Previous Page  9 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 9 / 62 Next Page
Page Background

จริง ๆ แล้วขั้นตอนเหล่านี้เชื่อมโยงกันตลอดเวลา ดังจะเห็น

ได้จาก การประเมินผล (ส่วนที่ 3) ที่ปกติเราจะนึกถึงการใช้

การประเมินผลส�

าหรับประเมินข้อมูลที่เก็บได้หลังจากการ

ทดลอง ในที่นี้การประเมินผลมีความหมายกว้างกว่านั้น โดยที่

นักเรียนต้องใช้การประเมินผลในทุก ๆ ส่วนของแนวปฏิบัติทาง

วิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เช่น นักเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ต้อง

ร่วมกัน วิเคราะห์ วิจารณ์ อภิปราย โต้แย้ง ค�

าถามที่สร้างขึ้น

ว่าน่าสนใจเพียงใด เป็นค�

าถามที่สามารถหาค�

าตอบได้ด้วยวิธี

ใด เมื่อออกแบบการทดลองก็ต้องมาวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อด้อย

ของวิธีการทดลองนั้น ๆ นักเรียนต้องใช้ทักษะการประเมินผล

นี้ไปในทุก ๆ ขั้นตอนจนกระทั่งได้ค�

าตอบ หรือแนวทางการ

แก้ปัญหาทางวิศวกรรมที่ต้องการ

บทสรุป

ถ้าจะให้ตอบค�

าถามว่ามีอะไรใหม่ในแนวปฏิบัติทาง

วิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ค�

าตอบสั้น ๆ ก็คือ

“ไม่”

สิ่งที่

ปรากฏอยู่ในแนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่

สภาวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้น�

าเสนอขึ้นมานั้น ไม่ได้

มีอะไรแปลกใหม่ให้นักวิชาการ ครูและนักเรียนต้องตระหนก

ตกใจไปแต่อย่างใด ในทางกลับกัน แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์

และวิศวกรรมกลับมีความคล้ายคลึงกับกระบวนการสืบเสาะ

หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก

ถึงแม้ค�

าว่า Inquiry เหมือนจะถูกละทิ้งไปในมาตรฐาน

วิทยาศาสตร์ศึกษายุคใหม่นี้ แต่หัวใจและกระบวนการ

จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะก็ไม่ได้หายไปไหน แนวปฏิบัติทาง

วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่สร้างขึ้นใหม่นี้ยังคงไว้ซึ่งหัวใจ

หลักของกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ แต่แนว

ปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ถูกน�

าเสนอขึ้นมาใหม่

นี้ได้เพิ่มส่วนของ กระบวนการวิเคราะห์ วิจารณ์ โต้แย้ง ใน

ทุก ๆ ขั้นตอนของการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และ

แก้ปัญหาทางวิศวกรรม อีกทั้งยังให้ความส�

าคัญของการใช้

แบบจ�

าลองทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในห้องเรียนมาก

ยิ่งขึ้น สภาวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเสนอแนวปฏิบัติ

ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมนี้โดยจงใจหลีกเลี่ยงการใช้ค�

ว่า Inquiry ก็เพื่อขจัดความสับสนที่เกิดขึ้นจากเทคนิควิธีการ

สอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ (Inquiry-Based Instruction)

ที่มีอยู่มากมาย ให้มีความเข้าใจตรงกัน และเชื่อมโยงแนว

ปฏิบัติทางวิศวกรรมเข้าสู่แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้

มีการจัดการเรียนรู้ส�

าหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่าง

มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม

National Research Council. (1996).

National science education

standards

. Washington, DC: National Academies Press.

National Research Council. (2000).

Inquiry and the National

Science Education Standards: A guide for teaching and

learning

. Washington, DC: National Academies Press.

National Research Council. (2012).

A Framework for K-12

Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and

Core Ideas.

Washington, DC: National Academies Press.

National Research Council. (2013).

Next Generation Science

Standards: For States, By States

. Washington, DC: The

National Academies Press.

ส�

านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.

(2551).

ตัวชี้วัดและสำระกำรเรียนรู้แกนกลำง กลุ่มสำระ

กำรเรียนรู้วิทยำศำสตร์ ตำมหลักสูตรแกนกลำงกำรศึกษำขั้น

พื้นฐำน พุทธศักรำช 2551

. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชน

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�

ากัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2549).

เอกสำร

ประกอบกำรประชุมปฏิบัติกำรเผยแพร่ขยำยผลและอบรมรูปแบบ

กำรจัดกระบวนกำรเรียนรู้แบบวัฏจักรกำรสืบเสำะหำควำมรู้ 5

ขั้นตอน เพื่อ พัฒนำกระบวนกำรคิดระดับสูง

. กรุงเทพมหานคร:

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ปีที่ 42 ฉบับที่ 186 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

9