ในอดีตประมาณ 400 ปีมาแล้ว

คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี ในยามชราผมหนวดเคราหงอกขาวโพลน ต้อง

มาคุกเข่าขอโทษต่อหน้าธารกำ

�นัลว่าสิ่งที่ตนประกาศนั้นผิด เพื่อแลก

กับการมีอากาศหายใจต่อไป แต่ความรู้ทุกชิ้นทุกเรื่องที่ท่านค้นพบยัง

คงพัฒนาต่อยอดมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ไอน์สไตน์

ก็เป็นตัวอย่างของนักฟิสิกส์ที่มีปัญหากับระบบบริหารประเทศและ

อำ

�นาจปกครอง ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สำ

�นักข่าวกรอง

กลางสหรัฐอเมริกาติดตามความเคลื่อนไหวด้วยความหวาดระแวง

หลังจากที่ประเทศอเมริกาตัดสินใจทำ

�ผิดต่อมวลมนุษยชาติโดยการ

ใช้ระเบิดปรมาณู และนั่นก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำ

�ให้ไอน์สไตน์เกลียด

อำ

�นาจบริหารจนปฏิเสธการเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล

และนี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้นวัตกรรมโดยสังคมที่ล้าหลัง

เพื่อนคุณครูครับ กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ (scientific

mind) โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process) นั้น

กำ

�หนดอย่างชัดเจนให้ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)

ทำ

�ให้เกิดสังคมวิทยาศาสตร์ (scientific society) ซึ่งเป็นสังคมที่

เจริญ และจากรายงานต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อส่อคุณภาพของประเทศ

จะเห็นความสอดคล้องกันระหว่างความเป็นสังคมวิทยาศาสตร์ มี

เหตุมีผลกับความเจริญทางอารยธรรมจะสอดรับประสานกัน กระผม

จึงวิงวอนขอเสนอแนวทางการใช้การเรียนการสอนฟิสิกส์เพื่อปลูก

ฝังความคิดและจิตสำ

�นึกที่ดีงาม ไม่ทุจริต ไม่คอร์รัปชัน รวมทั้งไม่

สนับสนุนให้เกิด และต้องซื่อสัตย์ต่อธรรมชาติ

เพื่อนคุณครูครับเมื่อปลายปี พ.ศ. 2555 องค์กรความโปร่งใส

ระหว่างประเทศ (ทีไอ) ได้จัดอันดับสถานการณ์การคอร์รัปชันของ

โลกประจำ

�ปี 2555 ในจำ

�นวน 176 ประเทศ ประเทศไทยได้อันดับ

ที่ 88 และได้ 37 คะแนนจาก 100 คะแนน อยู่ในระนาบเดียวกับ

ประเทศที่ล่มสลายอย่างกรีซ ประเทศที่ขึ้นชื่อทางยาเสพติดคือ

โคลัมเบีย ประเทศล้าหลัง คือเอลซัลวาดอร์และโมร็อกโก สอดรับ

กับผลสำ

�รวจของโพลหลายสำ

�นักที่พบว่า เยาวชนของชาติที่พวก

เราสอนกันอยู่นี้ พวกเขาและเธอเห็นการโกงเป็นเรื่องปกติถ้าตัวเอง

ได้รับประโยชน์ด้วย เพื่อนคุณครูครับ เรื่องนี้สำ

�คัญมาก เนื่องจาก

ผู้ใหญ่ทำ

�ตัวอย่างที่เลวให้เยาวชนเห็น และเยาวชนรับได้ด้วยความ

เคยชินนั้นแสดงว่าสังคมไทยจะเหลวไหลลงไปเรื่อยๆ ประเทศไทย

ใช้งบประมาณหลายพันล้านต่อปีในการพัฒนาการศึกษา พอเม็ดเงิน

ออกจากคลังแผ่นดิน ก็มีคณะบุคคลวางแผนคอร์รัปชันกันเป็นชั้น ๆ