

นิตยสาร สสวท.
32ิ
ต
ถ้ าเริ่มต้นคิดง่ าย ๆ ว่ ามีผู้มาร่ วมงาน 400 คน
มีของขวัญ 40 ชิ้น หนึ่งในนั้นมีสร้อยคอทองค�
ำ 1 เส้น ซึ่งเป็น
ของขวัญชิ้นที่ใหญ่ที่สุดรวมอยู่ด้วย ล�
ำดับในการแจกของขวัญ
จะแจกของชิ้นเล็ก ๆ ที่มีอยู่ 39 ชิ้น ก่อน และปิดท้ายด้วย
สร้อยคอทองค�
ำ โดยประธานจะจับสลากชื่อผู้ร่วมงานขึ้นมาทีละ
หนึ่งชื่อ เมื่อได้ของรางวัลแล้ว จะหมดสิทธ์ที่จะลุ้นรางวัลอื่นต่อ
ไป
ในการหยิบสลากครั้งที่ 1
ผู้ร่วมงานทุกคนมีโอกาสที่
จะได้ของชิ้นนี้เท่า ๆ กัน หรือพูดตามหลักทางคณิตศาสตร์ว่า
ความน่าจะเป็นที่ประธานจะหยิบได้ชื่อของผู้ร่วมงานแต่ละคน
นั้นเท่ากัน ซึ่งเท่ากับ
มาถึงตอนนี้ ผู้ร่วมงานที่มีสิทธิ์ลุ้นรางวัลชิ้นที่ 2 จะเหลือ
399 คน
ในการหยิบสลากครั้งที่ 2
ผู้ร่วมงาน 399 คน มีโอกาส
ที่จะได้ของชิ้นนี้เท่า ๆ กัน หรือพูดตามหลักทางคณิตศาสตร์
ว่า ความน่าจะเป็นที่ประธานจะหยิบได้ชื่อของผู้ร่วมงานแต่
ละคนที่เหลืออยู่ 399 คน นั้น เท่ากัน ซึ่งเท่ากับ
ตอนนี้ผู้ร่วมงานที่มีสิทธิ์ลุ้นรางวัลชิ้นที่3 จะเหลือ 398 คน
ในการหยิบสลากครั้งที่ 3
ผู้ร่วมงาน 398 คน มีโอกาส
ที่จะได้ของชิ้นนี้เท่า ๆ กัน หรือพูดตามหลักทางคณิตศาสตร์
ว่า ความน่าจะเป็นที่ประธานจะหยิบได้ชื่อของผู้ร่วมงาน
แต่ละคนที่เหลืออยู่ 398 คน นั้น เท่ากัน ซึ่งเท่ากับ
คิดในท�
ำนองนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงของขวัญชิ้น
สุดท้าย คือ “สร้อยคอทองค�
ำ” ตอนนี้เหลือผู้ร่วมงานที่ยัง
ไม่ได้ของรางวัล 361 คน ท�
ำให้ความน่าจะเป็นที่ประธานจะ
หยิบได้ชื่อของผู้ร่วมงานแต่ละคนที่เหลืออยู่ 361 คน นั้น
เท่ากัน ซึ่งเท่ากับ
ผู้อ่านคงคิดว่า ก็ดูเหมือนยุติธรรมดี ทุกคนที่ยังไม่ได้
ของขวัญ ก็มีสิทธิ์ที่จะได้ของขวัญเท่า ๆ กัน ในทุก ๆ ครั้งที่
จะจับของขวัญชิ้นต่อไป
แต่ถ้าลองคิดดี ๆ การจัดล�
ำดับในการแจกของขวัญ
ในลักษณะนี้ จะเหมือนเป็นการจับสลากชื่อ “ผู้โชคร้าย”
มากกว่าจะเป็นการจับสลากชื่อ “ผู้โชคดี” เพราะการที่เราสุ่ม
หยิบชื่อทีละชื่อที่ดูเหมือนยุติธรรมนี้ เป็นการตัดสิทธิ์ ท�
ำให้
ผู้ร่วมงานคนนั้นกลายเป็นผู้โชคร้าย เพราะจะไม่ได้ทองกลับบ้าน
ไป ท�
ำให้ความน่าจะเป็นที่ผู้ร่วมงานคนนั้นจะได้สร้อยคอทองค�
ำ
เป็นศูนย์ แสดงว่าความน่าจะเป็นที่ทุกคนในงาน (ทั้ง 400 คน)
จะได้สร้อยคอทองค�
ำเส้นนี้ไป ไม่เท่ากัน
คิดอีกมุมหนึ่ง ถ้าเราต้องการให้เกิดความยุติธรรมกับทุกคน
ที่มาร่วมงาน โดยเริ่มจากการจับสลากรายชื่อผู้โชคดีคนแรก
มาเพื่อรับของขวัญชิ้นที่ใหญ่ที่สุด แล้วเรียงล�
ำดับของขวัญจาก
ชิ้นใหญ่มาชิ้นเล็ก ในตัวอย่างนี้ คือ เริ่มจากการแจกสร้อยคอ
ทองค�
ำเป็นรางวัลแรก
ในการหยิบสลากครั้งที่ 1
ความน่าจะเป็นที่ประธาน
จะหยิบได้ชื่อของผู้ร่วมงานแต่ละคนนั้นเท่ากัน ซึ่งเท่ากับ นั่น
หมายความว่า ผู้ร่วมงานทุกคนมีโอกาสที่จะได้สร้อยคอทองค�
ำ
เท่า ๆ กัน ไม่มีใครเป็นผู้โชคร้าย ตัดสินให้ถูกตัดสิทธิ์เลย ซึ่ง
ทุกคนก็คงพึงพอใจ ที่โอกาสที่เราจะได้ของชิ้นนี้เท่ากับคนอื่น ๆ
ถ้าเราโชคดีก็ได้ของขวัญที่น่าสนใจที่สุดในงานไป เมื่อได้ของ
ขวัญแล้ว เราไม่มีสิทธิ์ลุ้นของขวัญชิ้นต่อไปก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะ
เราได้ของที่ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดมาแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ เราก็มาลุ้นของ
ขวัญชิ้นที่สองที่น่าสนใจรองลงมา ซึ่งตอนนี้เหลือผู้ร่วมงานที่ยัง
ไม่ได้ของขวัญอีก 399 คน และทุกคนก็มีโอกาสที่จะได้ของชิ้น
ที่สองนี้เท่า ๆ กัน
ในการหยิบสลากครั้งที่ 2
ความน่าจะเป็นที่ประธาน
จะหยิบได้ชื่อของผู้ร่วมงานแต่ละคนนั้นเท่ากัน ซึ่งเท่ากับ
ในท�
ำนองเดียวกัน ทุกคนก็คงพึงพอใจ ที่โอกาสที่เราจะได้ของ
ชิ้นนี้เท่ากับคนอื่น ๆ ถ้าโชคดี เราก็จะได้ของขวัญชิ้นนี้ไป เมื่อได้
ของขวัญแล้ว เราไม่มีสิทธิ์ลุ้นของขวัญชิ้นต่อไปก็ไม่รู้สึกอะไร
เพราะเราได้ ของที่ชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้นแล้ ว แต่ ถ้ า
ไม่ได้ ก็ลุ้นรางวัลถัดไปเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งของชิ้นสุดท้าย
ถ้าคิดแบบนี้แล้ว จะเห็นว่าน่าจะเป็นการยุติธรรม
ส�
ำหรับทุกคนที่มาร่วมงานในครั้งนี้
แต่ผู้เขียนเองก็ยังชอบรูปแบบการ “จับสลากของขวัญ”
ที่ให้ของขวัญชิ้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นรางวัลสุดท้าย เพราะจะได้
ตื่นเต้น และร่วมกันลุ้นรางวัลกับทุกคนที่มาร่วมงานไปเรื่อย ๆ
จนกว่างานจะเลิก แต่เพื่อความตื่นเต้นและให้ทุกคนที่มาร่วมงาน
ได้มีโอกาสที่จะได้รางวัลใหญ่เท่า ๆ กัน เราอาจเพิ่มเงื่อนไขว่า
เมื่อประธานจะจับสลากชื่อผู้ร่วมงานขึ้นมาทีละหนึ่งชื่อ เมื่อได้
ของรางวัลแล้ว จะหมดสิทธ์ที่จะลุ้นรางวัลอื่น ๆ ยกเว้นรางวัลที่
ใหญ่ที่สุด ที่ยังสามารถมีสิทธิ์กลับมาลุ้นด้วยกันทุกคนอีกครั้งหนึ่ง
(อาจต้องเสียสละของขวัญชิ้นที่ได้มาให้กับคนที่ยังไม่ได้ของขวัญ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คงขึ้นกับจุดประสงค์ของผู้จัดงานในแต่ละครั้งว่า
ต้องการให้รูปแบบของงานออกมาเป็นอย่างไร คงไม่มีค�
ำว่า
“ถูก” หรือ “ผิด” ส�
ำหรับรูปแบบของการ “จับสลากของขวัญ”
ในงานรื่นเริงแบบนี้ค่ะ
1
399
1
361
1
399