

50
ทั้ง ๆ ที่มีอุปสรรคมากมาย เช่น หาเนื้อเยื่อมาทดลองได้ยาก
(คนไม่เชื่อฝีมือ) ห้องทดลองไม่พร้อมเพรียงด้วยอุปกรณ์ ไม่มีทุน
วิจัยสนับสนุนจากรัฐบาล และถูกสังคมรวมถึงเพื่อนร่วมงานต่อต้าน
เพราะคิดว่าผิดจริยธรรม Edwards ก็ยังเดินหน้าทดลองต่อไป
ในปี ค.ศ.1968 Edwards ก็ประสบความส�
ำเร็จในการท�
ำให้
ไข่มนุษย์ได้รับการปฏิสนธิในหลอดทดลอง
แต่เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปถึงสังคมภายนอกมหาวิทยาลัย
งานวิจัยของ Edwards ก็ได้รับการต่อต้านจากสังคมมาก
เพราะบรรดานักจริยธรรม สถาบันศาสนา สื่อ และประชาชน
ทั่วไปล้วนมีความเห็นว่า การทดลองเรื่องนี้อาจท�
ำให้ได้ทารกที่
พิการ หรือได้เด็กที่มีจิตใจผิดปกติ นอกจากนี้การทดลองยัง
ก้าวก่ายบทบาทในการสร้างมนุษย์ของพระเจ้าด้วย เพราะ Ed-
wards ก�
ำลังพยายามจะเล่นบทบาทเป็นพระเจ้าเสียเอง โดยใช้
เซลล์ตัวอ่อนเป็นวัสดุวิจัย ซึ่งเซลล์ตัวอ่อนนี้ในภายหลังจะเจริญ
เติบโตเป็นมนุษย์ ดังนั้นถ้าตัวอ่อนตาย นั่นคือการฆ่า “คน”
ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ผิดจริยธรรมมาก และเมื่อ Edwards บอกว่า
เขาไม่สามารถรับประกันความปลอดภัย หรือความส�
ำเร็จใด ๆ ได้
100% บรรดานักเคลื่อนไหวทั้งหลายจึงประกาศฟ้อง Edwards
ต่อศาล จนบางวันเขาถูกฟ้องถึง 8 ศาล แต่ทุกศาลก็ตัดสินให้
Edwards ชนะคดีความทุกครั้งไป กระนั้นความกังวลใจที่สังคม
ต่อต้านนี้ ได้ชะลอความก้าวหน้าในการท�
ำงานวิจัยพอสมควร
ในการทดลองระยะแรก ๆ Edwards ไม่ประสพผลส�
ำเร็จเลย
เพราะเซลล์ไข่ที่สุก เมื่อได้รับการปฏิสนธิด้วยเชื้ออสุจิในหลอด
ทดลอง แล้วถูกน�
ำกลับไปฝังในโพรงมดลูก มักไม่ติด จึงไม่มี
การตั้งครรภ์
แต่ Edwards ก็ได้พยายามเปลี่ยนตัวแปรต่าง ๆ จนได้พบว่า
ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด เขาต้องใช้ไข่ที่สุก ในช่วงเวลาที่สตรีก�
ำลังมี
ประจ�
ำเดือนตามธรรมชาติ และสภาพของสารละลายแวดล้อม
ที่ไข่จะเติบโตต้องเหมาะสม นอกจากนี้เชื้อตัวผู้ก็ต้องแข็งแรง
และสมบูรณ์ด้วย
องค์ความรู้เหล่านี้ได้ช่วยท�
ำให้โลกได้เห็นทารกหลอดแก้ว
เป็นครั้งแรก เมื่อเวลา 11.47 น. ของวันที่ 26 กรกฎาคม
ค.ศ.1978 ทารกเพศหญิงชื่อ Louis Brown ได้ถือก�
ำเนิดที่
Oldham General Hospital ในอังกฤษ ข่าวยิ่งใหญ่นี้ได้ถูกน�
ำ
ไปเผยแพร่ในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทั่วโลก ท่ามกลางเสียง
วิพากษ์วิจารณ์ซึ่งมีทั้งต่อต้านชื่นชมและวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆนานา
หลังจากประสบความส�
ำเร็จได้ไม่นาน Edwards กับ Steptoe
ก็ได้รับข่าวร้ายว่า ทีมวิจัยของเขาที่ท�
ำงานเรื่องนี้จะไม่ได้รับทุน
สนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษอีกต่อไป ทั้งสองจึงขอทุนวิจัยจาก
องค์กรเอกชน และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี จึงได้จัดตั้ง
คลินิกเด็กหลอดแก้วที่ Bourn Hall Clinic ในมหาวิทยาลัย
Cambridge ส�
ำหรับฝึกนักชีววิทยา และนักนรีเวชวิทยาจากทั่วโลก
ให้มีความเชี่ยวชาญด้าน IVF เพื่อช่วยสามี-ภรรยาที่น่าสงสาร
ทั่วโลกที่ไม่มีโชคให้มีลูกได้สมหวังเสียที
ในปี ค.ศ.1984 Edwards ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ
The Royal Society (F.R.S. : Fellows Of The Royal Society U.K.)
หลังจากได้ท�
ำงานร่วมกันมานานประมาณ 20 ปี จนประสบ
ความส�
ำเร็จเป็นอย่างดี Steptoe ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1988 (ถ้ายังมี
ชีวิตอยู่ เขาต้องได้รับรางวัลโนเบลร่วมกับ Edwards อย่างแน่นอน)
ในปี ค.ศ. 2001 Edwards ได้รับรางวัล Albert Lasker
Clinical Medical Research Award ซึ่งวงการแพทย์ถือว่าเป็น
รางวัลที่จะน�
ำไปสู่การยอมรับอย่างสมบูรณ์ นั่นคือรางวัลโนเบล
แล้วความคาดหวังของทุกคนก็เป็นจริง เพราะในวันที่ 4
ตุลาคม ค.ศ.2010 สถาบันโนเบลแห่งสวีเดนได้ประกาศว่า
Edwards คือ ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจ�
ำปี
ค.ศ. 2010 อีกหนึ่งปีต่อมา Edwards ก็ได้รับโปรดเกล้าให้ด�
ำรง
ต�
ำแหน่งเป็น Sir Robert Geoffrey Edwards
ส�
ำหรับการสร้างทายาทด้วยตนเอง (ตามวิธีธรรมชาติ)
นั้น Edwards มีลูกสาว 5 คน และหลาน 12 คน
บรรณานุกรม
Fauser, Bart และ Devroey, Paul. (2011).
Baby – Making:
What the new reproductive treatments mean for family
and society.
Oxford University Press.
(ที่มา
http://i.huffpost.com/gen/1079491/thumbs/o-ROBERT-G-EDWARDS-facebook.jpg)