Previous Page  8 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 8 / 62 Next Page
Page Background

ภาพความเสียหายของวัดในจังหวัดเชียงราย

(ที่มา:

http://www.oknation.net)

ภาพแสดงรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

ภาพจากกรมทรัพยากรธรณี

ภาพแสดงพื้นที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ภาพจากกรมทรัพยากรธรณี

8

หลังจากที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมาเป็นเวลานาน

มนุษย์จึงมีการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer)

ท�

ำการตรวจวัดขนาด หรือแอมพลิจูดของคลื่นไหวสะเทือน

ซึ่งมีทั้งแบบแอนะล็อก และดิจิทัล โดยเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว

จะถูกติดตั้งอยู่ ในสถานีตรวจวัดแผ่ นดินไหว ส�

ำหรับใน

ประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ ส�

ำนักแผ่นดินไหว กรม

อุตุนิยมวิทยา เมื่อสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวตรวจวัดสัญญาณ

คลื่นไหวสะเทือนได้แล้วจะรายงานขนาดของแผ่นดินไหวให้

ประชาชนได้รับทราบ โดยการรายงานข่าว ยังใช้ค�

ำว่าริกเตอร์อยู่

เนื่องจากมาตราริกเตอร์สามารถใช้รายงานแผ่นดินไหวระยะใกล้ได้

ซึ่งประชาชนส่วนมากยังมีความสับสนเกี่ยวกับรายงานขนาดของ

แผ่นดินไหวว่า ท�

ำไมในปัจจุบันในบางพื้นที่จึงรายงานขนาด

แผ่นดินไหวว่า “แมกนิจูด” แทนค�

ำว่า “ริกเตอร์”?

มาตราริกเตอร์ (Richter scale) M

L

ถูกคิดค้นโดย ชาร์ล

ฟรานซิส ริกเตอร์ นักแผ่นดินไหววิทยาชาวเยอรมัน โดยวัดขนาด

ของแผ่นดินไหวจากแอมพลิจูดที่สูงที่สุดของคลื่นทุติยภูมิ และ

ระยะห่างจากจุดศูนย์กลาง มาตราริกเตอร์นั้นไม่มีขอบเขตจ�

ำกัด

ว่าสิ้นสุดอยู่ที่ใด แต่มีข้อจ�

ำกัดอยู่ที่ใช้ได้กับแผ่นดินไหวที่มีระยะ

ห่างจากสถานีตรวจวัดไม่เกิน 650 กิโลเมตร จึงถูกเรียกอีกชื่อ

หนึ่งว่า แมกนิจูดท้องถิ่น (Local magnitude)