

45
ปีที่ 42 ฉบับที่ 187 มีนาคม - เมษายน 2557
ช่องรับแสง ภาพสะท้อนบนโต๊ะ
ไม่เพียงแต่จะเป็นมาตรฐานในการบอกเวลาส�
ำหรับ
ชาวอังกฤษ มาตั้งแต่สมัยยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 เท่านั้น หอดูดาว
เมืองกรีนิชยังท�
ำหน้าที่เป็นผู้ให้มาตรฐานด้านการวัดความยาว
ด้วยการใช้หมุดโลหะแสดงระยะตามหน่วยวัดที่นิยมใช้ในประเทศ
อังกฤษ ซึ่งประกอบ
ด้วย ความยาวหนึ่ง
หลาอังกฤษ ความ
ยาวสองฟุต หนึ่งฟุต
หกนิ้ว และสามนิ้ว
ให้ผู้คนมาเทียบ
วัดกันได้บริเวณ
ทางเข้าหอดูดาว
มาตรฐานความยาวที่นิยมใช้กันในอังกฤษ
ส่วนพื้นที่เด็ดที่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หอดูดาวแห่งนี้จะพลาด
ถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกไม่ได้ก็คือบริเวณลานหน้าอาคาร
Flamsteed House ที่แสดงเส้นลองจิจูด 0 องศา ซึ่งนักท่อง
เที่ยวสามารถยืนแยกขาตั้งท่าพิชิตซีกโลกทั้งซ้ายและขวาหน้า
ประติมากรรมโลหะแสดงจุดผ่านของเส้นลองจิจูดกันอย่างเท่
โดยทางหอดูดาวก็ได้ติดป้ายแสดงจุดเริ่มต้นของเส้นเมริเดียน
ปฐมด้วยแถบสีแดงก่อนจะลากต่อลงมาเป็นแถบโลหะสีทองบน
พื้นลาน ซึ่งบนป้ายแสดงเส้นเมริเดียนปฐมหรือ Prime Meridian
of the World นี้ก็มีการระบุต�
ำแหน่งลองจิจูดที่ 0 องศา 0 ลิปดา
0 ฟิลิปดา และละติจูดที่ 51 องศา 28 ลิปดา 38 ฟิลิปดา เหนือ
อย่างชัดเจน ทั้งยังมีการแบ่งซีกโลกเป็นฝั่งตะวันออกและตะวัน
ตกอย่างเด่นชัดอีกด้วย โดยบริเวณพื้นที่มีการตีด้วยเส้นโลหะสี
ทองก็มีการบอกพิกัดลองจิจูดของเมืองส�
ำคัญ ๆ ต่าง ๆ ว่าอยู่
ห่างจากหอดูดาวต�
ำบลกรีนิชแห่งนี้ไปกี่องศา ซึ่งประเทศไทย
ของเราก็ไม่น้อยหน้าเพราะมีการแจ้งพิกัดของกรุงเทพมหานคร
เอาไว้ที่ 100 องศา 30 ลิปดา ตะวันออกด้วย
เส้นเมริเดียนปฐม ต�
ำแหน่งลองจิจูดของกรุงเทพมหานคร
ถ่ายรูปกับเส้นลองจิจูดแบ่งซีกโลก
นอกเหนือจากจะได้ถ่ายรูปกับเส้นเมริเดียนปฐมอันเป็นจุด
ก�
ำเนิดของเส้นแบ่งเวลาโลกแล้ว ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ยังสามารถ
สั่งประกาศนียบัตรที่ระลึกเพื่อเป็นการยืนยันว่าได้มาพิชิตเส้น
แบ่งซีกโลก ณ ลองจิจูดที่ 0 องศา 0 ลิปดา 0 ฟิลิปดา ณ วันที่
เท่าไหร่ เวลาใด ในราคาเพียงแค่ 1 ปอนด์
ซึ่งโอกาสดี ๆ อย่างนี้ผมเองก็ไม่ขอพลาด
ขอสั่งประกาศนียบัตรจากเจ้าหน้าที่เพื่อ
ยืนยันว่าได้มาเยือนสถานที่ส�
ำคัญทาง
ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์แห่งนี้ เมื่อวันที่
5 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:46:1058
นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่นที่ต�
ำบลกรีนิช
ประกาศนียบัตรจากหอดูดาวกรีนิช
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์แห่ง
นี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่คนรักวิทยาศาสตร์ทั้ง
หลายไม่ควรพลาด โดยสามารถไปเยี่ยมชมกันได้ด้วยการเดิน
ทางไปยังสถานี DLR ชื่อ Cutty Sark แล้วเดินไปตามป้ายบอก
ทางอีกเพียงประมาณ 10 นาทีเท่านั้นครับ
บรรณานุกรม
Classroom Resources. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2556, จาก
http://www.rmg.co.uk/schools/royal-observatory/classroom-resources
What’s on guide Royal Museum Greenwich. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2556,
จาก
http://www.rmg.co.uk/whats-on/whats-on-guide