

44
นิตยสาร สสวท.
ช่างท�
ำนาฬิกาจากแคว้นยอร์กเชียร์ก็สามารถประดิษฐ์นาฬิกาเดิน
เรือที่ชื่อ H1 ที่มีความแม่นย�
ำขึ้นมาได้ โดยเขาได้ดัดแปลงกลไก
การใช้ลูกตุ้มแกว่งของนาฬิกาบก มาเป็นการใช้ตุ้มดัมเบลล์โลหะ
สองลูกเชื่อมต่อกันแทน พร้อมทั้งได้ปรับกลไกของเฟืองด้วยการ
ใช้ซี่โลหะรูปร่างคล้ายขาตั๊กแตนมาบังคับการหมุน ท�
ำให้นาฬิกา
H1 ของเขาสามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงที่สุดเท่าที่มีการ
สร้างมา แม้ว่าจะยังไม่ถึงระดับความแม่นย�
ำที่จะได้รับรางวัล
ก็ตาม อย่างไรก็ดี John Harrison ก็ยังได้รับเงินรางวัลปลอบใจ
จากรัฐบาลอังกฤษเป็นจ�
ำนวน 500 ปอนด์ เพื่อเป็นทุนในการ
พัฒนานาฬิกา H1 ให้แม่นย�
ำขึ้น จนในที่สุดเขาก็สามารถผลิต
นาฬิกาเดินเรือขนาดเล็กที่มีกลไกแบบนาฬิกาข้อมือซึ่งใช้สปริง
เป็นกลไกในการควบคุมเวลาซึ่งเรียกว่า H4 และสามารถรักษา
ความเที่ยงตรงได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิ ความชื้น
แรงเสียดทานหรือแม้แต่การเคลื่อนที่ของเรือ ท�
ำให้เขาได้รับเงิน
รางวัลที่เหลือไปในที่สุด ซึ่งพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์แห่งนี้ก็ได้จัด
แสดงนาฬิกาเดินเรือรุ่นต่าง ๆ ของ
John Harrison ตั้งแต่รุ่น H1 ถึง
H4 ให้ผู้ชมได้เห็นถึงวิวัฒนาการ
และความพยายามของนักประดิษฐ์
ท่านนี้อีกด้วย
วิวัฒนาการนาฬิกาเดินเรือของ John Harrison รุ่น H1-H4
รายละเอียดขั้นตอนของการพัฒนานาฬิกาที่สามารถบอก
เวลาในสภาพต่าง ๆ โดยเฉพาะในระหว่างการเดินเรือได้อย่าง
เที่ยงตรงที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์แห่งนี้ ท�
ำให้เราเห็น
ว่ากว่าที่นักประดิษฐ์จะคิดค้นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่าง
ที่เราใช้กันในปัจจุบัน ก็ต้องผ่านการคิดแก้ปัญหาลองผิดลอง
ถูกกันเป็นเวลายาวนาน ซึ่งหลังจากที่ John Harrison สามารถ
พัฒนาต้นแบบของนาฬิกาพกหรือนาฬิกาข้อมือในปัจจุบันได้
แล้ว นิทรรศการประวัติศาสตร์การสร้างเครี่องมือบอกเวลาก็ยัง
มีการแสดงวิทยาการใหม่ ๆ ที่ให้ความแม่นย�
ำในการบอกเวลา
มากขึ้น อาทิ การใช้เครื่องสั่นอิเล็กทรอนิกส์ของผลึกแร่ควอตซ์
การวัดเวลาด้วยอะตอม และเทคโนโลยีล่าสุดคือการยิงเลเซอร์
ไปวัดคาบการสั่นของอนุภาคอิออนเดี่ยวในสนามของแรงซึ่ง
สามารถให้ความละเอียดแม่นย�
ำในระดับผิดพลาดเพียงแค่ 1
วินาทีในหนึ่งร้อยล้านปี
นอกจากเรื่องราวสนุก ๆ ของการคิดค้นเครื่องมือบอกเวลา
ต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ที่หอดูดาวกรีนิชนี้
ยังมีการจัดแสดงนาฬิกาแดดรูปปลาโลมาที่ใช้เงาของหางปลา
คอยชี้บอกเวลา รวมทั้งนาฬิกาโบราณที่มีเลขบนหน้าปัดตั้งแต่
0 ถึง 23 ชั่วโมงแสดงให้ดูอีกด้วย
นาฬิกาแดดรูปปลาโลมา นาฬิกา 24 ชั่วโมง
ในส่วนด้านข้างของอาคาร Flamsteed House ก็ยังมีการ
แสดงห้องมืดส�
ำหรับสังเกตการณ์ที่เรียกว่า Camera Obscura
ซึ่งอาศัยหลักการสะท้อนแสงผ่านกระจกและเลนส์ project ภาพ
สะท้อนผ่านรูแคบ ๆ บริเวณโดมของตัวอาคารซึ่งปิดทึบและมืด
สนิทส่องลงบนโต๊ะที่ตั้งไว้กลางห้อง โดยภาพที่ปรากฏบนโต๊ะ
นั้นจะเป็นภาพสะท้อนของอาคาร Queen’s House ซึ่งตั้งอยู่
อีกฟากถนนหนึ่ง ท�
ำให้ผู้ชมสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เกิด
ขึ้นภายนอกได้ แม้จะอยู่ใน
ห้องที่ปิดมิดชิด หลักการของ
Camera Obscura นี้ถือเป็นต้น
ก�
ำเนิดของกล้องถ่ายรูปที่ใช้
กันในปัจจุบัน แสดงให้เห็น
ถึงความคิดสร้างสรรค์ในการ
เล่นกับหลักการสะท้อนของ
แสงผ่านกระจกและเลนส์มา
ประยุกต์ใช้ในการช่วยการมอง
เห็นวิธีต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจ
ทางเข้า Camera Obscura