

5. สะเต็มศึกษาช่วยพัฒนาหรือเพิ่มขีดความ
สามารถของนักเรียนอย่างไร
มีคนจ�
านวนมากอาจข้องใจว่าการจัดการเรียนรู้ตาม
แนวทางสะเต็มศึกษาจะช่วยยกระดับหรือเพิ่มศักยภาพของ
ผู้เรียนได้หรือไม่ อย่างไร
ตามที่ได้กล่าวแล้วว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง
สะเต็มศึกษา นอกจากการบูรณาการด้านเนื้อหาวิชาแล้วยังได้
น�
าหลักการและทักษะ กระบวนการคิด การออกแบบ การแก้
ปัญหา การให้เหตุผลต่าง ๆ ทางวิศวกรรม มาบูรณาการร่วม
ด้วยทั้งในระดับชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลาย นักเรียนจะได้เรียนรู้และก่อให้เกิดทักษะต่าง ๆ
ที่สามารถน�
าไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย และ
การบรูณาการกระบวนการทางวิศวกรรมและการแก้ปัญหา
ไปในรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นการเชื่อมโยง
หลักสูตรไปสู่โลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งน�
าไปสู่เป้าประสงค์
ที่แท้จริงของการเรียนรู้และการแก้ปัญหา นักเรียนที่มีความ
รู้ ความเชี่ยวชาญทางสะเต็มจะสามารถตอบค�
าถาม หรือแก้
ปัญหาที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น สามารถส�
ารวจตรวจสอบในประเด็น
ข้อสงสัยต่าง ๆ และพัฒนาไปสู่การแก้ปัญหาที่ท้าทายและ
ปัญหาในโลกที่เป็นจริง ในขณะเดียวกันก็สามารถประยุกต์ใช้
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์
ในด้าน อื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้นักเรียนที่มีความ
ช�
านาญหรือเชี่ยวชาญทางสะเต็มยังมีคุณสมบัติของการเป็น
นักคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นนักสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
และขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี ทาง
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ดังนั้นครูควรพยายามน�
ายุทธศาสตร์ต่าง ๆ ของการ
จัดการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อ
อ�
านวยความสะดวกในการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการทั้งแนว
ความคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการ
ทางวิศวกรรม โดยน�
าเทคโนโลยีมาเอื้อประโยชน์ต่อการเรียน
รู้ รวมทั้งการจัดบรรยากาศให้เป็นชั้นเรียนส�
าหรับนวัตกรรม
และการออกแบบของผู้เรียนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่
เป็นเชิงบูรณาการ (Rockland และคณะ, 2010)
ในหลาย ๆ ประเทศ จึงให้ความส�
าคัญกับการจัดกิจกรรม
ที่มีการเตรียมความพร้อมให้กับครูให้สามารถจัดการเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามสะเต็มศึกษานี้คือแนว
โน้มหรือกระแสความต้องการที่ก�
าลังเกิดขึ้น แม้ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาเองก็มีนักการศึกษาบางส่วนที่วิพากษ์ถึงการ
จัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาว่าเป็นกระแส
นิยมและจะส่งผลกระทบน้อยมากในระบบถ้าหากว่าไม่มี
มาตรฐานที่จะน�
ามาใช้ในการวัดและประเมินผล ซึ่งจะท�
าให้
ครูและนักเรียนส่วนใหญ่ไม่เกิดความตระหนักและไม่เห็นความ
ส�
าคัญของการจัดกิจกรรมตามแนวทางสะเต็มศึกษาสู่ชั้นเรียน
ดังนั้นประเทศไทยเราก็ควรตระหนักในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน
และควรส่งเสริมให้มีโครงการที่พัฒนาครูให้เกิดความตระหนัก
และเห็นถึงความส�
าคัญของการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้
ตามแนวทางสะเต็มศึกษาและควรมีแนวทางในการส่งเสริมให้
ครูน�
าวิธีการและทักษะเหล่านั้นสู่ชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
บรรณานุกรม
Maryland STEM: Innovation Today to Meet Tomorrow’s
Global Challenges. STEM Education Frequently Asked
Questions. Retrieved January 10, 2014, from http://
mdk12.org/instruction/curriculum/STEM/pdf/STEM_Frequently_Asked_Questions.pdf
Meyrick, Kristy M. (2011). How STEM Education Improve
& Student Learning.
Meridian K-12 School Computer
Technologies Journal
,
14
(1).
Rockland, R., Bloom, D. S., Carpinelli, J., Burr-Alexander,
L., Hirsch, L. S., & Kimmel, H. (2010). Advancing the
“E” in K-12 STEM Education.
Journal of Technology
Studies
,
36
(1), 53-64.
ปีที่ 42 ฉบับที่ 186 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2557
5