

49
ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน
ราชบัณฑิต ส�
ำนักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
Robert G. Edwards
ผู้บุกเบิกวิทยาการการปฏิสนธิของทารกในหลอดแก้ว
เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.2013 Robert G. Edwards ได้เสียชีวิต
ลงอย่างสงบในวัย87ปีด้วยโรคปอดอักเสบที่บ้านใกล้เมืองCambridge
ในประเทศอังกฤษ เขาคือบุคคลผู้บุกเบิกสู่ยุคการปฏิสนธิของทารก
ในหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization IVF) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้าน
การสืบพันธุ์รูปแบบใหม่ ผลงานนี้ท�
ำให้ Edwards ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาการแพทย์ประจ�
ำปีค.ศ. 2010 เพราะเทคนิค IVF ของ Edwards
กับเพื่อนร่วมงานชื่อ Patrick Steptoe และ Jean Purdy สามารถ
บันดาลให้คู่สมรสที่ไม่สามารถให้ก�
ำเนิดทารกโดยวิธีธรรมชาติ
สามารถมีทายาทของตนเองได้นับถึงวันนี้ทารกที่ถือก�
ำเนิดด้วยวิธี IVF
มีมากถึงปีละ 5 ล้านคนแล้ว และมีแนวโน้มจะเพิ่มจ�
ำนวนมากขึ้นทุกปี
แต่เมื่อถึงวันที่รับรางวัลโนเบลคือวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.2010
ก็มีเหตุการณ์ที่น่าเสียใจคือ Edwards ไม่สามารถเดินทางไปรับรางวัล
ระดับสุดยอดที่ Stockholm ด้วยตนเองได้ เพราะป่วยด้วยโรคความ
จ�
ำเสื่อมระดับรุนแรงมานาน และไม่รู้ด้วยซ�้
ำว่า ในปีนั้นตนคือผู้พิชิต
รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ส่วนศัลยแพทย์ Patrick Steptoe และ
Jean Purdy ได้เสียชีวิตไปก่อนนั้นนานแล้ว ดังนั้นภรรยาชื่อ Ruth
Fowler Edwards (ผู้เป็นหลานสาวของ Ernest Rutherfordนักฟิสิกส์
ผู้พบนิวเคลียสในอะตอม และเป็นลูกสาวของ Ralph Fowler นัก
ฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียง) จึงเดินทางไปรับรางวัลแทน และเธอได้มอบให้
MartinJohnsonซึ่งได้ท�
ำงานวิจัยเรื่องนี้ร่วมกับEdwards เป็นเวลานาน
แสดงปาฐกถาเรื่องแรงดลใจและผลงานของ Edwards ให้ผู้เข้าร่วมพิธี
มอบรางวัลโนเบลฟัง
Robert Geoffrey Edwards เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน
ค.ศ.1925 ที่เมือง Batley ใน Yorkshire ประเทศอังกฤษ เพราะ
บิดาของ Edwards ย้ายที่ท�
ำงานบ่อย ดังนั้น Edwards จึงต้อง
ย้ายโรงเรียนเนือง ๆ จากเมือง Witney ไป Manchester High
School เพื่อเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา แล้วศึกษาต่อระดับ
ปริญญาตรีด้านชีววิทยาที่มหาวิทยาลัย Bangor ใน Wales จากนั้น
ได้ศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาพันธุศาสตร์และคัพภวิทยา
(embryology) ที่มหาวิทยาลัย EdinburghจนจบปริญญาเอกPh.D.
เมื่ออายุ 30 ปี หลังส�
ำเร็จการศึกษาได้ทุนวิจัยของมูลนิธิ Ford
ไปท�
ำงานวิจัยที่ Churchill College แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge
ในปีค.ศ. 1963 บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่นั่นได้ท�
ำให้Edwards
รู้สึกเป็นสุขและพึงพอใจมาก จึงท�
ำงานประจ�
ำที่นั่นจนเกษียณ
ระหว่างศึกษาปริญญาเอกนั้น Edwards เคยสนใจเรื่องความ
เป็นไปได้ที่จะสร้ างเด็กหลอดแก้ว เพื่อช่วยสามีภรรยาที่
ไม่สามารถมีทายาทได้ตามธรรมชาติ และเมื่อส�
ำเร็จการศึกษา
ความคิดนี้ก็ได้หวนกลับมาหาเขาอีก จึงคิดจะน�
ำเซลล์ไข่ (oocyte)
จากรังไข่สตรีมาทดลองในหลอดแก้ว โดยได้รับความช่วยเหลือ
จาก Patrick Steptoe ซึ่งเป็นสูตินารีแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้าน
laparoscopy (การผ่าช่องท้อง) ในการน�
ำเซลล์ไข่ (oocyte)
ของมนุษย์มาทดลอง
หลังจากความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า ในปี ค.ศ. 1965
Edwards ก็ประสบความส�
ำเร็จในการท�
ำให้เนื้อเยื่อรังไข่ซึ่งได้
จากการผ่าตัดสร้างเซลล์ไข่ได้หลายเซลล์ และรู้สึกดีใจเป็นล้นพ้น
หลังจากเฝ้าคอยอยู่นานประมาณ 25 ชั่วโมง ก็รู้ว่าการท�
ำ IVF
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
(ที่มา:
http://alumniconnections.com/olc/filelib/HAA/cpages/44/Library/webpics/H57-118.jpgX
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่่อนไหว