Previous Page  7 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 7 / 62 Next Page
Page Background

ในส่วนของประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ ได้

อธิบายว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

(Inquiry process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้าง

องค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ

และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ เช่น การ

ส�

ารวจ การสังเกต การวัด การจ�

าแนกประเภท การทดลอง

การสร้างแบบจ�

าลอง การสืบค้นข้อมูล (สถาบันส่งเสริมการ

สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2549; ส�

านักวิชาการและ

มาตรฐานการศึกษา, 2551)

จากค�

านิยามของ Inquiry หรือ การสืบเสาะหาความ

รู้ เราจะพบว่า Inquiry ถูกนิยามไว้กว้างๆ ครอบคลุมถึงทุก

กระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการหาค�

าตอบเกี่ยวกับ

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งอาจท�

าให้เกิดความคลุมเครือ

ในการท�

าความเข้าใจและการน�

าไปปฏิบัติจริงในห้องเรียน

ด้วยเหตุนี้เอง สภาวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จึงได้เพิ่ม

5 ลักษณะเฉพาะของห้องเรียนแบบสืบเสาะ เพื่อให้คณะครู

และนักวิชาการการศึกษา ได้มองเห็นภาพ ที่ชัดเจนและเข้าใจ

ห้องเรียนแบบ Inquiry มากยิ่งขึ้น

5 ลักษณะเฉพาะของห้องเรียนแบบสืบเสาะ (Essential

features of classroom inquiry) ที่ถูกเพิ่มขึ้นมาในปี พ.ศ.

2543 (NRC, 2000) คือ

1. ผู้เรียนมีความสนใจในค�

าถามทางวิทยาศาสตร์

(Learner engages in scientifically oriented questions)

2. ผู้เรียนให้ความส�

าคัญกับหลักฐานที่ใช้ตอบค�

าถาม

ทางวิทยาศาสตร์ (Leaner gives priority to evidence in

responding to questions)

3. ผู้เรียนสร้างค�

าอธิบายจากหลักฐานที่มีอยู่ (Learner

formulates explanations from evidence)

4. ผู้เรียนเชื่อมต่อค�

าอธิบายเข้ากับหลักการ ความรู้

ทางวิทยาศาสตร์ (Leaner connects explanations to

scientific knowledge)

5. ผู้เรียนสื่อสาร ถ่ายทอด และแสดงให้เห็นถึงความ

สมเหตุสมผลของค�

าอธิบายที่สร้างขึ้น (Learner commu-

nicates and justifies explanations)

นอกจากนี้ ดังที่กล่าวไปข้างต้น นักวิชาการการศึกษาหลาย

แขนง ได้คิดค้น แนะน�

า เทคนิคและวิธีการสอนอีกมากมายที่

สอดคล้องกับหัวใจของการสอนแบบสืบเสาะ เช่น การจัดการ

เรียนรู้แบบ 5E, Problem-Based Learning, Project-Based

Learning, Model-Based Learning, Argument-Based

Inquiry ด้วยความหวังว่าจะช่วยให้ครูประสบความส�

าเร็จ

ในการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะในห้องเรียนและมี

ประสิทธิภาพ และช่วยผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงหลักการและ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง แต่ในความเป็น

จริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ด้วยจ�

านวนเทคนิคและวิธีการสอน

วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะที่มีมากมายนี้กลับสร้างปัญหาและ

ความสับสนให้กับครูมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

สภาวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกาเข้าใจถึงความสับสน

และความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นในหมู่แวดวงการศึกษา จึงได้มี

ความพยายามจะสางปมปัญหานี้ด้วยการน�

าเสนอมาตรฐาน

วิทยาศาสตร์ศึกษายุคใหม่ (Next Generation Science

Standards: NGSS) ที่ให้ความส�

าคัญกับ 3 เสาหลัก ได้แก่

1. แนวคิดแกนหลักของสาขาวิชา (Disciplinary Core Ideas)

2. แนวคิดเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชา (Crosscutting Con-

cepts) และ 3. แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม

(Science and Engineering Practices) ข้อสังเกตหนึ่งที่เรา

พบจาก แนวคิด และเนื้อหาที่ปรากฏใน NGSS คือแทบจะ

ไม่มีการกล่าวถึงการสอนแบบสืบเสาะ หรือ Inquiry อีกเลย

แต่กลับพบว่ามีการใช้ค�

าว่า แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์และ

ปีที่ 42 ฉบับที่ 186 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

7