Previous Page  4 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 4 / 62 Next Page
Page Background

1. สะเต็มศึกษา คืออะไร

สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีการ

บูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์

โดยที่การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาจะต้องมี

การบูรณาการพฤติกรรมที่ต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้นกับ

ผู้เรียนเข้ากับการเรียนรู้เนื้อหาด้วย พฤติกรรมเหล่านี้ รวมถึง

การกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการสืบเสาะหาความรู้ การ

ส�

ำรวจตรวจสอบ การคิดอย่างมีเหตุมีผลในเชิงตรรกะ รวม

ถึงทักษะของการเรียนรู้หรือการท�

ำงานแบบร่วมมือ ดังนั้น

จะพบว่าสะเต็มศึกษาไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นการจัดการ

เรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์

ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้สามารถน�

ำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์

จากการเรียนรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เป็นประโยชน์ต่อการ

ด�

ำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต

2. นักเรียนกลุ่มใดที่ควรได้รับการพัฒนาตาม

แนวทางของสะเต็มศึกษา

นักเรียนทุกคนสามารถได้รับการพัฒนาตามแนวทางของ

สะเต็มศึกษา เพราะสะเต็มศึกษาออกแบบมาเพื่อเพิ่มความ

เชี่ยวชาญส�

ำหรับนักเรียนทุกคนในทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มจ�

ำนวน

นักเรียนที่ได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสมส�

ำหรับ

การศึกษาและงานอาชีพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม

หรือคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องด้วยการศึกษาตามแนวทางสะเต็ม

ศึกษามีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้เรียนทั้งเพื่อการ

ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและเพื่อการอาชีพในศตวรรษที่ 21

3. โรงเรียนจะน�

ำสะเต็มศึกษาสู่การปฏิบัติได้

อย่างไร และสามารถน�

ำไปจัดเรียนรู้ในเวลาเรียน

ปกติได้หรือไม่

โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องตาม

แนวทางของสะเต็มศึกษาได้หลายรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นกิจกรรม

ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนในกรณีที่กิจกรรมนั้นใช้ระยะเวลาไม่มาก

หรือถ้ากิจกรรมนั้นใช้ระยะเวลามากอาจมอบหมายให้ท�

ำนอก

ชั้นเรียนร่วมด้วยก็ได้ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการมอบหมายให้

ออกแบบชิ้นงานกลุ่ม หรือในรูปของโครงงานก็ได้ โดยมีการ

ก�

ำหนดประเด็นปัญหาหรือหัวข้อที่สามารถเชื่อมโยงสู่การบู

รณาการความรู้ของเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาบท

เรียนตามความเหมาะสม เนื่องจากความรู้พื้นฐานของการ

ศึกษาตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือเนื้อหาสาระตามหลักสูตร

แกนกลางนั่นเอง ซึ่งครูควรจะยึดเนื้อหาสาระหลักนั้นเป็นฐาน

ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่น�

ำไปสู่การแก้ปัญหาใน

สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เกิด

ขึ้นในชีวิตจริง

ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสามารถ

จัดให้มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่มีการจัดการเรียนรู้ในชั่วโมง

เรียนปกติได้ และการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

ไม่ได้เข้าไปแทนที่หรือเพิ่มเติมจนเป็นส่วนเกินของหลักสูตร

กล่าวคือการจัดการเรียนรู้จะกลมกลืนและมีความเหมาะสม

กับการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชา เนื่องจากสะเต็มศึกษา

เป็นการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่ง

แก้ไขปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อฝึกประสบการณ์ ก่อให้

เกิดความคิดสร้างสรรค์ และอาจน�

ำไปสู่การสร้างนวัตกรรม

4. มีการก�

ำหนดมาตรฐานในการวัดผลการ

เรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาหรือไม่

ในขณะที่ยังไม่มีแนวทางการวัดผลตามแนวทางสะเต็ม

ศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นกรอบที่ถูกน�

ำมาใช้ในการวัด

และประเมินผลยังคงเป็นแนวความคิดหลักของวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี หลายท่านอาจเกิดความสงสัย

ว่าเพราะเหตุใดโรงเรียนจึงต้องน�

ำแนวทางการจัดการเรียนรู้

สะเต็มศึกษาไปใช้ในเมื่อยังไม่มีค�

ำอธิบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้

แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหากกระทรวงมีนโยบายให้โรงเรียนมี

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอย่างชัดเจนแล้ว

คงต้องมีแนวทางหรือตัวอย่างในการประเมินผลที่ชัดเจนขึ้น

อย่างแน่นอน แต่ในเบื้องต้นถ้าโรงเรียนใดมีการฝึกปฏิบัติ

ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาอย่างแท้จริงแล้วท�

ำให้นักเรียน

มีคุณลักษณะทั้งทางทักษะและแนวความคิดหลักต่าง ๆ ที่

สามารถวัดและประเมินผลได้ ก็สามารถก�

ำหนดเป็นแนวทาง

ของการวัดและประเมินผลเพิ่มเติมได้

นิตยสาร สสวท.

4