

ปีที่ 43 ฉบับที่ 192 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2558
ปรับวิถีการออกแบบการเรียนรู้...
เพื่อผู้ เรียน
ในศตวรรษที่ 21
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
e-mail:
pongsatorn1207@gmail.comทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21
st
Century Skills) ที่พัฒนาโดยเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21(Partnership
for 21
st
Century Skills:
P21.org) จากฐานแนวคิดที่ว่า
“การจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่ควรให้ความส�
ำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มากกว่าตัว
ความรู้”
ก�
ำลังเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวขานถึงกันอย่างกว้างขวางในแวดวงการศึกษาทั่วโลก โดยกรอบแนวคิดดังกล่าวระบุว่าการศึกษาควรมุ่งเน้น
ให้ผู้เรียนเกิดทักษะส�
ำคัญ 3 ประการได้แก่
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills)
มุ่งเน้นให้เกิดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และ
แก้ปัญหา การสื่อสาร การสร้างความร่วมมือ การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
2. ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ (Life and Career Skills)
มุ่งเน้นให้มีความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัว มีเป้าหมาย
ของชีวิตและความคิดริเริ่ม เข้าใจสังคมและยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีศักยภาพการผลิตและยอมรับการตรวจสอบ
มีความเป็นผู้น�
ำและมีความรับผิดชอบ
3. ทักษะด้านสารสนเทศ และ เทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills)
มุ่งเน้นให้มีความสามารถ
ในการเข้าถึงสารสนเทศและสื่อต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถจัดการ เชื่อมโยง ประเมินและสร้างสารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์
ใช้เรื่องจริยธรรมและกฎหมายกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้
กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
(ที่มา : The Partnership for 21st Skills (2009))
ยุทธวิธีการออกแบบการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะ
ดังกล่าวได้ จ�
ำเป็นต้องอาศัยประเด็น (theme) เรื่องราว (issue)
หรือปัญหา (problem) ที่มีความท้าทาย น่าสนใจ และส�
ำคัญ
ที่สุดคือต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริง (real-life
situations) ของผู้เรียน หน่วยการเรียนที่ครูจัดควรมีลักษณะ
เป็นประเด็นที่เน้นพหุวิทยาการ (interdisciplinary themes)
คือ บูรณาการใช้ศาสตร์ความรู้หลายๆ สาขาร่วมกัน เพื่อเปิด
โอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกน�
ำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ผ่านการลงมือ
ปฏิบัติงานจริงจนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย (Meaningful
Learning)
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง
กับชีวิตจริงของผู้เรียน และบูรณาการใช้ความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ผ่าน
การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน (Task-based Learning) ดังนี้